หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมความพร้อมในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิต

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-DFHJ-693A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมความพร้อมในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO-08     7233 ช่างซ่อมบำรุงประจำโรงงาน/ช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรโรงงาน                                 อุตสาหกรรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถเตรียมความพร้อมในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิต มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตไฟฟ้า/ความร้อน การทำงานของเครื่องจักรในกระบวนการผลิต เครื่องมือวัดที่ใช้ในระบบผลิต และอ่านแบบเครื่องกลได้ สามารถเตรียมอุปกร์และชิ้นส่วนอะไหล่และอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรได้ รวมถึงประสานงานกับเจ้าของพื้นที่ เพื่อเตรียมการสำหรับงานซ่อมบำรุง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 กรมโรงงาน2. กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 25643. กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีว อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 25624. กฎกระทรวง เรื่อง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีว อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 25585. กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทํางานเกี่ยวกับงานกอสราง พ.ศ. 2564 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-MR01-3-0041

เตรียมความพร้อมก่อนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

อธิบายกระบวนการผลิตไฟฟ้า/ความร้อน

BMG-MR01-3-0041.01 213040
BMG-MR01-3-0041

เตรียมความพร้อมก่อนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

อธิบายกระบวนการทำงานของเครื่องจักรในระบบผลิตไฟฟ้า/ความร้อน

BMG-MR01-3-0041.02 213041
BMG-MR01-3-0041

เตรียมความพร้อมก่อนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

ระบุชนิดของเครื่องมือวัดระบบเครื่องจักร

BMG-MR01-3-0041.03 213042
BMG-MR01-3-0041

เตรียมความพร้อมก่อนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

อ่านแบบ P&ID (Piping and Instrumentation Diagram) แบบเครื่องกล (Mechanical Drawing) และคู่มือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

BMG-MR01-3-0041.04 213043
BMG-MR01-3-0041

เตรียมความพร้อมก่อนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

จัดทำการเบิกวัสดุอุปกรณ์และอะไหล่ชิ้นส่วนสำหรับการซ่อมบำรุง

BMG-MR01-3-0041.05 213044
BMG-MR01-3-0041

เตรียมความพร้อมก่อนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องและอุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลก่อนเข้าทำงานในพื้นที่

BMG-MR01-3-0041.06 213045
BMG-MR01-3-0042

ประสานเพื่อเข้าพื้นที่ซ่อมบำรุงเครื่องจักร

ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุญาตเข้าทำงานในพื้นที่ (เปิด Work Permit)

BMG-MR01-3-0042.01 213046
BMG-MR01-3-0042

ประสานเพื่อเข้าพื้นที่ซ่อมบำรุงเครื่องจักร

ประสานเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) และเจ้าของพื้นที่ในการเข้าซ่อมบำรุง

BMG-MR01-3-0042.02 213047
BMG-MR01-3-0042

ประสานเพื่อเข้าพื้นที่ซ่อมบำรุงเครื่องจักร

ประสานเจ้าของพื้นที่เพื่อทำการหยุด/ตัดแยกระบบพร้อมกับแขวน Tag ความปลอดภัย

BMG-MR01-3-0042.03 213048
BMG-MR01-3-0042

ประสานเพื่อเข้าพื้นที่ซ่อมบำรุงเครื่องจักร

ประสาน เจ้าของพื้นที่ในการตรวจสอบ ซ่อมบำรุง ปรับเปลี่ยน แก้ไขเครื่องจักร  ตามแผนบำรุงรักษา (PM)

BMG-MR01-3-0042.04 213049

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการติดต่อสื่อสารในเชิงช่าง

2. ทักษะในการอ่าน การใช้ภาษาเชิงเทคนิค และการอ่านแบบเครื่องกล

3. ทักษะในการใช้เครื่องมือวัดเชิงกล และทางไฟฟ้า พร้อมตรวจสอบและตั้งค่าการใช้งานได้อย่างถูกต้อง

4. ทักษะในการปฏิบัติ ปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักร อุปกรณ์ตามลำดับขั้นตอนตามคู่มือ

5. ทักษะในการวิเคราะห์ ปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักร อุปกรณ์ขั้นสูง

6. ทักษะการสรุปผลการซ่อมบำรุง วัสดุอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นและสึกหรอง่าย

7. ทักษะการอ่านแบบเครื่องกล 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้การปฏิบัติขั้นพื้นฐานและขั้นสูงด้าน เครื่องจักรและอุปกรณ์

2.    ความรู้เกี่ยวกับแบบเครื่องกล 

3.    ความรู้ในกระบวนการผลิตพลังงานความร้อนและไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลและชีวภาพ

4.    ความรู้ด้านการถ่ายเทความร้อน Heat Transfer เทอร์โมไดนามิคส์ (Thermodynamics) และกลศาสตร์ของไหล (Fluid mechanics) เป็นต้น 

5.    ความรู้ระบบผลิตไอน้ำจากหม้อน้ำ ระบบเตาเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลและชีวภาพ

6.    ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตเครื่องยนต์ก๊าซ หรือกังหันก๊าซ

7.    ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต เครื่องกล และอุปกรณ์มาตรวัด มิเตอร์

8.    ความรู้การใช้งานระบบคอมพิวเตอร์สำหรับงานบำรุงรักษา

9.    ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

     2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

     3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

     2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ

     3. ผลการสอบข้อเขียน

     4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     1. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

        - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

        - วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

        - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

      1. สอบปรนัย

      2. สอบสัมภาษณ์

      3. สอบสถานการณ์จำลอง/แฟ้มสะสมผลงาน

      4. สอบข้อเขียน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบของหน่วยสมรรถนะการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิตขั้นสูง การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ประกอบด้วย การตัดสินใจ รับผิดชอบการวางแผน วิเคราะห์ ตรวจสอบ ติดตั้ง ซ่อมบำรุงเครื่องจักร และอุปกรณ์ ที่มีความซับซ้อน ตามขั้นตอนปฏิบัติหรือตามคู่มือ และแผนการซ่อมบำรุงตามระยะเวลา (Preventive maintenance: PM) บันทึกสรุปผลการซ่อมบำรุง และการทดสอบเครื่องจักรและอุปกรณ์

(ก) คำแนะนำ 

-N/A-

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

     1. กำหนดมาตรการความปลอดภัยก่อนซ่อมบำรุง หมายถึง การติดป้าย (Tag) เตือนเพื่อหยุดการใช้ระบบและอุปกรณ์ขณะซ่อมบำรุง หรือการติดที่สวิชไฟและเบรกเกอร์ เพื่อไม่ให้การสั่งการผ่านระบบคอมพิวเตอร์เกิดความผิดพลาด

     2. ชิ้นส่วนอะไหล่ อุปกรณ์ที่มีความจำเป็น และสึกหรอง่าย หมายถึง ชิ้นส่วนที่มีความจำเป็นต่อเครื่องจักร รวมทั้งระบบต่อเนื่อง เช่น ปะเก็น เทปพันเกลียว น้ำยาประสาน น้ำยากันซึม หรือวัสดุประกอบขนาดเล็ก เป็นต้น

     3. ตรวจสอบแก้ไขเครื่องจักร หมายถึง การแก้ไข ซ่อมบำรุงเครื่องจักร ที่มีความซับซ้อน การรื้อแก้ไขเครื่องจักรอุปกรณ์โดยใช้เครื่องมือเฉพาะทางช่าง เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ