หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลความพร้อมใช้ระบบเครือข่าย

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-VZQV-513A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลความพร้อมใช้ระบบเครือข่าย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2523 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้ครอบคลุมระดับพื้นฐานที่จำเป็นในการสนับสนุนงานระบบสารสนเทศทางการแพทย์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางการแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2511 นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์2519 นักวิเคราะห์และพัฒนาซอฟต์แวร์และโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น2522 ผู้บริหารระบบงานคอมพิวเตอร์ 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 - พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. (ฉบับที่2) พ.ศ. 2560 - คำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
MHI0501

วางแผนและบริหารจัดการระบบเครือข่ายภายในโรงพยาบาล

1.1 กำหนดขั้นตอนเฝ้าระวังระบบและการยกระดับในการแก้ไขปัญหา

MHI0501.01 212923
MHI0501

วางแผนและบริหารจัดการระบบเครือข่ายภายในโรงพยาบาล

1.2 เลือกใช้เครื่องมือในการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเมื่อระบบมีปัญหา

MHI0501.02 212924
MHI0501

วางแผนและบริหารจัดการระบบเครือข่ายภายในโรงพยาบาล

1.3 จัดเตรียมแผนงานสำรองในกรณีฉุกเฉินเมื่ออุปกรณ์หลักขององค์กรใช้งานไม่ได้

MHI0501.03 212925
MHI0502

กำหนดระดับการให้บริการและคุณภาพการให้บริการ

2.1 กำหนดคุณภาพการให้บริการ (Service Level Agreement: SLA)

MHI0502.01 212926
MHI0502

กำหนดระดับการให้บริการและคุณภาพการให้บริการ

2.2 ตรวจสอบปริมาณการใช้งานระบบเครือข่ายด้วยเครื่องมือบริหารจัดการระบบเครือข่าย (Network Management System: NMS) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบเครือข่าย

MHI0502.02 212927
MHI0502

กำหนดระดับการให้บริการและคุณภาพการให้บริการ

2.3 ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการให้ดีขึ้น

MHI0502.03 212928
MHI0503

ตรวจสอบประสิทธิภาพขอทุกระบบเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ

3.1 วางแผนบำรุงรักษาระบบในเชิงป้องกัน โดยกำหนดวงรอบการเข้าตรวจความพร้อมใช้ และประสิทธิภาพของอุปกรณ์เครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ

MHI0503.01 212929
MHI0503

ตรวจสอบประสิทธิภาพขอทุกระบบเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ

3.2 ตรวจสอบตรวจความพร้อมใช้ และประสิทธิภาพของอุปกรณ์เครือข่ายตามวงรอบที่กำหนด

MHI0503.02 212930
MHI0503

ตรวจสอบประสิทธิภาพขอทุกระบบเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ

3.3 ทดสอบ โดยใช้เครื่องมือในการทดสอบระบบ

MHI0503.03 212931
MHI0504

ประเมินเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพของระบบเครือข่ายและความพร้อมใช้

4.1 ติดตามข่าวสารเทคโนโลยีด้านระบบเครือข่ายและความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ

MHI0504.01 212932
MHI0504

ประเมินเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพของระบบเครือข่ายและความพร้อมใช้

4.2 ประเมินเทคโนโลยีใหม่ ที่เหมาะสมโดยสามารถนำมาปรับปรุงคุณภาพของระบบเครือข่าย ได้ในค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม และรองรับการขยายระบบเครือข่ายในอนาคต

MHI0504.02 212933
MHI0504

ประเมินเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพของระบบเครือข่ายและความพร้อมใช้

4.3 ทำรายงานสรุปผลการประเมินและเปรียบเทียบอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีที่ต้องการนำมาใช้

MHI0504.03 212934
MHI0504

ประเมินเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพของระบบเครือข่ายและความพร้อมใช้

4.4 นำเสนอให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง

MHI0504.04 212935
MHI0505

ตรวจสอบการปฏิบัติงานของบุคลากรระบบเครือข่ายให้สอดคล้องกับกฎระเบียบขององค์กร

5.1 ตรวจสอบผลการติดตั้งอุปกรณ์และการตั้งการระบบเครือข่าย

MHI0505.01 212936
MHI0505

ตรวจสอบการปฏิบัติงานของบุคลากรระบบเครือข่ายให้สอดคล้องกับกฎระเบียบขององค์กร

5.2 ตรวจสอบผลการเดินสายระบบเครือข่าย

MHI0505.02 212937
MHI0505

ตรวจสอบการปฏิบัติงานของบุคลากรระบบเครือข่ายให้สอดคล้องกับกฎระเบียบขององค์กร

5.3 ตรวจสอบผลการสำรองข้อมูลการตั้งค่าอุปกรณ์ระบบเครือข่ายให้มีข้อมูลล่าสุดและครบถ้วน

MHI0505.03 212938
MHI0506

ดูแลระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อน

6.1 ให้คำปรึกษาในการแก้ไขปัญหาระบบเครือข่ายกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

MHI0506.01 212939
MHI0506

ดูแลระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อน

6.2 แก้ไขปัญหาระบบเครือข่ายและระบบเครือข่ายไร้สายที่มีความซับซ้อน

MHI0506.02 212940
MHI0506

ดูแลระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อน

6.3 ประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญระบบเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาที่มีความยากในระดับสูง


MHI0506.03 212941
MHI0506

ดูแลระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อน

6.4 แก้ไขปัญหาและทำรายงานสรุปผลการแก้ไขปัญหา

MHI0506.04 212942
MHI0506

ดูแลระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อน

6.5 นำเสนอให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง

MHI0506.05 212943

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ไม่มี

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในการแก้ไขปัญหาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีความซับซ้อน

2. ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มของสินค้าและบริการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระบบเครือข่าย

3. ความรู้ด้านเครื่องมือและวิธีการประเมินผลประสิทธิภาพระบบเครือข่าย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะ-ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. ผลการบันทึกรายการจากการสังเกต

     2. ผลการบันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

     3. ผลจากการปฏิบัติงาน

     4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. ผลจากสัมภาษณ์และหรือ

     2. ผลจากทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

     1. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินความรู้ผู้เข้ารับการประเมินโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน

     2. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินการสาธิตการปฏิบัติงานจริงโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ หรือ

     3. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินการสัมภาษณ์โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. กำหนดลำดับความสำคัญของอุปกรณ์โดยคำนึงถึงผลกระทบของความไม่พร้อมใช้ของระบบหรืออุปกรณ์ ต่อผู้ใช้ในด้านธุรกิจและด้านต่างๆ เพื่อกำหนดความสำคัญของปัญหาในการแก้ไขปัญหาก่อนหลัง และความเร่งด่วนในการแก้ปัญหา รวมถึงกรอบระยะเวลาในการแก้ไขปัญหา เพื่อใช้ประเมินขีดความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และกระบวนการยกระดับของปัญหา

2. การตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบจำเป็นจะต้องมีการกำหนดมาตรฐานชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของระบบและความพร้อมใช้ (KPI)    

3. วิธีการประเมิน ได้แก่ การวัดผลระยะเวลาที่ระบบใช้งานไม่ได้ การวัดผลระยะเวลาในการแก้ไขปัญหา เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจได้รับการประเมินผ่าน    

•    การสอบข้อเขียน

•    การสัมภาษณ์

โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในที่ทำงานหรือในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น

 



ยินดีต้อนรับ