หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานเยาวชน เยาวชน และจริยธรรมในการทำงานร่วมกับเยาวชน

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-QAUZ-066B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานเยาวชน เยาวชน และจริยธรรมในการทำงานร่วมกับเยาวชน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ทำงานกับเยาวชน


1 3412 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ เป็นผู้ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานเยาวชน การทำงานกับเยาวชน และรักษามาตรฐานทางจริยธรรมและหลักการปกป้องคุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับการทำงานกับเยาวชน มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาเยาวชนเชิงบวก และหลักการมีส่วนร่วมของเยาวชนอย่างมีความหมาย ต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมที่เยาวชนกำลังเผชิญอยู่ สามารถสื่อสารกับเยาวชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจสิทธิพื้นฐานของเยาวชน และตระหนักถึงแนวทางที่พึงปฏิบัติและไม่พึงปฏิบัติ เมื่อมีส่วนร่วมกับเยาวชน ตลอดจนกรอบกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการส่งเสริมความเสมอภาค ความเคารพ และสิทธิเยาวชน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ทำงานกับเยาวชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก -    พ.รบ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546-    พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560-    พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไข้ฉบับเพิ่มเติม พ.ศ. 2545-    พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10111 แสดงความเข้าใจงานเยาวชน

1.ระบุองค์ประกอบสำคัญของงานเยาวชนและค่านิยมงานเยาวชน

10111.01 212290
10112 แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมของเยาวชน

1.ส่งเสริมเยาวชนให้มีความเข้าใจและความสามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม

10112.01 212296
10112 แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมของเยาวชน

2.มีส่วนร่วมกับเยาวชนอย่างมีความเข้าใจ ในการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม

10112.02 212297
10113

แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจเกี่ยวกับหลักจริยธรรมและหลักการปกป้อง คุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับงานเยาวชน

1.นำหลักจริยธรรมและการปกป้องคุ้มครอง มาใช้ในการทำงานร่วมกับงานเยาวชน

10113.01 212300
10113

แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจเกี่ยวกับหลักจริยธรรมและหลักการปกป้อง คุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับงานเยาวชน

2.ส่งเสริมความเข้าใจในหมู่ผู้ทำงานกับเยาวชน เกี่ยวกับสิ่งที่พึงปฏิบัติและไม่พึงปฏิบัติเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับเยาวชน

10113.02 212301
10113

แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจเกี่ยวกับหลักจริยธรรมและหลักการปกป้อง คุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับงานเยาวชน

3.ส่งเสริมความเท่าเทียมในหมู่เยาวชน และเคารพสิทธิของเยาวชน

10113.03 213840
10114

แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในสิทธิขั้นพื้นฐานของเยาวชน

1.ระบุสิทธิเยาวชนตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

10114.01 212306
10114

แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในสิทธิขั้นพื้นฐานของเยาวชน

2.ประยุกต์ใช้หลักการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของเยาวชนในการทำงานกับเยาวชน 

10114.02 212307
10114

แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในสิทธิขั้นพื้นฐานของเยาวชน

3.สนับสนุนเยาวชนให้สามารถบรรลุความต้องการพื้นฐาน 

10114.03 212632
10115
แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจแนวคิดการพัฒนาเยาวชนเชิงบวก 

1.ระบุองค์ประกอบสำคัญสำหรับการพัฒนาเยาวชนเชิงบวก

10115.01 213841
10116

แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจหลักการสำคัญของการมีส่วนร่วมของเยาวชนอย่างมีความหมาย

1.ประยุกต์ใช้หลักการสำคัญของการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายของเยาวชน

10116.01 213842
10116

แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจหลักการสำคัญของการมีส่วนร่วมของเยาวชนอย่างมีความหมาย

2.ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เยาวชนมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย รวมถึงการสนับสนุนให้เยาวชนแสดงออกและทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง

10116.02 213843
10117

แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในกรอบกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องสำหรับการทำงานร่วมกับเยาวชน

1.ระบุกรอบกฎหมายและระเบียบที่สำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานกับเยาวชน

10117.01 213844

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการประยุกต์ใช้หลักจริยธรรมและหลักการการปกป้องคุ้มครองในงานเยาวชน

2.    ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น 

3.    ทักษะการสื่อสาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับงานเยาวชน

2.    ความรู้เกี่ยวกับหลักจริยธรรมและหลักการปกป้องคุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับงานเยาวชน

3.    ความรู้เกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานของเยาวชน

4.    ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเยาวชน ด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม

5.    ความรู้เกี่ยวกับความต้องการพื้นฐาน ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของเยาวชน

6.    ความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายของเยาวชน

7.    ความรู้เกี่ยวกับกรอบกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องสำหรับการทำงานร่วมกับเยาวชน



8.    ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาเยาวชนเชิงบวก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.  หลักฐานแสดงประสบการณ์การทำงานกับเยาวชน หรือ การทำงานที่เกี่ยวข้อง

2.  หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

3.  ผลงาน/รางวัล จากการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.  หลักฐานการเรียน เช่น วุฒิการศึกษาแสดงการจบการศึกษาในหลักสูตร/คณะที่เกี่ยวข้องกับการ 

    ทำงาน หรือ

2.  หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

-- N/A --

(ง)    วิธีการประเมิน

1.    ข้อสอบปรนัย

2.    ข้อสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

เยาวชน เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติ องค์การสหประชาชาติกำหนดให้บุคคลที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 24 ปี เป็นเยาวชน โดยไม่กระทบต่อคำจำกัดความอื่น ๆ ของประเทศสมาชิก (United Nations, n.d.)

การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมของเยาวชน  หมายถึง การเติบโตทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม โดยเยาวชนเป็นช่วงของการเติบโตที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กไปสู่วัยผู้ใหญ่ นำมาซึ่งโอกาสและการพัฒนาศักยภาพให้เติบโตได้อย่างมีคุณภาพ นับเป็นทศวรรษที่สองของชีวิตที่มีลักษณะเฉพาะคือการพัฒนาทางสมองอย่างรวดเร็วและการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และการรับรู้ ความเป็นอิสระและอิทธิพลจากเพื่อนที่มากขึ้น ในขณะเดียวกันมีความเสี่ยงและความเปราะบางในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มขึ้น  การพัฒนาเยาวชนจึงควรมีการสร้างความยืดหยุ่น ทักษะ และความสามารถทางสังคมและอารมณ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการก้าวสู่ชีวิตผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีและมีประสิทธิภาพ (UNICEF, 2023)

หลักปฏิบัติด้านจริยธรรมในการทำงานกับเยาวชน ต้องมีการรักษาเรื่องความปลอดภัยของเยาวชนและผู้ทำงานด้านเยาวชน โดยให้มีความคาดหวังที่ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่มีจริยธรรม ความสัมพันธ์ที่ยอมรับและไม่ยอมรับได้ และขอบเขตการทำงานอย่างมืออาชีพสำหรับผู้ทำงาน หลักการนำทางในการติดต่อสื่อสารกับเยาวชนอย่างมีจริยธรรมรวมถึง ความเสมอภาค เสรีภาพ หน้าที่ในการดูแล ความโปร่งใส การรักษาความลับ ความร่วมมือ ความซื่อสัตย์ การตระหนักรู้ในตัวเอง ขอบเขต ความยุติธรรมทางสังคม และการมีส่วนร่วม (Corney, 2014)

ข้อกำหนดพื้นฐาน 9 ข้อ เพื่อการมีส่วนร่วมของเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพและมีจริยธรรม 

กระบวนการใดก็ตามที่่ต้องการให้วัยรุ่นมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย ต้องปฏิบัติตาม 9 ข้อกำหนด

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพและมีความหมาย ดังต่อไปนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าการมีส่วนร่วมนั้น ไม่ใช่การทำแบบพอเป็นพิธีมีการครอบงำ หรือไม่ปลอดภัยกับวัยรุ่น (UNICEF, 2023)

1)    โปร่งใสและให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน  เข้าถึงได้ คำนึงถึงความหลากหลายและเหมาะกับอายุ

เกี่ยวกับสิทธิในการแสดงความคิดเห็น รวมทั้งวัตถุประสงค์และขอบเขตของโอกาส

การมีส่วนร่วมที่มี

2)    เป็นไปโดยสมัครใจ เยาวชนไม่ควรถูกบังคับให้แสดงความคิดเห็น และต้องมีการแจ้งให้เยาวชน

ทราบว่าสามารถหยุดการมีส่วนร่วมได้ทุกเมื่อ

3)    ให้ความเคารพ ผู้ใหญ่จะต้องยอมรับ เคารพ และสนับสนุนความคิด การกระทำ และสิ่งที่เยาวชนทำเพื่อครอบครัว โรงเรียน วัฒนธรรม หรือสภาพแวดล้อมการทำงาน

4)    บริบทสอดคล้องกับตัวเด็ก เปิดให้เยาวชนได้มีโอกาสใช้ความรู้ ทักษะ และความสามารถและ

แสดงความคิดเห็นในประเด็นที่สำคัญต่อตนเอง

5)    เป็นมิตรต่อเด็ก/เยาวชน สภาพแวดล้อมและวิธีการทำงานควรต้องสอดรับกับขีดความสามารถที่

กำลังพัฒนาและความสนใจของเยาวชน

6)    ไม่แบ่งแยกและเลือกปฏิบัติ การให้โอกาสมีส่วนร่วมต้องรวมถึงกลุ่มเยาวชนชายขอบจากหลาย

กลุ่มอายุ เพศภาวะ ขีดจำกัดด้านความสามารถและที่มา

7)    มีการพัฒนาศักยภาพรองรับ ผู้ใหญ่และเยาวชนควรต้องได้รับการอบรมและคำปรึกษาและมีพี่

เลี้ยงในการสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชน เพื่อให้สามารถทำหน้าที่วิทยากรและกระบวนกรได้

8)    คำนึงถึงความปลอดภัยและการลดความเสี่ยง การแสดงความคิดเห็นอาจมีความเสี่ยง เยาวชน

ควรได้รับการช่วยเหลือในด้านการประเมินและบรรเทาความเสี่ยง และทราบว่าจะขอความช่วยเหลือจากใครได้ถ้าต้องการ

9)    ร่วมรับผิดชอบ เยาวชนควรจะต้องได้รับทราบอย่างชัดเจนว่าการมีส่วนร่วมของตนส่งผลกระทบ

ต่อผลลัพธ์อย่างไร และควรได้รับการสนับสนุนให้ส่งต่อข้อมูลนั้นกับเพื่อนเยาวชนด้วยกัน

หลักการปกป้องคุ้มครองเยาวชน รวมถึงมาตรการในการปกป้องกันเยาวชนให้ปลอดภัยจากอันตราย  พร้อมกับการดำเนินการเพื่อป้องกันการล่วงละเมิดทางร่างกาย ทางเพศ และทางอารมณ์ และการปฏิบัติไม่ดีต่อเยาวชน การปกป้องคุ้มครองยังเกี่ยวข้องกับการให้ความยินยอมเมื่อมีส่วนร่วมกับเยาวชน กำหนดบทบาทและความรับผิดชอบของพี่เลี้ยง ผู้บริการ และศูนย์กลางในการดูแลเยาวชน และสร้างกลไกการส่งต่อสำหรับการสนับสนุนทางจิตใจและรูปแบบอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อเยาวชน (UNICEF, 2020)

สิทธิขั้นพื้นฐานของเยาวชน ครอบคลุมถึงสิทธิในการเข้าถึงเครื่องมือพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต ซึ่งรวมถึงการป้องกันตัวจากการถูกกระทำความรุนแรงทางด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ และการปกป้องคุ้มครองตัวจากการแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการมีสิทธิในการมีชีวิตอยู่อย่างสงบสุขและเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาตนเองและการศึกษา นอกจากนี้เยาวชนยังมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลจากแหล่งสื่อที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตทางร่างกาย จิตใจ การปลูกฝังความรับผิดชอบ และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ควรได้รับการเสริมพลังให้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน เกิดจินตนาการถึงอนาคตที่สดใสหรือความปรารถนาที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้เยาวชนยังมีสิทธิในการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ ให้ข้อเสนอแนะ ประเมินการตัดสินใจ และวิพากวิจารณ์ในเรื่องที่มีผลกระทบต่อตนเองในสังคม (สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ, ม.ป.ป) 

ความต้องการพื้นฐาน ถูกกำหนดไว้เป็นความต้องการที่สำคัญ ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น ความต้องการทางกายภาพ จิตใจ อารมณ์ และสังคม ความต้องการเหล่านี้ได้รับการระบุตามคู่มือการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2566 – 2570 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) ที่แสดงถึงลักษณะของสังคมไทยที่พึงประสงค์ใน 5 หมวด ได้แก่ สุขภาพ มาตรฐานความเป็นอยู่ การศึกษา เศรษฐกิจ และการคุ้มครองทางสังคมและการมีส่วนร่วม ด้วยข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐานเหล่านี้ ประชาชนสามารถทราบสถานการณ์และปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเอง รวมถึงสามารถเข้าถึงสวัสดิการและการสนับสนุนต่าง ๆ จากภาครัฐได้อย่างทันท่วงที (กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, 2565) 

      การพัฒนาเยาวชนเชิงบวก (Positive Youth Development: PYD) เป็นกรอบการทำงานที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของเยาวชน มีความพยายามหลายครั้งในการจำแนกแนวคิดและหลักการการพัฒนาเยาวชนเชิงบวก โดยสรุปมีหลักการนี้

1)      เยาวชนทุกคนมีความสามารถโดยธรรมชาติในการเติบโตและการพัฒนาเชิงบวก

2)    วิถีทางการพัฒนาเชิงบวกจะเป็นไปได้เมื่อเยาวชนได้รับการปลูกฝังอยู่ในความสัมพันธ์ บริบท และระบบนิเวศที่สนับสนุนการพัฒนาของเยาวชน

3)    การส่งเสริมการพัฒนาที่เชิงบวกจะเป็นไปได้มากขึ้นเมื่อเยาวชนมีส่วนร่วมในความสัมพันธ์ บริบท และระบบนิเวศที่หลากหลายและเสริมสร้างที่มีคุณค่า

4)    ชุมชนเป็นระบบการส่งมอบที่เหมาะสมและสำคัญสำหรับการพัฒนาเยาวชนเชิงบวก

5)    เยาวชนต้องเป็นตัวหลักในการพัฒนาของตนเอง (Benson et al., 2007).

การมีส่วนร่วมของเยาวชนอย่างมีความหมาย คือ การมีส่วนร่วมที่มี 1) พื้นที่ปลอดภัยและเวลาในการสร้างและแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ 2) การให้ข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อใช้ประกอบแนวความคิดและสามารถส่งเสียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ 3) ผู้ฟังที่ให้ความเคารพ และเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการรับข้อเสนอแนะของเยาวชน ตลอดจนสามารถตอบสนองต่อมุมมองที่เสนอเหล่านั้นอย่างจริงจัง และ 4) การพิจารณามุมมองของเยาวชนอย่างเหมาะสมและเที่ยงธรรม อีกทั้งตอบกลับความคิดเห็นอย่างทันท่วงทีถึงผลลัพธ์และอิทธิพล ผลที่เกิดขึ้นจากความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าว (UNICEF, 2023)

กฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เพื่อปกป้องและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของเยาวชน 

    1) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child: CRC) คือ ข้อตกลงระหว่างประเทศที่จัดทำขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2532 ซึ่งถือเป็นกฎหมายสากลทั่วโลก และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันรับรองในปี พ.ศ. 2535 ที่รวมหลักการสำคัญ คือ การไม่เลือกปฏิบัติ และเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก โดยมีเนื้อหา 4 ด้าน คือ สิทธิในการอยู่รอด สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และ สิทธิในการมีส่วนร่วม 

    2) พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 สาระสำคัญของ พรบ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เป็นกฎหมายที่มุ่งให้ความคุ้มครองแก่เด็กทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ รวมถึงการสงเคราะห์ การคุ้มครองสวัสดิการ การพัฒนาและฟื้นฟู โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ 

3) พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งขาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มีสาระสำคัญ คือ มาตรา 6 กำหนดให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีหน้าที่ในการพัฒนาเด็กและ

เยาวชน รวมทั้งแก้ไขปัญหาที่อาจมีผลกระทบในทางลบต่อเด็ก และ มาตรา 22 สภาเด็กและเยาวชน กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนครอบคลุมทั้งระดับตำบล/เทศบาล อำเภอ และจังหวัด 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยกรอบกฎหมาย ดังต่อไปนี้ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (1999) และการแก้ไขครั้งที่ 2 ของพ.ศ. 2545 (2002) พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 (2003) พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 (2007) พระราชบัญญัติป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 (2016) และพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 (2017) และอื่น ๆ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบแบบปรนัย

2. ข้อสอบแบบสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ