หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเยาวชน

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-LCHX-068B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเยาวชน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

เจ้าหน้าที่ให้บริการเยาวชน


1 3412 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ เป็นผู้ที่มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับเยาวชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้  ทำงานร่วมกับทีมที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรม ประสานทรัพยากรในการวางแผน ดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาขีดความสามารถของเยาวชน ประเมินผลลัพธ์ของกิจกรรม และมีส่วนร่วมในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างเยาวชน ครอบครัว และชุมชน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เจ้าหน้าที่ผู้ทำงานกับเยาวชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก -    พ.รบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546-    พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560-    พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไข้ฉบับเพิ่มเติม พ.ศ. 2545-    พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550  

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30321

บริหารจัดการทีมงานที่ร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในงานเยาวชน

1.ประยุกต์ใช้แนวคิดและหลักการจัดการทีมอย่างมีประสิทธิภาพ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเยาวชน

30321.01 213874
30321

บริหารจัดการทีมงานที่ร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในงานเยาวชน

2.บริหารจัดการทีมเพื่อดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับเยาวชน

30321.02 213875
30322

ประสานงานภาคีเครือข่ายและทรัพยากร ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเยาวชน

1.ระบุเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชน

30322.01 213876
30322

ประสานงานภาคีเครือข่ายและทรัพยากร ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเยาวชน

2.ระบุแหล่งทรัพยากรสนับสนุนการสร้างและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของเยาวชน

30322.02 213877
30322

ประสานงานภาคีเครือข่ายและทรัพยากร ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเยาวชน

3.ทำงานร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความเชี่ยวชาญที่จำเป็นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในงานเยาวชนและรักษาเครือข่ายความร่วมมือ

30322.03 213878
30323

สร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจแก่ครอบครัวและชุมชน ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเยาวชน

1.สื่อสารและสร้างความตระหนักรู้แก่ครอบครัวและชุมชนเห็นถึงความสำคัญของกิจกรรมการเรียนรู้ของเยาวชน และรวบรวมการสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้

30323.01 213879
30323

สร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจแก่ครอบครัวและชุมชน ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเยาวชน

2.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว และชุมชนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเยาวชน

30323.02 213880
30324

ร่วมกับเยาวชนในการจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของเยาวชน และส่งเสริมทักษะชีวิต ทักษะทางสังคม และทักษะดิจิทัล

1.ใช้กระบวนการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมในการส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในกลุ่มเยาวชน

30324.01 213881
30324

ร่วมกับเยาวชนในการจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของเยาวชน และส่งเสริมทักษะชีวิต ทักษะทางสังคม และทักษะดิจิทัล

2.สนับสนุนความเป็นผู้นำของเยาวชนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

30324.02 213882
30325

ร่วมกับเยาวชนในการประเมิน ผลลัพธ์กิจกรรมการเรียนรู้ของเยาวชน

1.ร่วมกับเยาวชนในการประเมินผลลัพธ์กิจกรรมการเรียนรู้

30325.01 213883
30325

ร่วมกับเยาวชนในการประเมิน ผลลัพธ์กิจกรรมการเรียนรู้ของเยาวชน

2.ระบุตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ แหล่งข้อมูล และเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินผลกิจกรรม

30325.02 213884
30325

ร่วมกับเยาวชนในการประเมิน ผลลัพธ์กิจกรรมการเรียนรู้ของเยาวชน

3.สรุปความรู้และบทเรียนที่ได้รับจากผู้ปฏิบัติงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม

30325.03 213885

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการสร้างสัมพันธภาพเชิงบวก

2.    ทักษะการสังเกต

3.    ทักษะด้านการจัดกิจกรรมกลุ่ม

4.    ทักษะการประยุกต์ใช้แนวคิดและหลักการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

5.    ทักษะด้านการสื่อสาร 

6.    ทักษะการประสานความร่วมมือ

7.    ทักษะการใช้กิจกรรมเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเยาวชนหรือพัฒนาศักยภาพเยาวชน 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการสร้างสัมพันธ์เชิงบวก

2.    ความรู้แนวคิดการประเมินแบบมีส่วนร่วม 

3.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการติดตามและประเมินผล (M&E) 

4.    ความรู้เกี่ยวกับเอกสารบทเรียนเพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเยาวชน 

5.    ความรู้เกี่ยวกับภาคีเครือข่ายและทรัพยากรในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเยาวชน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หลักฐานแสดงประสบการณ์การทำงานกับเยาวชน หรือ การทำงานที่เกี่ยวข้อง

2.    หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

3.    ผลงาน/รางวัล จากการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    หลักฐานการเรียน เช่น วุฒิการศึกษาแสดงการจบการศึกษาในหลักสูตร/คณะที่เกี่ยวข้องกับการ 

ทำงาน หรือ

2.    หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

- N/A - 

(ง)    วิธีการประเมิน

1.    ข้อสอบปรนัย 

2.    ข้อสอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในงานเยาวชน หมายถึง กระบวนการจัดกิจกรรมนันทนาการหรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่ผู้จัดกิจกรรมนำมาใช้เพื่อให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ และเกิดการพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเยาวชนตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกิจกรรมการเรียนรู้ (ใจทิพย์ ณ สงขลา, 2561)

 สร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจแก่ครอบครัว และชุมชน หมายถึง การสื่อสาร การให้คำปรึกษาที่ทำให้ครอบครัวและชุมชน ทราบถึงวัตถุประสงค์ ประโยชน์ ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และเชื่อมโยงให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเยาวชน (พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์,2561)  


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ข้อสอบปรนัย

2.    ข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ