หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบเครื่องจักรและชิ้นส่วนอะไหล่ในการซ่อมบำรุง

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-WWCF-694A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบเครื่องจักรและชิ้นส่วนอะไหล่ในการซ่อมบำรุง

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO-08     7233 ช่างซ่อมบำรุงประจำโรงงาน/ช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรโรงงาน                                 อุตสาหกรรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถตรวจสอบเครื่องจักร ติดตั้งและซ่อมบำรุง โดยต้องมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการวางแผน วิเคราะห์ความแตกต่างของระบบ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร  ที่มีความซับซ้อน ตามหลักการวิเคราะห์โครงการและการลงทุน ประเมินความต้องการอะไหล่/วัสดุ เครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับการซ่อมบำรุง วางแผนและตัดสินใจสั่งซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นจากการประเมินความคุ้มค่า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 กรมโรงงาน2. กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 25643. กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีว  อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 25624. กฎกระทรวง เรื่อง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีว อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 25585. กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทํางานเกี่ยวกับงานกอสราง พ.ศ. 2564 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-MR01-3-0051

มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรในกระบวนการผลิต

อธิบายกระบวนการทำงานของเครื่องจักรในระบบผลิตไฟฟ้า/ความร้อน

BMG-MR01-3-0051.01 213050
BMG-MR01-3-0051

มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรในกระบวนการผลิต

อธิบายเกี่ยวกับเครื่องมือวัดระบบเครื่องจักร 

BMG-MR01-3-0051.02 213051
BMG-MR01-3-0051

มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรในกระบวนการผลิต

อ่านแบบเครื่องกล/ไฟฟ้าได้

BMG-MR01-3-0051.03 213052
BMG-MR01-3-0051

มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรในกระบวนการผลิต

ระบุชิ้นส่วนอะไหล่ทางเครื่องกล/ไฟฟ้า ที่ต้องมีการบำรุงรักษา

BMG-MR01-3-0051.04 213053
BMG-MR01-3-0052

ตรวจสอบเครื่องจักรและ ชิ้นส่วนอะไหล่

ตรวจสอบรายละเอียดชิ้นส่วน เครื่องจักรที่มีความซับซ้อน

BMG-MR01-3-0052.01 213054
BMG-MR01-3-0052

ตรวจสอบเครื่องจักรและ ชิ้นส่วนอะไหล่

วิเคราะห์และประเมินส่วนประกอบ/วัสดุของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 

BMG-MR01-3-0052.02 213055
BMG-MR01-3-0052

ตรวจสอบเครื่องจักรและ ชิ้นส่วนอะไหล่

บันทึกผลการตรวจสอบชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องจักรอุปกรณ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

BMG-MR01-3-0052.03 213056
BMG-MR01-3-0052

ตรวจสอบเครื่องจักรและ ชิ้นส่วนอะไหล่

รายงานการตรวจสอบเครื่องจักรและการใช้ชิ้นส่วนอะไหล่

BMG-MR01-3-0052.04 213057

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการติดต่อสื่อสารในเชิงช่าง

2. ทักษะในการอ่าน การใช้ภาษาเชิงเทคนิค และการอ่านแบบเครื่องกล

3. ทักษะในการใช้เครื่องมือวัดเชิงกล และทางไฟฟ้า พร้อมตรวจสอบและตั้งค่าการใช้งานได้อย่างถูกต้อง

4. ทักษะในการปฏิบัติ ปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักร อุปกรณ์ตามลำดับขั้นตอนตามคู่มือ

5. ทักษะในการวิเคราะห์ ปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักร อุปกรณ์ขั้นสูง

6. ทักษะการสรุปผลการซ่อมบำรุง วัสดุอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นและสึกหรอง่าย

7. ทักษะการอ่านแบบเครื่องกล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้การปฏิบัติขั้นพื้นฐานและขั้นสูงด้าน เครื่องจักรและอุปกรณ์

2. ความรู้เกี่ยวกับแบบเครื่องกล 

3. ความรู้ในกระบวนการผลิตพลังงานความร้อนและไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลและชีวภาพ

4. ความรู้ด้านการถ่ายเทความร้อน Heat Transfer เทอร์โมไดนามิคส์ (Thermodynamics) และกลศาสตร์ของไหล (Fluid mechanics) เป็นต้น 

5. ความรู้ระบบผลิตไอน้ำจากหม้อน้ำ ระบบเตาเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลและชีวภาพ

6. ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตเครื่องยนต์ก๊าซ หรือกังหันก๊าซ

7. ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต เครื่องกล และอุปกรณ์มาตรวัด มิเตอร์

8. ความรู้การใช้งานระบบบริหารและจัดการงานซ่อมบำรุงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (ระบบ CMMS หรือ Computerized Maintenance Management System)

9. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับงาน

10. ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

     2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

     3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

     2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการการผลิตน้ำใช้ในอุตสาหกรรม หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

         1. ผลการสอบข้อเขียน

         2. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     1. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

         - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

         - วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

         - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

     1. สอบปรนัย

     2. สอบสัมภาษณ์

     3. สอบสถานการณ์จำลอง/แฟ้มสะสมผลงาน

     4. สอบข้อเขียน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ของผู้ดำเนินการด้านสั่งซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์ ในการติดตั้งและซ่อมบำรุง จะต้องดำเนินการวางแผน วิเคราะห์ความแตกต่างของระบบ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร  ที่มีความซับซ้อน ตามหลักการวิเคราะห์โครงการและการลงทุน ประเมินความต้องการอะไหล่/วัสดุ เครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับการซ่อมบำรุง วางแผนและตัดสินใจสั่งซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์

(ก) คำแนะนำ 

ผู้ดำเนินการด้านสั่งซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์ ในการติดตั้งและซ่อมบำรุง จะดำเนินการตรวจสอบอุปกรณ์ บันทึกข้อมูลตรวจสอบสภาพการใช้งานเครื่องจักร อุปกรณ์ การประเมินชิ้นส่วน อุปกรณ์ อะไหล่ต่าง ๆ ที่มีความจำเป็น สึกหรอง่าย เพื่อทำแผนจัดซื้อ อะไหล่ให้ถูกต้องตามชนิด ประเภทของเครื่องจักร จัดทำ Check List แยกหมวดหมู่อะไหล่หรืออุปกรณ์ที่จำเป็นแต่ต้องนำเข้า หรืออุปกรณ์ที่สึกหรอง่าย เพื่อทำงบประมาณรายปีในการจัดซื้อ หรือวิเคราะห์อุปกรณ์ที่ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะเพื่อถอดซ่อมบำรุง โดยการส่งซ่อมหรือปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนเพื่อรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์ให้มีความเหมาะสมต่อกระบวนการผลิต ให้เป็นไปตามมาตรฐานแผนงาน ความปลอดภัยและนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

     1. อะไหล่ที่ต้องใช้เวลาในการจัดหา หมายถึง การนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อเป็นอะไหล่สำรอง

     2. จัดทำรายชื่อบริษัทผู้จัดหาชิ้นส่วนหรือการส่งซ่อม หมายถึง การจัดทำรายชื่อบริษัท คู่ค้า ในการจัดหาชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของเครื่องจักร

     3. การตรวจสอบสภาพของเครื่องจักร เป็นกระบวนการในการตัดสินสภาวะการทํางานของเครื่องจักรขณะทํางาน มาตรการในการเฝ้าระวังดูแลและการปรับตั้งเครื่องจักรกลให้อยู่ในสภาพการทํางานปกติ ซึ่งรวมถึงการบํารุงรักษา การตรวจเช็ค (inspection) และการซ่อม การปฏิบัติการแผนการบํารุงรักษาจะประกอบด้วยมาตรการการเฝ้าระวังรักษาสภาพเครื่องจักรกลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ในระหว่างการทํางานเครื่องจักรกลที่มีประสิทธิภาพและสมรรถนะนั้น ผลผลิตหรือชิ้นส่วนที่ผลิตได้จะต้องมีพิกัดขนาดเที่ยงตรงด้วยเหตุนี้ จึงต้องควบคุมมิให้เกิดเสียงดังผิดปกติ การสั่นสะเทือนหรือการรั่วของท่อไฮดรอลิกส์ หรือท่อสายน้ํามันหล่อลื่นการบํารุงรักษาเครื่องจักรกลอย่างสม่ําเสมอนั้น ส่วนใหญ่จะกระทําหลังจากการทํางานแต่ละวันหรือแต่ละกะด้วยผู้ปฏิบัติงานเครื่องจักรหรือช่างซ่อมบํารุงนั้น ตามแผนบํารุงรักษา

      4. การบันทึกการทำงานของเครื่องจักร ต้องทำประวัติเครื่องจักร โดยมีการจดบันทึก ไม่ว่าจะเป็นรายการแจ้งซ่อม รายการ Spare Part และรายละเอียดการแจ้งซ่อม เพื่อทำรายงานการบำรุงรักษาและรายการตรวจเซ็คเครื่องจักรประจำวัน และจัดการวางแผนบำรุงรักษา (PM) 

      5. เอกสารที่เกี่ยวข้องในการบันทึกการทำงานของเครื่องจักร เช่น 

          - ประวัติเครื่องจักรที่มีรายละเอียดชื่อเครื่องจักร เช่น ยี่ห้อ รุ่น ตัวแทนจำหน่าย รายละเอียดการใช้งาน ข้อมูลทางกล ทางไฟฟ้า เป็นต้น

          - ใบแจ้งงาน/รายละเอียดการแจ้งซ่อม เอกสารการแจ้งซ่อมจากผู้ใช้งานเครื่องจักร โดยมีรายละเอียด เช่น วันที่แจ้ง สถานะการแจ้ง แผนก/หน่วยงานที่แจ้ง ชื่อเครื่องจักร/อุปกรณ์  ผู้แจ้ง ผู้อนุมติ เวลาดำเนินการและกำหนดแล้วเสร็จ รายละเอียด เป็นต้น

          - รายการชิ้นส่วนอะไหล่ (Spare Part) โดยมีรายละเอียด ชื่อเครื่องจักร หมายเลขเครื่อง รายการชิ้นส่วนอะไหล่ ผู้จัดทำ ผู้อนุมัติ เป็นต้น

          - รายละเอียดการซ่อมเครื่องจักร โดยมีรายละเอียดชื่อเครื่องจักร วันที่ซ่อม รายละเอียดการซ่อม วิธีการแก้ไข อุปกรณ์ที่ปรับเปลี่ยน ราคา ผู้ทำการซ่อม เป็นต้น

          - รายงานการบำรุงรักษาและการตรวจเครื่องจักรประจำวัน โดยมีรายละเอียด หมายเลขเครื่องจักร ชื่อเครื่องจักร แผน PM ผลการตรวจ สถานะ ตำแหน่งที่ตรวจ รายละเอียดที่ตรวจ วิธีการตรวจ ผู้ตรวจเช็ค ผู้ตรวจสอบ เป็นต้น

      6. ระบบบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์: ระบบบริหารและจัดการงานซ่อมบำรุงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (ระบบ CMMS หรือ Computerized Maintenance Management System)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ