หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้การสื่อสารเชิงบวกเพื่อสร้างความไว้วางใจ

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-GTFM-053B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้การสื่อสารเชิงบวกเพื่อสร้างความไว้วางใจ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ทำงานกับเยาวชน


1 3412 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ เป็นผู้ที่สามารถสื่อสารกับเยาวชน ครอบครัว บุคคล และหน่วยงานบริการที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างความไว้วางใจและส่งเสริมความเข้าใจในการให้บริการที่จำเป็น               ให้ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของเยาวชน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ทำงานกับเยาวชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก -    พ.รบ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546-    พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10121

แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจเทคนิคการสื่อสารเชิงบวกเพื่อเสริมพลังเยาวชน ครอบครัว และชุมชน

1.ใช้เทคนิคการสื่อสารเชิงบวกเพื่อเสริมพลังเยาวชน ครอบครัว และชุมชนให้บรรลุถึงสิทธิเยาวชน

10121.01 212319
10121

แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจเทคนิคการสื่อสารเชิงบวกเพื่อเสริมพลังเยาวชน ครอบครัว และชุมชน

2.ใช้การตั้งคำถาม การฟัง การสังเกต และการสะท้อนกลับที่เหมาะสมในการสื่อสารกับเยาวชน ครอบครัวและชุมชน

10121.02 212320
10121

แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจเทคนิคการสื่อสารเชิงบวกเพื่อเสริมพลังเยาวชน ครอบครัว และชุมชน

3.สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเยาวชน ครอบครัว บุคคล และองค์กร เพื่อทำความเข้าใจความต้องการของเยาวชน และให้บริการแก่เยาวชน 

10121.03 213845
10122

แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจวิธีสร้างความสัมพันธ์เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากเยาวชน

1.ใช้วิธีการที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกและความไว้วางใจจากเยาวชน


10122.01 212326
10122

แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจวิธีสร้างความสัมพันธ์เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากเยาวชน

2.สร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับเยาวชนเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสม

10122.02 212327
10122

แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจวิธีสร้างความสัมพันธ์เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากเยาวชน

3.สังเกตการตอบสนองและการสะท้อนกลับของเยาวชน

10122.03 213846
10122

แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจวิธีสร้างความสัมพันธ์เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากเยาวชน

4.ปรับวิธีการสร้างความสัมพันธ์ให้เหมาะสมตามการตอบสนองและปฏิกิริยาของเยาวชน

10122.04 213847

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- N/A - 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

2.     ทักษะการสร้างความสัมพันธ์เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจ

3.    ทักษะในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.ความรู้เกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์และเทคนิคการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

2.ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการสื่อสารต่างๆ ที่อาจเหมาะสมในการสื่อสารกับเยาวชน รวมถึงช่องทางอิเล็กทรอนิกส์

3.ความเข้าใจถึงความสำคัญของการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด เช่น ภาษากาย และความแตกต่างทางวัฒนธรรมและ/หรือกลุ่ม ที่ใช้การตีความภาษากายในรูปแบบต่างๆ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    หลักฐานแสดงประสบการณ์การทำงานกับเยาวชน หรือ การทำงานที่เกี่ยวข้อง

2.    หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

3.    ผลงาน/รางวัล จากการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    หลักฐานการเรียน เช่น วุฒิการศึกษาแสดงการจบการศึกษาในหลักสูตร/คณะที่เกี่ยวข้องกับการ 

ทำงาน หรือ

2.    หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

- N/A - 

(ง)    วิธีการประเมิน

1.    ข้อสอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

  • การสื่อสารเชิงบวก (Positive communication) คือ รูปแบบการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ทำให้อีกฝ่ายเข้าใจความคิด อารมณ์ ความรู้สึกของผู้สื่อสาร ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดี การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ลดความขัดแย้ง และสร้างแรงจูงใจให้เกิดความร่วมมือ ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญคือ 1) เข้าใจโลกภายในของตนเอง และเข้าใจความแตกต่าง  2) การฟังอย่างใส่ใจ  3) การใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์ในการถ่ายถอดข้อความ (พนม เกตุมาน, 2551)  

  • การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ หมายถึงการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้น เกี่ยวข้องกับการใช้ทักษะการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา ที่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับอายุของเยาวชน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบุคคล กลุ่ม หรือองค์กร ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เสริมความมั่นใจ สร้างความไว้วางใจ และกระตุ้นความร่วมมือ โดยในที่สุดจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและมีความเป็นกันเอง (ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร, 2563) 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
- N/A -

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
- N/A -

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบสัมภาษณ์



2.    ข้อสอบปรนัย



ยินดีต้อนรับ