หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตั้งค่าชิ้นงานและส่วนติดต่อผู้ใช้ (User Interface) ให้ตรงกับงานภาพราสเตอร์ที่ออกแบบ (Settings Design Raster Project Work and User Interface Appropriate with Document)

สมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการใช้โปรแกรมสร้างภาพราสเตอร์ สำหรับการออกแบบ Adobe Certified Professional Photoshop


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 4002

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตั้งค่าชิ้นงานและส่วนติดต่อผู้ใช้ (User Interface) ให้ตรงกับงานภาพราสเตอร์ที่ออกแบบ (Settings Design Raster Project Work and User Interface Appropriate with Document)

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะมีความรู้ และความสามารถในเรื่องสร้าง ตั้งค่า ปรับแต่งสภาพแวดล้อม (Environment) ของโปรแกรมให้เหมาะสมกับชิ้นงาน ใช้แป้นพิมพ์ลัดเพื่อช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน ใช้คำสั่งนำเข้า(Import) ส่วนประกอบจากแหล่งอื่นมาใช้ในชิ้นงาน ใช้เครื่องมือจัดการสีและไล่ระดับสี (Gradient) ให้กับชิ้นงาน ตลอดจนใช้เครื่องมือสร้างหัวแปรง (Brush) รูปแบบ (Style) และลวดลายต่อเนื่อง (Pattern) ให้กับชิ้นงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
40021 สร้างและตั้งค่าสภาพแวดล้อมของโปรแกรมให้เหมาะสมกับชิ้นงานภาพราสเตอร์ (Create and Settings Program Environment Appropriate with Design Raster Project Work) 1. สร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับชิ้นงานภาพราสเตอร์ 40021.01 212580
40021 สร้างและตั้งค่าสภาพแวดล้อมของโปรแกรมให้เหมาะสมกับชิ้นงานภาพราสเตอร์ (Create and Settings Program Environment Appropriate with Design Raster Project Work) 2. ตั้งค่าชิ้นงานภาพราสเตอร์ให้เหมาะสำหรับงานเว็บไซต์ 40021.02 212581
40021 สร้างและตั้งค่าสภาพแวดล้อมของโปรแกรมให้เหมาะสมกับชิ้นงานภาพราสเตอร์ (Create and Settings Program Environment Appropriate with Design Raster Project Work) 3. ตั้งค่าชิ้นงานภาพราสเตอร์ให้เหมาะสมสำหรับงานสิ่งพิมพ์ 40021.03 212582
40021 สร้างและตั้งค่าสภาพแวดล้อมของโปรแกรมให้เหมาะสมกับชิ้นงานภาพราสเตอร์ (Create and Settings Program Environment Appropriate with Design Raster Project Work) 4. ตั้งค่าชิ้นงานภาพราสเตอร์ให้เหมาะสมสำหรับงานวิดีโอ 40021.04 212583
40022 ปรับแต่งสภาพแวดล้อมของโปรแกรมให้เหมาะสมกับชิ้นงานภาพราสเตอร์ (Customize Program Environment Appropriate with Design Raster Project Work) 1. เปิดหรือปิดการแสดงผลเครื่องมือในโปรแกรม 40022.01 212584
40022 ปรับแต่งสภาพแวดล้อมของโปรแกรมให้เหมาะสมกับชิ้นงานภาพราสเตอร์ (Customize Program Environment Appropriate with Design Raster Project Work) 2. จัดวางเครื่องมือภายในหน้าต่างของโปรแกรมให้สามารถเลือกใช้งานได้ 40022.02 212585
40022 ปรับแต่งสภาพแวดล้อมของโปรแกรมให้เหมาะสมกับชิ้นงานภาพราสเตอร์ (Customize Program Environment Appropriate with Design Raster Project Work) 3. คืนค่าเริ่มต้นของโปรแกรม 40022.03 212586
40023 ใช้แป้นพิมพ์ลัดเพื่อช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน (Use Keyboard Shortcuts to Reduce Work Time) 1. ระบุแป้นพิมพ์ลัดที่สามารถใช้งานในโปรแกรม 40023.01 212587
40023 ใช้แป้นพิมพ์ลัดเพื่อช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน (Use Keyboard Shortcuts to Reduce Work Time)
2. เลือกใช้แป้นพิมพ์ลัดเพื่อลดระยะเวลาในการทำงาน
40023.02 212588
40023 ใช้แป้นพิมพ์ลัดเพื่อช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน (Use Keyboard Shortcuts to Reduce Work Time) 3. ใช้เครื่องมือเส้นไกด์ 40023.03 212589
40023 ใช้แป้นพิมพ์ลัดเพื่อช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน (Use Keyboard Shortcuts to Reduce Work Time) 4. ใช้เครื่องมือกริด 40023.04 212590
40024 นำเข้าส่วนประกอบจากแหล่งอื่นมาใช้ในชิ้นงานภาพราสเตอร์ (Import Assets into Design Raster Project Work) 1. คัดเลือกส่วนประกอบจากแหล่งอื่น เช่น ไฟล์ภาพจากแฟ้มข้อมูล (Folder)  40024.01 212591
40024 นำเข้าส่วนประกอบจากแหล่งอื่นมาใช้ในชิ้นงานภาพราสเตอร์ (Import Assets into Design Raster Project Work) 2. ใช้เครื่องมือนำเข้าส่วนประกอบจากแหล่งอื่น 40024.02 212592
40025 ใช้เครื่องมือจัดการสีและไล่ระดับสีให้กับชิ้นงานภาพราสเตอร์ (Use Colors and Gradient Tools for Raster Image) 1. ใช้เครื่องมือเติมสี 40025.01 212593
40025 ใช้เครื่องมือจัดการสีและไล่ระดับสีให้กับชิ้นงานภาพราสเตอร์ (Use Colors and Gradient Tools for Raster Image) 2. ใช้เครื่องมือไล่ระดับสี 40025.02 212594
40025 ใช้เครื่องมือจัดการสีและไล่ระดับสีให้กับชิ้นงานภาพราสเตอร์ (Use Colors and Gradient Tools for Raster Image) 3. ใช้เครื่องมือจานสี 40025.03 212595
40026 ใช้เครื่องมือสร้างหัวแปรง รูปแบบและลวดลายต่อเนื่องให้กับชิ้นงานภาพราสเตอร์ (Use Brushes, Style and Patterns Tools for Raster Image) 1. ใช้เครื่องมือสร้างหัวแปรง 40026.01 212596
40026 ใช้เครื่องมือสร้างหัวแปรง รูปแบบและลวดลายต่อเนื่องให้กับชิ้นงานภาพราสเตอร์ (Use Brushes, Style and Patterns Tools for Raster Image) 2. ใช้เครื่องมือสร้างรูปแบบ 40026.02 212597
40026 ใช้เครื่องมือสร้างหัวแปรง รูปแบบและลวดลายต่อเนื่องให้กับชิ้นงานภาพราสเตอร์ (Use Brushes, Style and Patterns Tools for Raster Image) 3. ใช้เครื่องมือสร้างลวดลายต่อเนื่อง 40026.03 212598

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการสร้าง และจัดการตั้งค่าไฟล์งานออกแบบ รวมถึงวิธีการกำหนดค่าไฟล์งานให้ถูกต้องตาม ประเภทของงานออกแบบ เช่น งานพิมพ์ หรืองานสำหรับหน้าจอ

2. ทักษะการนำทาง การจัดระเบียบ และการปรับแต่งพื้นที่ทำงานภายในโปรแกรมให้เหมาะสม โดยรวมถึงการปรับแต่งหน้าจอโปรแกรม เพื่อให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม และสะดวกต่อการทำงาน รวมถึงการคืนค่าตั้งต้น

3. ทักษะวิธีการใช้คำสั่งและเครื่องมือที่ไม่แสดงให้เห็นในอินเทอร์เฟซ และแป้นพิมพ์ลัดเพื่อกระชับการใช้งานโปรแกรม

4. ทักษะวิธีการนำเข้าทรัพยากรอื่น ๆ เช่น ไฟล์ภาพ เข้าไปไว้ในไฟล์งานออกแบบ เพื่อใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การทำความเข้าใจ และเรียนรู้การสร้าง และกำหนดค่าไฟล์งานได้ ในด้านขนาด จำนวน ค่าประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. การทำความเข้าใจ และเรียนรู้การนำเข้าทรัพยากร เช่น ไฟล์ภาพ ไฟล์วิดีโอ เป็นต้น เข้าไว้ในไฟล์โครงการ เพื่อจะได้ทราบถึงนามสกุลไฟล์ใดที่สามารถนำเข้าได้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        N/A

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        N/A

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

        N/A

(ง) วิธีการประเมิน

        สาธิตการปฏิบัติงาน หรือ แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

    หน่วยสมรรถนะนี้เป็นเรื่องความรู้พื้นฐานการตกแต่งภาพและออกแบบภาพ เพื่อให้สามารถควบคุมพื้นที่การทำงานของโปรแกรม การใช้แป้นพิมพ์ลัด การเตรียมการก่อนเริ่มทำงาน และการนำเข้าไฟล์ภาพจากอุปกรณ์

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด 

     1. สร้างงานออกแบบ ด้วยการตั้งค่าที่เหมาะสมสำหรับการพิมพ์ หน้าจอ และวิดีโอการเริ่มต้นตั้งค่าสำหรับชิ้นงานออกแบบมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากการสสร้างชิ้นงานผิดวัตถุประสงค์จะทำให้การสร้างชิ้นงานขั้นถัดไปอาจมีความผิดเพี้ยนและส่งผลกับการส่งออกผลงานเพื่อใช้ต่อไป ซึ่งการกำหนดค่าต่าง ๆ มีความสำคัญและควรทำความเข้าใจในส่วนต่าง ๆ เช่น

         •    การเลือกตามรูปแบบสื่อขนาดตามรูปแบบที่โปรแกรมจัดเตรียมให้ โดยการเลือกควรมีความสอดคล้องกับชนิดงานออกแบบที่ระบุตามวัตถุประสงค์

         •    ตั้งค่าเอกสารที่เหมาะสมกับการพิมพ์หรือหน้าจอ โดยกำหนดความกว้างสูง 

         •    การเลือกระบบสีที่ใช้ให้เกิดความสอดคล้องกับประเภทงานที่ออกแบบเพื่อลดปัญหาการส่งออกผลงานที่มีข้อผิดเพี้ยน

         •     ความละเอียดของผลงานที่ให้เกิดความเหมาะสมกับประเภทงาน จะสามารถทำให้ผลงานมีคุณภาพตามและขนาดชองไฟล์ผลงานเหมาะสมตามประเภทผลงาน

         •    การสร้างเป็นต้นแบบเพื่อใช้งานในโครงการอื่น ๆ เพื่อลดขั้นตอนการตั้งค่าใหม่ทุกครั้ง และยังช่วยลดข้อผิดพลาดของการตั้งค่าได้

      2. การจัดระเบียบพื้นที่ทำงานภายในโปรแกรม การจัดวางเครื่องมือภายในโปรแกรมให้สะดวกกับการทำงานจะทำให้การทำงานมีความราบรื่นและรวดเร็ว ยังรวมถึงการตั้งค่าการมองเห็นเครื่องมือช่วยเหลือในการวัดแนวอ้างอิง โดยการจัดการองค์ประกอบภายในโปรแกรม ประกอบด้วย แถบควบคุม กล่องเครื่องมือ และแผงหน้าต่างย่อย ซึ่งต้องควบคุมและจัดเรียงได้อย่างเหมาะสมกับการทำงาน รวมถึงการกลับคืนค่าเริ่มต้น และบันทึกเป็นรูปแบบที่ใช้ประจำ องค์ประกอบช่วยการทำงานอื่น ๆ ที่ควรค่าเริ่มต้นก่อนการทำงาน เช่น การตั้งค่าสีดำของงานพิมพ์และงานหน้าจอ หาตั้งหน่วยวัด และขนาดตารางอ้างอิงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำงานเกิดความราบรื่น

      3. การใช้แป้นพิมพ์ลัดในการทำงานและการควบคุมหน้าจอระหว่างการใช้งานโปรแกรมในการตกแต่งภาพและออกแบบ เพื่อให้การใช้งานมีความคล่องตัวผู้ใช้งานต้องมีการปรับระยะการมอง การเคลื่อนตำแหน่งภาพงานให้สะดวกต่อการทำงาน โดยการใช้งานผ่านแป้นพิมพ์ลัดเป็นทางเลือกที่สร้างความสะดวกได้มาก  รวมถึงการเครื่องมือเสริมการทำงาน เช่น แถบไม้บรรทัด เส้นอ้างอิง ที่ผู้ใช้งานควรควบคุมจัดการได้ในการเปิดใช้งาน สร้างหรือลบเส้นอ้างอิง ปรับตำแหน่ง 

      4.  การจัดการองค์ประกอบภายในการออกแบบ ในการตกแต่งภาพจะมีองค์ประกอบจากหลากหลายที่มา เช่น ส่วนประกอบที่ต้องนำเข้าไฟล์ภาพจากภายนอกและการจัดการต่าง ๆ เกี่ยวกับภาพจึงต้องสร้างความเข้าใจกับการจัดการองค์ประกอบ เช่น

          •    การนำเข้าจากกล้องหรือสแกนเนอร์ เป็นต้น ซึ่งต้องกำหนดค่าของกล้องหรือสแกนเนอร์ให้มีความละเอียดเหมาะสมกับการใช้งาน และ

          •    การนำเข้าไฟล์จากแฟ้มข้อมูล (Folder)

          •    การนำเข้าไฟล์ต้นฉบับโดยระบุการเชื่อมโยงไฟล์หรือไม่ 

          •    การตกแต่งภาพจากไฟล์ .RAW ที่ต้องใช้โปรแกรมเฉพาะ  

      5.  การจัดการสีและการไล่ระดับสี ขั้นตอนการทำงานลงสีมีเครื่องมือและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการใช้งานและเป็นตัวช่วยในกรณีต่าง ๆ เพื่อการใช้งานที่คล่องตัว และได้ความสวยงาม

          •    การดึงสีจากภาพ มีประโยชน์ในการสร้างความเชื่อมโยงของสีให้เกิดความกลมกลืนภายในงาน และสามารถเพิ่มสีที่ใช้งานบ่อยลงในแผงเครื่องมือสี

          •    เครื่องมือและคำสั่งในการไล่ระดับสีเพื่อให้งานออกแบบเกิดมิติ และมีความแตกต่างของงาน

          •    การจัดการและแก้ไขสีและการเปิดชุดสีจากตัวเลือกของโปรแกรม

          •    แผงเครื่องช่วยการเลือกสีในรูปแบบตามทฤษฎีสี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สาธิตการปฏิบัติงาน หรือ แฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ