หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมระบบจ่ายไอน้ำ (Boiler) ในกระบวนการผลิตความร้อน

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-HWAO-631A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมระบบจ่ายไอน้ำ (Boiler) ในกระบวนการผลิตความร้อน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถควบคุมระบบจ่ายไอน้ำ โดยสามารถตรวจสอบการทำงานของระบบจ่ายไอน้ำ อ่านและใช้คู่มือควบคุมการสั่งจ่ายไอน้ำได้ โดยตรวจสอบระบบท่อและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันการรั่วของน้ำและไอน้ำในระบบ ซ่อมบำรุงระบบจ่ายไอน้ำได้ในเบื้องต้น ควบคุมระบบจ่ายไอน้ำโดยใช้คอมพิวเตอร์ โดยมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการควบคุม การอ่านค่าต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ และใช้คู่มือควบคุมระบบจ่ายไอน้ำและอุปกรณ์ทึ่เกี่ยวข้องได้ และสามารถแก้ปัญหาระบบจ่ายไอน้ำได้ในขั้นต้นผ่านระบบคอมพิวเตอร์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร  ปั้นจั่น  และหม้อน้ำ  พ.ศ. 2564           2. ประกาศกระทรวง เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 3. ประกาศกระทรวง เรื่อง คุณสมบัติน้ำสำหรับหม้อน้ำ พ.ศ. 2549 4. ประกาศกระทรวง เรื่อง อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน พ.ศ. 2549 5. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ความเห็นชอบในการตรวจสอบภายในหม้อน้ำ ทุกระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง พ.ศ. 2559 6. ประกาศกรมโรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานจัดฝึกอบรมและการสอบมาตรฐาน หลักสูตรผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน พ.ศ. 2554 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-TP01-5-0031

ตรวจสอบการทำงานของระบบจ่ายไอน้ำเบื้องต้น

อธิบายเกี่ยวกับเกี่ยวกับการทำงานของระบบจ่ายไอน้ำเบื้องต้น

BMG-TP01-5-0031.01 198685
BMG-TP01-5-0031

ตรวจสอบการทำงานของระบบจ่ายไอน้ำเบื้องต้น

อ่านและใช้คู่มือการปฏิบัติงานระบบจ่ายไอน้ำได้ 

BMG-TP01-5-0031.02 198686
BMG-TP01-5-0031

ตรวจสอบการทำงานของระบบจ่ายไอน้ำเบื้องต้น

บอกวิธีการควบคุมการสั่งจ่ายไอน้ำได้ตามข้อกำหนดคู่มือการปฏิบัติงาน

BMG-TP01-5-0031.03 198687
BMG-TP01-5-0031

ตรวจสอบการทำงานของระบบจ่ายไอน้ำเบื้องต้น

ตรวจสอบการทำงานของระบบจ่ายไอน้ำ

BMG-TP01-5-0031.04 198688
BMG-TP01-5-0031

ตรวจสอบการทำงานของระบบจ่ายไอน้ำเบื้องต้น

บันทึกผลการตรวจสอบสภาพการทำงานของระบบจ่ายไอน้ำ

BMG-TP01-5-0031.05 198689
BMG-TP01-5-0031

ตรวจสอบการทำงานของระบบจ่ายไอน้ำเบื้องต้น

รายงานผลการจ่ายไอน้ำต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

BMG-TP01-5-0031.06 198690
BMG-TP01-5-0032

ซ่อมบำรุงระบบจ่ายไอน้ำเบื้องต้น

ตรวจสอบระบบท่อไอน้ำ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการรั่วของน้ำและ  ไอน้ำในระบบ

BMG-TP01-5-0032.01 198682
BMG-TP01-5-0032

ซ่อมบำรุงระบบจ่ายไอน้ำเบื้องต้น

บันทึกการตรวจสอบระบบ ตามแผนการทำงาน

BMG-TP01-5-0032.02 198683
BMG-TP01-5-0032

ซ่อมบำรุงระบบจ่ายไอน้ำเบื้องต้น

ซ่อมบำรุงระบบจ่ายไอน้ำได้ในเบื้องต้น

BMG-TP01-5-0032.03 198684
BMG-TP01-5-0033

ควบคุมระบบจ่ายไอน้ำโดยใช้คอมพิวเตอร์

อธิบายวิธีการควบคุมระบบโดยใช้คอมพิวเตอร์

BMG-TP01-5-0033.01 198677
BMG-TP01-5-0033

ควบคุมระบบจ่ายไอน้ำโดยใช้คอมพิวเตอร์

อ่านและใช้คู่มือการควบคุมระบบจ่ายไอน้ำด้วยคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี

BMG-TP01-5-0033.02 198678
BMG-TP01-5-0033

ควบคุมระบบจ่ายไอน้ำโดยใช้คอมพิวเตอร์

ตรวจสอบระบบจ่ายไอน้ำและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง จากการอ่านค่ามิเตอร์วัดต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์

BMG-TP01-5-0033.03 198679
BMG-TP01-5-0033

ควบคุมระบบจ่ายไอน้ำโดยใช้คอมพิวเตอร์

ควบคุมระบบจ่ายไอน้ำผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ระบบทำงานอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพตลอดเวลา

BMG-TP01-5-0033.04 198680
BMG-TP01-5-0033

ควบคุมระบบจ่ายไอน้ำโดยใช้คอมพิวเตอร์

แก้ไขปัญหาระบบจ่ายไอน้ำขั้นต้นผ่านระบบคอมพิวเตอร์

BMG-TP01-5-0033.05 198681

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการติดต่อสื่อสารในเชิงช่าง

2.    ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงเทคนิค

3.    ทักษะในการปฏิบัติ ปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักร อุปกรณ์ระบบหม้อน้ำ ระบบท่อไอน้ำขั้นต้น ตามลำดับขั้นตอนตามคู่มือ

4.    ทักษะในการสังเกตุ คิดวิเคราะห์แก้ปัญหา

5.    ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรมควบคุม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้การปฏิบัติขั้นพื้นฐานด้าน เครื่องจักรและอุปกรณ์

2.    ความรู้ระบบผลิตไอน้ำจากหม้อน้ำ

3.    ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต

4.    ความรู้ในการใช้โปรแกรมควบคุมผ่านระบบคอมพิวเตอร์

5.    ความรู้เกี่ยวกับภาษา/สัญญลักษณ์ต่างๆ ของระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์

6.    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

7.    ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับการทำงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ในเครื่องมือประเมิน (Assessment Standard)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

     2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

     3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. หลักฐานข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (ต้องมี 1 ข้อ)

        1.1 หลักฐานการผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับผู้ควบคุมหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน  หรือผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนจำกหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ  ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

        1.2 หลักฐานการมีคุณวุฒิได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาช่างกลโรงงาน  สาขา      ช่างยนต์  สาขาช่างเทคนิคอุตสาหกรรม  สาขาช่างเทคนิคการผลิต  หรือสาขาอื่นที่มีวิชาการเรียนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับไอน้ำ การเผาไหม้  ความร้อน              การประหยัดพลังงาน  หรือความแข็งแรงของวัสดุ  รวมกันไม่น้อยกว่า  9  หน่วยกิต

     2. กรณีที่ปฎิบัติงานเกิน 2 ปี แสดงหลักฐานการผ่านการฝึกอบรมแนวทางการปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการใช้งานและความปลอดภัยในการทำงานของหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน  โดยให้รับการฝึกอบรมดังกล่าวอย่างน้อยสองปีต่อหนึ่งครั้งตามหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

      - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

      - วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

      - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

     1. ข้อสอบข้อเขียน ปรนัย/อัตนัย

     2. สอบสัมภาษณ์

     3. แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการควบคุมระบบจ่ายไอน้ำให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

(ก) คำแนะนำ 

-N/A-

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

     1. ระบบจ่ายไอน้ำและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง หมายถึง หม้อน้ำ ระบบน้ำเข้า-ออก ระบบท่อและวาล์ว เกจวัดแรงดัน การรั่วไหลตามจุดต่าง ๆ 

     2. การซ่อมบำรุงระบบเบื้องต้น หมายถึง การแก้ไข ซ่อมแซม กรณีเกิดเหตุขัดข้อง เพื่อให้ระบบ/เครื่องจักรและส่วนประกอบ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เช่น ระบบท่อไอน้ำ  สวิตช์ วาล์ว เกจวัดแรงดัน และการรั่วไหลของน้ำและไอน้ำในระบบ เป็นต้น

    3. การแก้ไขปัญหาระบบผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง การสั่งหยุดระบบ หรือการเลือกใช้อุปกรณ์สำรองในระบบทดแทน เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ