หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำรายงานการจัดการพลังงาน

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-DSRU-619A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำรายงานการจัดการพลังงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

 ISCO-08   3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องกังหันผลิตไฟฟ้า/ช่างเทคนิค                                  คุมเครื่องจักรผลิตไฟฟ้า

              2151 วิศวกรไฟฟ้ากำลัง/วิศวกรไฟฟ้า/วิศวกรเครื่อกลไฟฟ้ากำลัง 

              2133 เจ้าหน้าที่ข้อมูลและประสานงานด้านอนุรักษ์พลังงาน          

   



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถประสานงานเพื่อรวบรวมข้อมูลในการจัดทำรายงานการจัดการพลังงานได้ตาม พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน รวมถึงประชาสัมพันธ์และติดตามการจัดการพลังงานในองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 2. ประกาศกระทรวงพลังงาน

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-EP01-5-0041

รวบรวมข้อมูลการอนุรักษ์พลังงานขององค์กร

ประสานงานกับแผนกที่เกี่ยวข้อง

BMG-EP01-5-0041.01 215215
BMG-EP01-5-0041

รวบรวมข้อมูลการอนุรักษ์พลังงานขององค์กร

รวบรวมข้อมูลที่ใช้ในรายงานการจัดการพลังงานเพื่อจัดทำแผนอนุรักษ์พลังงาน

BMG-EP01-5-0041.02 215216
BMG-EP01-5-0042

จัดทำรายงานการจัดการพลังงาน

จัดทำเป้าหมายและแผนการอนุรักษ์พลังงาน

BMG-EP01-5-0042.01 215219
BMG-EP01-5-0042

จัดทำรายงานการจัดการพลังงาน

จัดทำรายงานการจัดการพลังงาน (Energy Management Report) ทั้ง 8 ขั้นตอน ตาม พ.ร.บ. การสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ. 2535 (แกไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2550 อย่างถูกต้องและครบถ้วน

BMG-EP01-5-0042.02 215220
BMG-EP01-5-0042

จัดทำรายงานการจัดการพลังงาน

นำส่งรายงานต่อกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานตามกำหนดระยะเวลา

BMG-EP01-5-0042.03 215221
BMG-EP01-5-0043

ประชาสัมพันธ์และติดตามการจัดการพลังงานภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

จัดทำแผนฝึกอบรมและกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

BMG-EP01-5-0043.01 215222
BMG-EP01-5-0043

ประชาสัมพันธ์และติดตามการจัดการพลังงานภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ในกิจกรรมอนุรักษ์พลังงาน

BMG-EP01-5-0043.02 215223
BMG-EP01-5-0043

ประชาสัมพันธ์และติดตามการจัดการพลังงานภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

ถ่ายทอดเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานลงสู่ผู้ปฎิบัติ

BMG-EP01-5-0043.03 215224
BMG-EP01-5-0043

ประชาสัมพันธ์และติดตามการจัดการพลังงานภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

ติดตามการจัดการพลังงานภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

BMG-EP01-5-0043.04 215225

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการจัดทำรายงาน

2. ทักษะในการติดต่อสื่อสาร และถ่ายทอดความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า

3. ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรม

4. ทักษะในการวิเคราะห์หรือตีความเอกสารที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบ ใน  การดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงาน 

5. ทักษะการวางแผน 

6. ทักษะในการถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการพลังงานสู่ผู้ปฏิบัติงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้

7. ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำรายงานในรูปแบบตาม พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

2. ความรู้ด้านกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบ ด้านการอนุรักษ์พลังงาน

3. ความรู้ด้านกระบวนการผลิต การใช้พลังงาน และเครื่องจักรในกระบวนการ

4. ความรู้ด้านเครื่องมือวัดด้านไฟฟ้า การตั้งค่า การอ่านข้อมูล และการบันทึกผล และสามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม

5. ความรู้ด้านสมบัติของเชื้อเพลิง พลังงาน หน่วยวัด การแปลงค่า และการใช้ตารางสถิติพลังงานต่าง ๆ ในการคำนวณด้านพลังงาน

6. ความรู้ด้านวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์และการใช้เครื่องมือนำเสนอผลงานเชิงสถิติ

7. ความรู้เกี่ยวกับหลักการทางเศรษฐศาสตร์/ธุรกิจด้านพลังงาน สภาวะด้านการตลาด การเปลี่ยนแปลง และผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานในประเทศและการนำเข้าพลังงาน

8. ความรู้ในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้อง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

     2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

     3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

     2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

        - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

        - วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

        - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

     1. สอบข้อเขียน ข้อสอบปรนัย/ข้อสอบอัตนัย

     2. สอบสัมภาษณ์

     3. สอบสถานการณ์จำลอง/แฟ้มสะสมผลงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถทำรายงานการจัดการพลังงานตามรูปแบบที่กำหนดใน พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้อย่างถูกต้อง ประชาสัมพันธ์การจัดการพลังงานไปสู่ผู้ปฎิบัติ พร้อมทั้งติดตามผลการปฎิบัติงานอย่างต่อเนื่อง 

(ก) คำแนะนำ 

-N/A-

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

     1. การจัดทำรายงานการจัดการพลังงาน จัดเตรียมข้อมูลที่ใช้ในรายงานการจัดการพลังงานได้อย่างครบถ้วน เช่น ข้อมูลการใช้พลังงานและพลังงานทดแทน ข้อมูลเครื่องจักรและอุปกรณ์

 ข้อมูลการผลิต/การบริการ เป็นต้น

     2. การจัดทำเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานภายในองค์กร โดยการนำข้อมูลการใช้พลังงาน ข้อมูลเครื่องจักรและอุปกรณ์ ข้อมูลการผลิต/การบริการ มาวิเคราะห์เพื่อกำหนดเป้าหมายและมาตรการอนุรักษ์พลังงาน

      3. ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ในกิจกรรมอนุรักษ์พลังงาน เป็นการนำแผนการอนุรักษ์พลังงานมาขับเคลื่อนสู่การปฎิบัติในรูปแบบการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ หรือในรูปแบบการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงาน 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ