หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แนะนำการปรับปรุงกระบวนการทำงานในสถานพยาบาล

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-TSPR-505A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แนะนำการปรับปรุงกระบวนการทำงานในสถานพยาบาล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2511 นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยนี้ครอบคลุมระดับพื้นฐานที่จำเป็นในการสนับสนุนงานระบบสารสนเทศทางการแพทย์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักวิเคราะห์ระบบสารสนเทศทางการแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2512 นักพัฒนาซอฟต์แวร์2513 นักพัฒนาเว็บไซต์และสื่อผสม2514 โปรแกรมเมอร์2519 นักวิเคราะห์และพัฒนาซอฟต์แวร์และโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น2521 นักออกแบบและผู้บริหารฐานข้อมูล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. (ฉบับที่2) พ.ศ. 2560- คำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
MBA0501

วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันและระบุช่องว่างในกระบวนการต่าง ๆในกระบวนการการทำงาน

1.1 วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงปัญหาของกระบวนการทำงานต่างๆ

MBA0501.01 175849
MBA0501

วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันและระบุช่องว่างในกระบวนการต่าง ๆในกระบวนการการทำงาน

1.2 ระบุช่องว่างของกระบวนการการทำงานที่นำไปสู่กระบวนการพัฒนา

MBA0501.02 175850
MBA0502

ระบุแนวทางแก้ไขจากความช่วยเหลือของผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรับปรุงกระบวนการการทำงาน

2.1 ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการทำงานเพื่อหาแนวทางแก้ไข

MBA0502.01 175851
MBA0502

ระบุแนวทางแก้ไขจากความช่วยเหลือของผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรับปรุงกระบวนการการทำงาน

2.2 สรุปข้อดีข้อเสียของแนวทางแก้ไขแต่ละแนวทาง

MBA0502.02 175852
MBA0502

ระบุแนวทางแก้ไขจากความช่วยเหลือของผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรับปรุงกระบวนการการทำงาน

2.3 ระบุแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม

MBA0502.03 175853
MBA0503

ประเมินการแก้ปัญหาตามผลกระทบและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการการทำงาน

3.1 ประเมินผลกระทบของวิธีการแก้ไขปัญหา ในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานแต่ละวิธี

MBA0503.01 175854
MBA0503

ประเมินการแก้ปัญหาตามผลกระทบและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการการทำงาน

3.2 ประเมินความเสี่ยงของวิธีการแก้ไขปัญหา ในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานแต่ละวิธี

MBA0503.02 175855
MBA0504

ประยุกต์แนวโน้มและพัฒนาการใหม่ๆ ในด้านการแพทย์ ที่ส่งผลต่อการพัฒนากระบวนการการทำงาน

4.1 ศึกษาแนวโน้มและพัฒนาการใหม่ๆ ในด้านการแพทย์

MBA0504.01 175856
MBA0504

ประยุกต์แนวโน้มและพัฒนาการใหม่ๆ ในด้านการแพทย์ ที่ส่งผลต่อการพัฒนากระบวนการการทำงาน

4.2 นำเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านการแพทย์มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนากระบวนการการทำงาน

MBA0504.02 175857
MBA0505

ออกแบบกระบวนการใหม่โดยอาศัยโซลูชั่นที่ระบุและแนวโน้มใหม่ ๆ

5.1 ระบุแนวโน้มใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้กับกระบวนการการทำงาน

MBA0505.01 175858
MBA0505

ออกแบบกระบวนการใหม่โดยอาศัยโซลูชั่นที่ระบุและแนวโน้มใหม่ ๆ

5.2 ออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ ตามแนวทางการแก้ปัญหาที่ได้เลือกไว้ โดยใช้แนวโน้มใหม่

MBA0505.02 175859
MBA0506

เตรียมเอกสารประกอบการเปลี่ยนแปลงที่เสนอให้ผู้บริหารอาวุโสอนุมัติ

6.1 จัดทำเอกสารสรุปผลการประเมินผลกระทบและความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลง

MBA0506.01 175860
MBA0506

เตรียมเอกสารประกอบการเปลี่ยนแปลงที่เสนอให้ผู้บริหารอาวุโสอนุมัติ

6.2 กระบวนการทำงาน

MBA0506.02 175861
MBA0506

เตรียมเอกสารประกอบการเปลี่ยนแปลงที่เสนอให้ผู้บริหารอาวุโสอนุมัติ

6.3 นำเสนอต่อผู้บริหารเพื่อพิจารณา

MBA0506.03 175862

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1.    มีความรู้ด้านธุรกิจการแพทย์    

2.    มีความรู้และคุ้นเคยกับฟังก์ชันการทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันขององค์กรด้านการแพทย์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ไม่มี

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในกระบวนการทำงานของ พยาบาล, เภสัชกร, ด้านคลินิก, งานวิจัย และกระบวนการของสถานพยาบาล

2. เข้าใจในบทบาท และความรับผิดชอบของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาในแต่ละกระบวนการทำงาน

3. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานด้านสุขภาพ และโครงการต่างๆ ที่มีที่ใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงาน

4. ความรู้ในด้านข้อดีข้อเสียของวิธีการปรับปรับปรุงกระบวนการต่างๆ และสถิติของผลการนำไปใช้

5. ความรู้ในด้านแนวโน้มของการพัฒนาใหม่ๆ ในด้านธุรกิจการดูแลสุขภาพ

6. ความรู้ในด้านการปรับปรุงกระบวนการทำงานใหม่ๆขององค์กร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะ-ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1. ผลการบันทึกรายการจากการสังเกต

      2. ผลการบันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

      3. ผลจากการปฏิบัติงาน

      4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. ผลจากสัมภาษณ์และหรือ

     2. ผลจากทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

     1. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินความรู้ผู้เข้ารับการประเมินโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน

     2. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินการสาธิตการปฏิบัติงานจริงโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ หรือ

    3. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินการสัมภาษณ์โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. กระบวนการด้านคลินิก เช่น การขนย้ายผู้ป่วย, ความปลอดภัยผู้ป่วย, การวินิจฉัย ทางห้องปฏิบัติการ, การวินิจฉัย ทางรังสีวิทยา, การดูแลห้องฉุกเฉิน เป็นต้น    

2. กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเภสัช เช่น หน้าที่หลักของเภสัชกร, การควบคุมยาและสารเสพติด, ความปลอดภัยผู้ป่วย เป็นต้น

3. กระบวนการด้านการบริหารจัดการสถานพยาบาล เช่น การเงิน, การวางบิล, การจัดซื้อจัดจ้าง, งานบริหารทรัพยากรบุคคล, การขาย, การตลาด, การให้บริการ เป็นต้น    

4. การวิเคราะห์สามารถใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล เช่น โปรแกรมในการวิเคราะห์ข้อมูล, โปรแกรมด้านสเปรดชีต เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจได้รับการประเมินผ่าน    

•  การสอบข้อเขียน    

•  การสัมภาษณ์

โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในที่ทำงานหรือในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น



ยินดีต้อนรับ