หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมบำรุงเครื่องจักร/อุปกรณ์ในกระบวนการผลิตตามแผนการบำรุงรักษา

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-IXJA-695A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมบำรุงเครื่องจักร/อุปกรณ์ในกระบวนการผลิตตามแผนการบำรุงรักษา

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO-08   7233 ช่างซ่อมบำรุงประจำโรงงาน/ช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรโรงงาน                                 อุตสาหกรรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถเตรียความพร้อมการทำงาน ทบทวนมาตรการความปลอดภัยในการทำงานร่วมกันกับผู้ปฎิบัติงานทดสอบ ซ่อมบำรุงเครื่องจักรตามแผนการบำรุงรักษาเชิงแก้ไขและป้องกัน ประสานงานกับฝ่ายผลิตในการเข้าดำเนินการซ่อมบำรุงตามแผน 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-N/A-

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-MR01-3-0061

เตรียมความพร้อมการทำงานซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร

ชี้แจงรายละเอียดแผนงานซ่อมบำรุง/กรอบการดำเนินงานตามเวลาและหน้าที่ให้กับผู้ปฎิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง


BMG-MR01-3-0061.01 213058
BMG-MR01-3-0061

เตรียมความพร้อมการทำงานซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร

ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน

BMG-MR01-3-0061.02 213059
BMG-MR01-3-0061

เตรียมความพร้อมการทำงานซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร

ทบทวนมาตรการความปลอดภัยในการทำงานร่วมกันกับผู้ปฎิบัติงานทดสอบ

BMG-MR01-3-0061.03 213060
BMG-MR01-3-0061

เตรียมความพร้อมการทำงานซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร

ประสานงานกับฝ่ายผลิตในการเข้าดำเนินการซ่อมบำรุงตามแผน

BMG-MR01-3-0061.04 213061
BMG-MR01-3-0062

ซ่อมบำรุงเครื่องจักรตามแผนงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance)

ตรวจสอบสภาพเครื่องจักร/อุปกรณ์ ตามแผนงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข

BMG-MR01-3-0062.01 213062
BMG-MR01-3-0062

ซ่อมบำรุงเครื่องจักรตามแผนงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance)

วิเคราะห์สภาพเครื่องจักร/อุปกรณ์ และแก้ไขตามแผนงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข

BMG-MR01-3-0062.02 213063
BMG-MR01-3-0062

ซ่อมบำรุงเครื่องจักรตามแผนงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance)

ตรวจสอบรายละเอียดชิ้นส่วนเครื่องจักร

BMG-MR01-3-0062.03 213064
BMG-MR01-3-0062

ซ่อมบำรุงเครื่องจักรตามแผนงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance)

ซ่อมบำรุงเครื่องจักรให้เป็นไปตามมาตรฐานคู่มือการบำรุงรักษาเครื่องจักร

BMG-MR01-3-0062.04 213065
BMG-MR01-3-0062

ซ่อมบำรุงเครื่องจักรตามแผนงานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance)

บันทึกและรายงานการผลการซ่อมบำรุงเชิงแก้ไขเครื่องจักรและการใช้ชิ้นส่วนอะไหล่

BMG-MR01-3-0062.05 213066
BMG-MR01-3-0063

ซ่อมบำรุงเครื่องจักรตามแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM)

ตรวจสอบสภาพเครื่องจักร/อุปกรณ์ ตามแผนงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

BMG-MR01-3-0063.01 213077
BMG-MR01-3-0063

ซ่อมบำรุงเครื่องจักรตามแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM)

วิเคราะห์สภาพเครื่องจักร/อุปกรณ์ และแก้ไขตามแผนงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

BMG-MR01-3-0063.02 213078
BMG-MR01-3-0063

ซ่อมบำรุงเครื่องจักรตามแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM)

ตรวจสอบรายละเอียดชิ้นส่วนเครื่องจักร

BMG-MR01-3-0063.03 213079
BMG-MR01-3-0063

ซ่อมบำรุงเครื่องจักรตามแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM)

ซ่อมบำรุงเครื่องจักรให้เป็นไปตามมาตรฐานคู่มือการบำรุงรักษาเครื่องจักร

BMG-MR01-3-0063.04 213080
BMG-MR01-3-0063

ซ่อมบำรุงเครื่องจักรตามแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM)

บันทึกและรายงานการผลการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันเครื่องจักร และการใช้ชิ้นส่วนอะไหล่

BMG-MR01-3-0063.05 213081

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการติดต่อสื่อสาร ถ่ายทอดงาน

2.    ทักษะในการอ่าน วิเคราะห์และการใช้ภาษาเชิงเทคนิค

3.    ทักษะในการควบคุมงาน

4.    ทักษะในการวิเคราะห์ ปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักร อุปกรณ์ และการทดสอบโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางกล

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความต้องการด้านความรู้

  1.  ความรู้ด้านการถ่ายเทความร้อน Heat Transfer เทอร์โมไดนามิคส์ (Thermodynamics) และกลศาสตร์ของไหล (Fluid mechanics) เป็นต้น 

  2.  ความรู้ระบบผลิตไอน้ำจากหม้อน้ำ ระบบเตาเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลและชีวภาพ

  3.  ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตเครื่องยนต์ก๊าซ หรือกังหันก๊าซ

  4.  ความรู้ด้านสมบัติทางเครื่องกล หรือด้านไฟฟ้าเชิงลึก 

  5.  ความรู้เกี่ยวกับหลักการกระบวนการผลิต เครื่องมือวิเคราะห์ทางกล 

  6.  ความรู้การปฏิบัติขั้นพื้นฐานและขั้นสูงด้าน เครื่องจักรและอุปกรณ์

  7.  ความรู้ด้านการใช้งานระบบบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์

  8. ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

     2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

     3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

     2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการการผลิตน้ำใช้ในอุตสาหกรรม หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

     3. ผลการสอบข้อเขียน

     4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     1. ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการจัดซื้อ-จัดหาวัตถุดิบโดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

     2. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

        -  ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

        -  วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

        -  ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน

     1. สอบปรนัย

     2. สอบสัมภาษณ์

     3. สอบสถานการณ์จำลอง/แฟ้มสะสมผลงาน

     4. สอบข้อเขียน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ขั้นตอนการดำเนินงานในการทดสอบ และรายงานผล การเปลี่ยน/ปรับปรุง/การซ่อมบำรุง เครื่องจักรและอุปกรณ์โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานแผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง                                                                                    (ก) คำแนะนำ 

      ผู้ดำเนินการด้านทดสอบ และรายงานผลการซ่อมบำรุง วิเคราะห์ ผลการทดสอบและสรุปผลการเปลี่ยน/ปรับปรุง/การซ่อมบำรุง เครื่องจักร และอุปกรณ์ ที่มีความซับซ้อน รวมถึงการสอบเทียบ และประเมินประสิทธิภาพ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

      1. ดำเนินการตรวจสอบอุปกรณ์ 

      2. บันทึกข้อมูลค่าพารามิเตอร์ หลังการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ หรือหลังการซ่อมบำรุง 

      3. ตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์และการทดสอบให้มีสภาพปกติ 

      4. การบำรุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance : CM) คือการดำเนินการเพื่อการดัดแปลง ปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักรหรือส่วนของเครื่องจักรเพื่อขจัดเหตุขัดข้องเรื้อรังของเครื่องจักรให้หมดไปโดยสิ้นเชิง และปรับปรุงสมรรถภาพของเครื่องจักรให้สามารถผลิตได้ด้วยคุณภาพ และหรือปริมาณที่สูงขึ้น

       5. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance : PM) คือการดำเนินการกิจกรรมซ่อมบำรุงตามกำหนดเวลาก่อนที่เครื่องจักรจะเกิดชำรุดเสียหาย ป้องกันการหยุดของเครื่องจักรโดยเหตุฉุกเฉิน สามารถทำได้ด้วยการตรวจสภาพเครื่องจักร การทำความสะอาดและหล่อลื่นโดยถูกวิธี การปรับแต่งให้เครื่องจักรที่จุดทำงานตามคำแนะนำของคู่มือรวมทั้งการบำรุงและเปลี่ยนชิ้นอะไหล่ตามกำหนดเวลา เช่น การเปลี่ยนลูกปืน ถ่ายน้ำมันเครื่อง อัดจารบี ฯลฯ

        6. เครื่องมือวัดระบบเครื่องจักร ประกอบด้วย เครื่องมือวัดทางกล เช่น เครื่องมือวัดอุณหภูมิ เครื่องมือวัดความชื้น เครื่องมือวัดความดัน เครื่องมือวัดประสิทธิภาพการเผาไหม้

        7. Lock out - Tag out (LOTO) คือ ระบบที่นำมาใช้ในการควบคุมอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการซ่อมบำรุงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีแหล่งจ่ายพลังงาน เช่น พลังงานกล พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น มีการปฏิบัติดังนี้ 

           - เตรียมการปิดระบบ (Preparation for Shut down) ก่อนที่จะทำการปิดการทำงานของเครื่องจักร จะต้องมีความรู้และตัดสินใจได้ว่าแหล่งพลังงานนั้นเป็นแหล่งพลังงานชนิดใด 

            - ปิดเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ (Machine or Equipment Shut down) 

            - ตัดแยกเครื่องจักร (Machine Isolation) โดยอุปกรณ์การตัดแยกแหล่งพลังงาน เช่น อุปกรณ์เบรคเกอร์ (Breakers) สวิตช์ วาล์ว เป็นต้น

            - ใช้อุปกรณ์ระบบล็อกเอ้าท์/ป้ายแท็กเอ้าท์ (Log out/Tag out Device Application) อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดแยกพลังงานจะประกอบไปด้วยตัวล็อกและป้ายแท็กเอ้าท์ ซึ่งใช้โดยผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายหน้าที่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ทั้งตัวล็อกและป้ายแท็กเอ้าท์จะต้องติดกับตัวอุปกรณ์ที่ทำการตัดแยก

            - ปลดปล่อย/ควบคุมพลังงานสะสม (Stored Energy Release/Restraint) หลังจากตัดแยกแหล่งพลังงานแล้ว เพื่อให้เครื่องจักรปลอดภัยจากพลังงานที่เป็นอันตรายซึ่งยังตกค้างหรือเก็บสํารองไว้

             - ตรวจสอบ (Verification) เมื่อเริ่มทำงานกับเครื่องจักรที่มีการควบคุมพลังงานด้วยระบบล็อกเอ้าท์และป้ายแท็กเอ้าท์ ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติงานจะต้องตรวจสอบและยืนยันสถานะ “ปลอดพลังงาน” ของเครื่องจักรตลอดเวลาระหว่างการบริการหรือซ่อมบํารุง

             - ปลดอุปกรณ์ระบบล็อกเอ้าท์/ป้ายแท็กเอ้าท์ โดยผู้ติดตั้งอุปกรณ์ระบบ ล็อกเอ้าท์/ป้ายแท็กเอ้าท์เท่านั้นจะเป็นผู้ปลด ก่อนปลดจะต้องตรวจสอบความพร้อมการทำงานของเครื่องจักรและส่วนประกอบต่างๆ และตําแหน่งผู้ปฏิบัติงานทุกคนอยู่ในที่ปลอดภัย

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ