หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชน

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-VKVQ-054B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ทำงานกับเยาวชน


1 3412 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ผ่านหน่วยสรรถนะนี้ เป็นผู้ที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชน  มีความสามารถในการวิเคราะห์และเอื้ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรและทุนทางสังคมที่จำเป็น สำหรับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชน โดยการประสานงานและทำงานร่วมกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง กับเยาวชน ครอบครัว และชุมชน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ทำงานกับเยาวชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก -    พ.รบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546-    พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20111

แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจแนวคิดเรื่องพื้นที่ปลอดภัย

1.ระบุองค์ประกอบของพื้นที่ปลอดภัย

20112.01 212370
20112

ระบุแหล่งทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชน

1.ระบุทุนทางสังคม ที่เป็นแหล่งทรัพยากรที่จำเป็น      หรับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชน 20114.01 212374
20112

ระบุแหล่งทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชน

2.นำทุนทางสังคมที่เหมาะสมมาใช้สำหรับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชน

20114.02 212375
20113

ร่วมมือกับเยาวชน เครือข่ายและพันธมิตรที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชน

1.ใช้เครื่องมือแผนที่ผลลัพธ์ หรือเครื่องมืออื่น ๆ เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียและทรัพยากร 

20115.01 212376
20113

ร่วมมือกับเยาวชน เครือข่ายและพันธมิตรที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชน

2.ทำงานร่วมกับเยาวชน ครอบครัว บุคคลกลุ่ม องค์กร และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชน 

20115.02 212377
20114

ส่งเสริมครอบครัวและชุมชนให้มีส่วนร่วมในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชน

1.ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชนให้แก่ครอบครัว ชุมชนและเยาวชน

20114.01 213848
20114

ส่งเสริมครอบครัวและชุมชนให้มีส่วนร่วมในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชน

2.ทำงานร่วมกับครอบครัว ชุมชน และเยาวชน ในการจัดตั้งพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชน

20114.02 213849

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- N/A - 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการสืบค้น และทักษะการบันทึก 

2.    ทักษะในการคิดวิเคราะห์ และการจัดหมวดหมู่ข้อมูล 

3.    ทักษะในการจัดทำรายงาน

4.    ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และเครือข่าย 

5.    ทักษะการสื่อสาร 

6.    ทักษะการประสานงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับทุนทางสังคมและทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชน

2.    ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ปลอดภัยของเยาวชน

3.    ความรู้เกี่ยวกับแผนที่ผลลัพธ์ หรือวิธีการอื่นในการรวบรวมข้อมูลและจำแนกผลลัพธ์ 

4.    ความรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในงานเยาวชน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หลักฐานแสดงประสบการณ์การทำงานกับเยาวชน หรือ การทำงานที่เกี่ยวข้อง

2.    หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

3.    ผลงาน/รางวัล จากการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    หลักฐานการเรียน เช่น วุฒิการศึกษาแสดงการจบการศึกษาในหลักสูตร/คณะที่เกี่ยวข้องกับการ 

ทำงาน หรือ

2.    หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

- N/A - 

(ง)    วิธีการประเมิน

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

พื้นที่ปลอดภัย (Safe space) หมายถึง พื้นที่ปลอดภัยซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่ทำให้เยาวชนรู้สึกปลอดภัยทางร่างกายที่จะเดินทางไป รู้สึกปลอดภัยจากอันตรายขณะอยู่ในพื้นที่ รู้สึกปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็นและความคิดของตนโดยไม่มีผลกระทบใด ๆ รู้สึกปลอดภัยเมื่อได้ยินความคิดและแนวคิดของผู้อื่น รู้สึกปลอดภัยและมีอิสระที่จะสร้างแนวคิดใหม่ที่ท้าทายสภาพที่เป็นอยู่และเข้าใจความเสี่ยงของการท้าทายสภาพที่เป็นอยู่และสามารถดำเนินการได้ภายในพื้นที่นั้น (UNICEF, 2023) 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
- N/A - 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
- N/A - 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบแบบปรนัย

2. ข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ