หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ร่วมขับเคลื่อนนโยบาย ในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมของเยาวชน

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-RYAR-069B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ร่วมขับเคลื่อนนโยบาย ในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมของเยาวชน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

เจ้าหน้าที่ให้บริการเยาวชน


1 3412 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ เป็นผู้มีส่วนร่วมในที่ประชุมนำเสนอนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน ร่วมกับเครือข่ายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน (การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม) และบทเรียนจากการทำงานร่วมกับเยาวชน และสามารถมีส่วนร่วมในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาเยาวชนให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และ ข้อคิดเห็นทั่วไป ฉบับที่ 20 (พ.ศ. 2559) ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิเด็กในช่วงวัยรุ่น-    พ.รบ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546-    พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
50111

รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของเยาวชน และบทเรียนจากการทำงานร่วมกับเยาวชน

1.ระบุสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน

50111.01 213452
50111

รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของเยาวชน และบทเรียนจากการทำงานร่วมกับเยาวชน

2.รวบรวมบทเรียนจากประสบการณ์ตรงในการทำงานกับเยาวชนและการเรียนรู้ทางอ้อมจากเพื่อนร่วมงาน เครือข่าย การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง

50111.02 213453
50112

มีส่วนร่วมในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาและการมีส่วนร่วมของเยาวชน

1.มีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเยาวชนเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาเยาวชน

50112.01 213448
50112

มีส่วนร่วมในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาและการมีส่วนร่วมของเยาวชน

2.มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติร่วมกับกลุ่ม องค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและคุ้มครองเยาวชน

50112.02 213449
50112

มีส่วนร่วมในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาและการมีส่วนร่วมของเยาวชน

3.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการขับเคลื่อนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน

50112.03 213450
50112

มีส่วนร่วมในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาและการมีส่วนร่วมของเยาวชน

4.พัฒนาและนำเสนอข้อเสนอแนะที่สมเหตุสมผลเพื่อการปรับปรุงนโยบายการพัฒนาและการมีส่วนร่วมของเยาวชน โดยกำหนดผลประโยชน์ที่เสนอไว้อย่างชัดเจนและถูกต้อง

50112.04 213451

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการแสวงหาความรู้จากหลากหลายช่องทาง

2.    ทักษะการสรุปบทเรียน 

3.    ทักษะการสื่อสาร 

4.    ทักษะการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการขับเคลื่อนนโยบาย 

5.    ทักษะการประสานงานและทำงานร่วมกับผู้อื่น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์เยาวชนภายใต้บริบทของเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง

2.    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบาย

3.    ความรู้เกี่ยวกับการสรุปบทเรียนจากงานวิจัย เอกสาร ตำรา 

4.    ความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการขับเคลื่อนนโยบาย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หลักฐานแสดงประสบการณ์การทำงานกับเยาวชน หรือ การทำงานที่เกี่ยวข้อง

2.    หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

3.    ผลงาน/รางวัล จากการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    หลักฐานการเรียน เช่น วุฒิการศึกษาแสดงการจบการศึกษาในหลักสูตร/คณะที่เกี่ยวข้องกับการ 

ทำงาน หรือ

2.    หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

- N/A - 

(ง)    วิธีการประเมิน

1.    ข้อสอบปรนัย 

2.    ข้อสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน หมายถึง ประเด็นเกี่ยวกับสิทธิและคุณภาพชีวิตภายใต้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรมในสังคมที่เยาวชนอยู่ ซึ่งรวมถึงบริบทด้านความคิดสร้างสรรค์ ความปลอดภัย การศึกษา การจ้างงาน อาหาร ที่อยู่อาศัย การสาธารณสุข สิทธิด้านสุขภาพทางเพศ โอกาสด้านกิจกรรมนันทนาการ และการเคลื่อนไหว เป็นต้น (Youth Assembly for Human Right, 2016)

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมายถึง การร่วมกับตัวแทนเยาวชนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายด้วยการนำความรู้ สถานการณ์ของเยาวชน และบทเรียนจากการทำงานกับเยาวชนมาใช้ เพื่อก่อให้เกิดนโยบายหรือการปรับเปลี่ยนนโยบายการพัฒนาเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของเยาวชน (ชนกาญจน์ พันธุ์เดิมวงศ์, 2559)

การมีส่วนร่วมของเยาวชนในการขับเคลื่อนนโยบาย หมายถึง กระบวนการสร้างความร่วมมือกับเยาวชน ซึ่งรวมถึง การรับฟังความคิดเห็นของเยาวชน การวิพากษ์ การให้ข้อเสนอ การร่วมกำหนดเป้าหมาย และผลลัพธ์ และการส่งเสริมให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และการประเมินผลลัพธ์ของนโยบาย (แบร์รี เช็คโคเวย์, 2564)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ข้อสอบปรนัย

2.    ข้อสอบสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ