หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมเครื่องจักรลำเลียงวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตความร้อน

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-ZUZP-621A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมเครื่องจักรลำเลียงวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตความร้อน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องจักรลำเลียงวัตถุดิบก่อนเข้าสู่เตาเผา มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักร/กระบวนการลำเลียงวัตถุดิบ ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการทำงานของเครื่องจักรลำเลียงวัตถุดิบได้ในเบื้องต้น เก็บตัวอย่างส่วนผสมวัตถุดิบเพื่อส่งวิเคราะห์ได้ พร้อมทั้งประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดการการลำเลียงวัตถุดิบในกระบวนการผลิตความร้อน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 25542. กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2542 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-TP01-4-0021

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรลำเลียงวัตถุดิบ

อธิบายกระบวนการลำเลียงวัตถุดิบก่อนเข้าสู่เตาเผา

BMG-TP01-4-0021.01 207015
BMG-TP01-4-0021

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรลำเลียงวัตถุดิบ

อธิบายรายละเอียดของเครื่องจักรในการลำเลียงวัตถุดิบ

BMG-TP01-4-0021.02 207016
BMG-TP01-4-0021

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรลำเลียงวัตถุดิบ

สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในการทำงานกับเครื่องจักร

BMG-TP01-4-0021.03 207017
BMG-TP01-4-0021

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรลำเลียงวัตถุดิบ

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรลำเลียงวัตถุดิบ

BMG-TP01-4-0021.04 207018
BMG-TP01-4-0021

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรลำเลียงวัตถุดิบ

ตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรลำเลียงวัตถุดิบ

BMG-TP01-4-0021.05 207019
BMG-TP01-4-0021

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรลำเลียงวัตถุดิบ

แก้ไขปัญหาการทำงานของเครื่องจักรลำเลียงวัตถุดิบเบื้องต้น

BMG-TP01-4-0021.06 207020
BMG-TP01-4-0021

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรลำเลียงวัตถุดิบ

ประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดการลำเลียงวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิตความร้อน

BMG-TP01-4-0021.07 207021
BMG-TP01-4-0022

เก็บตัวอย่างส่วนผสมเพื่อส่งวิเคราะห์

เก็บตัวอย่างวัตถุดิบตามวิธีการที่กำหนด

BMG-TP01-4-0022.01 207022
BMG-TP01-4-0022

เก็บตัวอย่างส่วนผสมเพื่อส่งวิเคราะห์

เก็บรักษาและนำส่งตัวอย่างวัตถุดิบตามวิธีการที่กำหนด

BMG-TP01-4-0022.02 207023
BMG-TP01-4-0022

เก็บตัวอย่างส่วนผสมเพื่อส่งวิเคราะห์

บันทึกข้อมูลการเก็บตัวอย่างวัตถุดิบ

BMG-TP01-4-0022.03 207024

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการควบคุมเครื่องจักรและระบบสายพานลำเลียง

2.    ทักษะทางวิศวกรรมและสามารถซ่อมบำรุงเบื้องต้น

3.    ทักษะในการวิเคราะห์ปัญหาจากการทำงานของเครื่องจักรเบื้องต้น

4.    ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

5.    ทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กรณีที่เครื่องจักรเกิดเหตุผิดปกติ

6.    ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ด้านเครื่องจักรและระบบลำเลียงวัตถุดิบ

2.    ความรู้ด้านสมบัติทางเคมีและชีวภาพของเชื้อเพลิง

3.    ความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติด้านไฟฟ้าและเครื่องจักรกลเบื้องต้น

4.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการด้านการขนส่ง

5.    ความรู้ในวิธีการการเก็บตัวตัวอย่างวัตถุดิบ

6.    ความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

7.    ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

8.    ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

     2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

     3. แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

     2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     1. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

         - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

         - วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

         - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 (ง) วิธีการประเมิน

      1. สอบข้อเขียน: ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบอัตนัย

      2. สอบสัมภาษณ์

      3. ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการควบคุมการลำเลียงวัตถุดิบให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง



(ก) คำแนะนำ 

      ผู้ดำเนินงานด้านการควบคุมการลำเลียงวัตถุดิบ จะต้องมีความสามารถในการควบคุมเครื่องจักรและระบบลำเลียงวัตถุดิบ สามารถคัดเลือก เก็บตัวอย่าง รักษาตัวอย่าง และส่งตัวอย่างเพื่อส่งวิเคราะห์ได้ถูกต้อง          

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

     1. การลำเลียงวัตถุดิบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน 

         - สว่นที่ 1 เป็นการลำเลียงวัตถุดิบแต่ละชนิดจากแหล่งเก็บวัตถุดิบเข้าสู่ระบบผลิตมร้อน

         - สว่นที่ 2 การป้อนเชื้อเพลิงเข้าสู่เตาเผา

      2. เครื่องจักรลำเลียงวัตถุดิบ หมายถึง เครื่องจักรที่ใช้ลำเลียงวัตถุดิบเข้าสู่ห้องเผาไหม้ ประกอบด้วยเครื่องจักร/มอเตอร์ส่งกำลัง ลูกกลิ้ง และสายพานลำเลียง เป็นต้น 

      3. การซ่อมบำรุงระบบเบื้องต้น หมายถึง การแก้ไข ซ่อมแซม กรณีเกิดเหตุขัดข้อง เพื่อให้ระบบ/เครื่องจักรและส่วนประกอบ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

      4. แก้ปัญหาการทำงานของเครื่องจักร...

      5. วิธีการที่กำหนด หมายถึงวิธีการเก็บตัวอย่างตามมาตฐานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ