หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

นำกระบวนการจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management) มาใช้

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-KROX-506A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ นำกระบวนการจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management) มาใช้

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2511 นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้ครอบคลุมระดับพื้นฐานที่จำเป็นในการสนับสนุนงานระบบสารสนเทศทางการแพทย์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักวิเคราะห์ระบบสารสนเทศทางการแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2512 นักพัฒนาซอฟต์แวร์2519 นักวิเคราะห์และพัฒนาซอฟต์แวร์และโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. (ฉบับที่2) พ.ศ. 2560- คำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
MBA0601

กำหนดกระบวนการจัดการการเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์ขององค์กรและความต้องการทางธุรกิจ

1.1 ออกแบบกระบวนการจัดการการเปลี่ยนแปลงตามแนวทาง หลักเกณฑ์ กฎระเบียบขององค์กร และความต้องการทางธุรกิจ

MBA0601.01 175863
MBA0601

กำหนดกระบวนการจัดการการเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์ขององค์กรและความต้องการทางธุรกิจ

1.2 จัดลำดับขั้นตอนการจัดการการเปลี่ยนแปลง

MBA0601.02 175864
MBA0601

กำหนดกระบวนการจัดการการเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์ขององค์กรและความต้องการทางธุรกิจ

1.3 เตรียมแผนแก้ไขสำรองกรณีฉุกเฉิน ที่การเปลี่ยนแปลงมีผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ หรือไม่เป็นไปตามแผน

MBA0601.03 175865
MBA0602

กำหนดเกณฑ์ชี้วัดเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงที่เสนอ

2.1 กำหนดเกณฑ์ชี้วัดเพื่อประเมินผลการเปลี่ยนแปลง

MBA0602.01 175866
MBA0602

กำหนดเกณฑ์ชี้วัดเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงที่เสนอ

2.2 กำหนดกรอบเวลาหรือข้อกำหนดในการชี้วัดที่สามารถประเมินได้ในเวลาที่เหมาะสม

MBA0602.02 175867
MBA0603

จัดการการเปลี่ยนแปลงตามขั้นตอนการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่กำหนดไว้

3.1 ดำเนินการจัดการการเปลี่ยนแปลงตามที่กำหนดหรือออกแบบไว้

MBA0603.01 175868
MBA0603

จัดการการเปลี่ยนแปลงตามขั้นตอนการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่กำหนดไว้

3.2 ประเมินผลกระบวนการทำงานหลังการเปลี่ยนแปลง ด้วยเกณฑ์ชี้วัดที่กำหนด

MBA0603.02 175869
MBA0603

จัดการการเปลี่ยนแปลงตามขั้นตอนการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่กำหนดไว้

3.3 ประเมินสถานการณ์และผลกระทบ ของการเปลี่ยนแปลง

MBA0603.03 175870
MBA0603

จัดการการเปลี่ยนแปลงตามขั้นตอนการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่กำหนดไว้

3.4 นำเสนอเตรียมแผนแก้ไขสำรองกรณีฉุกเฉิน ที่การเปลี่ยนแปลงมีผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ หรือไม่เป็นไปตามแผนให้ผู้บริหารพิจารณา

MBA0603.04 175871
MBA0604

จับจุดชี้วัดประสิทธิภาพใหม่เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลง

4.1 วัดประสิทธิภาพด้วยเกณฑ์ชี้วัดที่กำหนด จุดก่อนการเปลี่ยนแปลง

MBA0604.01 175872
MBA0604

จับจุดชี้วัดประสิทธิภาพใหม่เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลง

4.2 วัดประสิทธิภาพด้วยเกณฑ์ชี้วัดที่กำหนด จุดหลังการเปลี่ยนแปลง

MBA0604.02 175873
MBA0605

วัดประสิทธิภาพการเปลี่ยนแปลงเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานใหม่เพื่อรายงานต่อผู้มีส่วนได้เสีย

5.1 เปรียบเทียบผลการวัดประสิทธิภาพก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลง ด้วยเกณฑ์ชี้วัดใหม่ที่กำหนด

MBA0605.01 175874
MBA0605

วัดประสิทธิภาพการเปลี่ยนแปลงเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานใหม่เพื่อรายงานต่อผู้มีส่วนได้เสีย

5.2 ทำรายงานสรุปเพื่อนำเสนอต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

MBA0605.02 175875

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1.  มีความรู้ด้านธุรกิจการแพทย์

2.  มีความรู้และคุ้นเคยกับฟังก์ชันการทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันขององค์กรด้านการแพทย์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการจัดการความเสี่ยง

2. ทักษะในการจัดการการเปลี่ยนแปลง

3. ทักษะในการประเมินสถานการณ์ และผลกระทบความเสี่ยง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในด้านการออกแบบเกณฑ์ชี้วัดประสิทธิภาพการทำงาน

2. ความสามารถในการวัดผลตามเกณฑ์ชี้วัด

3. ความรู้และความเข้าใจในกระบวนการทำงานต่างๆ ของธุรกิจทางการแพทย์

4. ความสามารถในการตัดสินใจและมองภาพรวมของผลกระทบและความเสี่ยงของธุรกิจ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะ-ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. ผลการบันทึกรายการจากการสังเกต

     2. ผลการบันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

     3. ผลจากการปฏิบัติงาน

    4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. ผลจากสัมภาษณ์และหรือ

     2. ผลจากทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

     1. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินความรู้ผู้เข้ารับการประเมินโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน

     2. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินการสาธิตการปฏิบัติงานจริงโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ หรือ

     3. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินการสัมภาษณ์โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. ความต้องการทางธุรกิจ อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ, แอพพลิเคชันซอฟต์แวร์, ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คนในองค์กร เป็นต้น    

2. กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงอาจรวมถึง กระบวนการต่างๆ ดังนี้    

       o การสรรหาบุคคลากรในองค์กรที่สำคัญที่เข้ามาช่วยรับผิดชอบงานในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง    

       o การกำหนดจุด Check point ของการเปลี่ยนแปลง

       o การใช้กลไกในการบริหารการเงิน    

       o การสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้อง    

       o การแก้ไขข้อพิพาท ระหว่างขั้นตอนการแก้ไข    

       o กระบวนการในการกำหนด ขนาดและต้นทุนของการเปลี่ยนแปลง

3. หลักการการจัดการการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย ผลกระทบต่อองค์กร, บุคคล, ลูกค้า, คู่ค้า, กลยุทธ์ในการจัดการการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง    

4. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อาจรวมถึง ผู้ใช้งานระบบ, ลูกค้าภายใน, ลูกค้าภายนอก, องค์กรรัฐบาล, องค์กรเอกชน, ชุมชนต่างๆ

5. การวัดประสิทธิภาพ อาจรวมถึง ตัวชี้วัดด้านเทคนิค, การประหยัดค่าใช้จ่าย, การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, ตัวชีวัดด้านคุณภาพ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจได้รับการประเมินผ่าน

•    การสอบข้อเขียน    

•    การสัมภาษณ์

โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในที่ทำงานหรือในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น

 



ยินดีต้อนรับ