หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหาร

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-JCMX-001B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหาร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพแม่บ้าน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการเลือกซื้ออาหารแต่ละประเภท การทำความสะอาดและการเก็บรักษาอาหารแต่ละประเภท

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพแม่บ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30121 เลือกซื้ออาหารแต่ละประเภท 1. เลือกประเภทอาหารได้อย่างเหมาะสม 30121.01 135239
30121 เลือกซื้ออาหารแต่ละประเภท 2. ระบุประเภทอาหารได้ 30121.02 135240
30122 ทำความสะอาดและเก็บรักษาอาหารแต่ละประเภท 1. เลือกวิธีทำความสะอาด 30122.01 135241
30122 ทำความสะอาดและเก็บรักษาอาหารแต่ละประเภท 2. จัดเก็บรักษาอาหารแต่ละประเภท 30122.02 135242

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการเลือกประเภทอาหาร

2.  ทักษะการทำความสะอาดวัตถุดิบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  ความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารประเภทต่างๆ

2.  ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดและเก็บรักษาอาหารประเภทต่างๆ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.  แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (เลือกวิธีทำความสะอาดอาหารแต่ละประเภท)

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.  แบบสัมภาษณ์ความรู้ (เลือกประเภทอาหารได้อย่างเหมาะสม)

2.  แบบสัมภาษณ์ความรู้ (ระบุประเภทอาหารได้)

3.  แบบสัมภาษณ์ความรู้ (เลือกวิธีเก็บรักษาอาหารแต่ละประเภท)

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

N/A

(ง) วิธีการประเมิน

1.  การทดสอบการปฏิบัติงาน

2.  การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)     คำแนะนำ

N/A

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

ประเภทอาหาร  หมายถึง  อาหารที่ใช้โดยทั่วไปในครอบครัว  คือ  อาหารสด  อาหารแห้ง  อาหารสำเร็จรูป  และอาหารกระป๋อง อาหารประเภทเครื่องปรุงรส

อาหารสด

ปลา      ต้องดูเหงือกแดง ตาใส เกล็ดเป็นเงาและติดแน่นท้องไม่แตก

เนื้อหมู     มีสีชมพู  มันสีขาว

เนื้อวัว   สีแดงสด มันสีเหลือง

ไก่ – เป็ด ไม่มีรอยเขียวซ้ำตามคอหรือท้อง ขาพับง่าย ผิวใสไม่เป็นเมือก

กุ้ง          หัวติดลำตัว เปลือกเขียว หางไม่แดง ตาใส

หอย        ถ้าหอยสดมือไปถูกตัวจะหุบปากทันที ถ้าเป็นหอยแกะแล้วสีต้องสดใส ไม่มีกลิ่นเหม็น

ผัก ควรเลือกซื้อผักที่สดใหม่ อ่อน ไม่ซ้ำ ไม่มีคราบขาว หรือยาฆ่าแมลง

ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วลันเตา เลือกผักอ่อนๆ มีลักษณะสีเขียว ฝักไม่พอง

กะหล่ำปลี  เลือกหัวที่ใบเกาะกันแน่น ไม่เหี่ยว นิ่ม

แตงกวา  เลือกลูกค่อนข้างยาว ผิวสีเขียว ตึง ริ้วขาว ไม่เหี่ยวนิ่ม

หอมใหญ่ เลือกหัวลักษณะแป้น เปลือกแข็ง ไม่แห้ง

มะนาว    เลือกที่มีเปลือกบาง ลูกกลมแป้นสีใส

มันเทศ     มันฝรั่ง เลือกผิวเรียบ สะอาด หัวไม่หงิกงอ ไม่มีรอยถูกแมลงกัดกิน

ผักใบ     เลือกที่สด ไม่เหี่ยว สีเขียวสดใส ก้านแข็งและไม่ช้ำ

อาหารแห้ง  ต้องเป็นของใหม่สดจากร้านจำหน่ายที่สะอาด ถ้าเป็นของที่ผลิตขึ้นจากโรงงานต้องมีเครื่องหมายรับรองว่าเป็นอาหารที่ได้มาตรฐาน

ข้าวสาร  เลือกซื้อข้าวที่มีสีใส ไม่มีมอด และไม่เหม็นอับ

แป้ง      เลือกชนิดที่เนื้อแป้งสะอาด ไม่มีตัวมอด ไม่มีกลิ่นอับเหม็น

นมสด      ควรซื้อที่ระบุว่าผ่านกระบวนการพาสเจอไรส์ มีทะเบียนการค้า และชื่อบริษัทที่ผลิต วัน เดือน ปี ที่ผลิต  วัน เดือน ปี ที่หมดอายุ

น้ำมัน     ดูความเรียบร้อยของภาชนะที่ใส่ต้องไม่แตก น้ำมันใสสะอาดไม่ขุ่น มีฉลากผลิตภัณฑ์ ระบุ เลขทะเบียนการค้า ส่วนผสม เครื่องหมายมาตรฐาน วัน เดือน ปี ที่ผลิต และหมดอายุ

ถั่วเมล็ดแห้ง เลือกเม็ดใส ขนาดสม่ำเสมอ ไม่มีกลิ่นอับ ไม่ชื้น ไม่เป็นรา

อาหารกระป๋อง  มีเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ บอกแหล่งผลิต น้ำหนัก วิธีใช้ เลขทะเบียนการค้า ฝากระป๋องเรียบ ไม่มีรอยบุบ ไม่เป็นสนิม

อาหารประเภทเครื่องปรุงรส

น้ำปลา น้ำส้ม ซีอิ้ว ดูฉลากระบุแหล่งผลิต ส่วนผสม และวันหมดอายุ

น้ำตาล    ทุกชนิด บรรจุในภาชนะที่แห้งสะอาด ไม่เปรอะเปื้อน

หอม กระเทียม เลือกหัวหรือกลีบสมบูรณ์ ไม่ฝ่อ แห้งสนิทและไม่มีเชื้อรา

พริกไทยป่น พริกแห้ง เลือกซื้อที่ใหม่ มีกลิ่นหอมไม่มีกลิ่นสาบ สีไม่ซีด แห้งสนิท ไม่มีเชื้อรา

กะปิ     เนื้อละเอียด กลิ่นหอม ไม่แฉะหรือแห้งเกินไป ไม่มีละอองคราบจับขาว

กุ้งแห้ง     มีสีใส แห้งสนิท ไม่ชื้น ไม่มีกลิ่นเหม็นสาบ

เกลือ      ควรแห้ง และสะอาด

ไข่     ควรเลือกไข่ที่มีผิวนวล เปลือกไม่มัน สะอาด ไม่มีมูลติดตามเปลือกไข่

ทำความสะอาดอาหาร  หมายถึง  การล้าง  แช่  ผึ่ง  ประเภทผักและเนื้อสัตว์

การเก็บรักษา  หมายถึง  การเก็บระหว่างรอการปรุง  ประกอบด้วย แช่เย็น รวน ผึ่งแดด หรือเก็บในอุณหภูมิห้อง

อาหารสด เนื้อสด ควรล้างทำความสะอาด ซับแห้ง ใส่ถุงพลาสติก เข้าตู้เย็น

ผักผลไม้ เลือกหรือตัดส่วนที่เน่าทิ้ง ล้างสะอาด ถ้าเป็นพวกมีรากหรือผลไม้บางชนิด ต้องแช่น้ำเกลือหรือด่างทับทิม ล้างน้ำสะอาดทิ้งให้สะเด็ดน้ำ เก็บใส่ถุงพลาสติก นำเข้าตู้เย็น

อาหารแห้ง ข้าวสารใส่ภาชนะที่มีฝาปิดสนิท

หอมกระเทียม   เก็บในที่แห้ง ไม่เปียกชื้น หรือแขวนไว้ในที่ลมโกรก

อาหารกระป๋อง  เก็บในที่แห้ง ไม่ถูกแสงแดด อากาศถ่ายเท


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.  การทดสอบการปฏิบัติงาน

2.  สัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ