หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทำความสะอาดเครื่องใช้

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-OCOR-001B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทำความสะอาดเครื่องใช้

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพแม่บ้าน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีทักษะระดับฝีมือเฉพาะทางและเทคนิคในการทำความสะอาดเครื่องใช้  กระบวนการคิดและปฏิบัติที่หลากหลาย สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคควบคู่กับการใช้คู่มือและข้อมูลที่เกี่ยวช้องภายใต้การแนะแนวชองผู้บังคับบัญชา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพแม่บ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10321 ทำความสะอาดเครื่องครัว 1. แยกชนิดของเครื่องครัวได้อย่างถูกต้อง 10321.01 135181
10321 ทำความสะอาดเครื่องครัว 2. ทำความสะอาดเครื่องครัว แต่ละชนิดได้อย่างถูกต้อง 10321.02 135182
10322 ทำความสะอาดอุปกรณ์ทำสวน 1. แยกชนิดของอุปกรณ์ทำสวนได้อย่างถูกต้อง 10322.01 135183
10322 ทำความสะอาดอุปกรณ์ทำสวน 2. ทำความสะอาดอุปกรณ์ทำสวนได้อย่างถูกต้อง 10322.02 135184
10323 ทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า 1. แยกประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง 10323.01 135185
10323 ทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า 2. ทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง 10323.02 135186

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

มีทักษะระดับฝีมือเฉพาะทางและเทคนิคในการทำความสะอาดเครื่องใช้   มีทักษะในการเชื่อมโยงความรู้ในการปฏิบัติงาน ที่รับผิดชอบ มีทักษะด้านความปลอดภัย  การสื่อสารด้วยภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ หรือภาษาในประเทศอาเซียน และมีทักษะพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้ความเข้าใจในหลักการ วิธีการ ในการทำความสะอาดเครื่องใช้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจในภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการประกอบอาชีพ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (ทำความสะอาดเครื่องครัวแต่ละชนิดได้อย่างถูกต้อง)

2. แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (ทำความสะอาดอุปกรณ์ทำสวนได้อย่างถูกต้อง)

3. แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (ทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง)          

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. แบบสัมภาษณ์ (แยกชนิดของเครื่องครัวได้อย่างถูกต้อง)

2. แบบสัมภาษณ์ (แยกชนิดของอุปกรณ์ทำสวนได้อย่างถูกต้อง)

3. แบบสัมภาษณ์ (แยกประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

N/A

(ง) วิธีการประเมิน

1.  การทดสอบการปฏิบัติงาน

2.  การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ทำความสะอาดเครื่องครัว

1.1. ประเภทของเครื่องครัวประกอบไปด้วย สแตนเลสอลูมิเนียมพลาสติก เมลามีน เครื่องแก้วไม้ ทองเหลือง และ เครื่องปั้นดินเผา

1.2. การทำความสะอาดเครื่องครัว การดูแลขั้นพื้นฐานเครื่องครัว  ก่อนใช้งานครั้งแรกและหลังการใช้งานแต่ละครั้งต้องล้างให้สะอาดด้วยน้ำยาล้างจานแบบอ่อนผสมน้ำอุ่น ถ้ามีอาหารติดอยู่บนพื้นผิว ใส่น้ำผสมกับน้ำส้มสายชูลงแล้วต้มเพื่อขจัดเศษอาหารที่เหลือออก

1.2.1 เครื่องครัวสแตนเลส

1.2.1.1 ใช้น้ำยาล้างจานแบบอ่อนผสมน้ำอุ่น ให้ลูบเบาๆ อย่าทำการขัด

1.2.1.2 ล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง

1.2.2 เครื่องครัวอลูมิเนียม

1.2.2.1 หลังจากประกอบอาหารเสร็จแล้ว ทิ้งภาชนะให้เย็นซะก่อน แล้วจึงค่อยล้างทำความสะอาด

1.2.2.2 ล้างน้ำยาล้างจานโดยใช้ฟองน้ำ ผ้าหรือใยขัดที่อ่อนนิ่ม

1.2.2.3 ล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง

1.2.3 เครื่องครัวเงิน

1.2.3.1 ล้างน้ำยาล้างจานโดยใช้ฟองน้ำ ผ้าหรือใยขัดที่อ่อนนิ่ม

1.2.3.2 ใช้น้ำมะขามเปียกหรือน้ำมะนาวผสมขี้เถ้าขัด

1.2.3.3 ล้างออกด้วยน้ำสบู่

1.2.3.4 ล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง

1.2.4 เครื่องครัวพลาสติก

1.2.4.1 ล้างน้ำยาล้างจานโดยใช้ฟองน้ำ ผ้าหรือใยขัดที่อ่อนนิ่ม

1.2.4.2 ล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง

1.2.5 เครื่องครัวเมลามีน

1.2.5.1 ล้างน้ำยาล้างจานโดยใช้ฟองน้ำ ผ้าหรือใยขัดที่อ่อนนิ่ม

1.2.5.2 ล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง

1.2.6 เครื่องครัวแก้ว

1.2.6.1 ล้างน้ำยาล้างจานผสมน้ำอุ่นโดยใช้ฟองน้ำ ผ้าหรือใยขัดที่อ่อนนิ่ม

1.2.6.2 ล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง

1.2.7 เครื่องครัวไม้

1.2.7.1 ทำความสะอาดทันทีเมื่อใช้งานเสร็จ

1.2.7.2 ล้างน้ำยาล้างจานโดยใช้ฟองน้ำ ผ้าหรือใยขัดที่อ่อนนิ่ม

1.2.7.2 ล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วใช้ผ้าเช็ดแล้วผึ่งแห้ง

1.2.8 เครื่องครัวทองเหลือง

1.2.8.1 ล้างน้ำยาล้างจานโดยใช้ฟองน้ำ ผ้าหรือใยขัดที่อ่อนนิ่ม

1.2.8.2 ใช้น้ำมะขามเปียกหรือน้ำมะนาวผสมขี้เถ้าขัด

1.2.8.3 ล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง

 1.2.9 เครื่องครัวเครื่องปั้นดินเผา

1.2.9.1 ล้างน้ำยาล้างจานโดยใช้ฟองน้ำ ผ้าหรือใยขัดที่อ่อนนิ่ม

1.2.9.2 ล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง

2. ทำความสะอาดอุปกรณ์ทำสวน

2.1. ประเภทของอุปกรณ์ทำสวน ประกอบไปด้วย ประเภทกรรไกร ประเภทเลื่อย ประเภทถังพ่น  ประเภทมีด และเครื่องขุด

2.2. การทำความสะอาดอุปกรณ์ทำสวน

2.2.1 ประเภทกรรไกร

2.2.1.1 ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่จนสะอาด ใช้ฝอยขัดหรือแปรงขัด  

2.2.1.2 ล้างด้วยน้ำสะอาด  เช็ดให้แห้งทาน้ำมันป้องกันสนิม

2.2.1.3 เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่ซอง  ปลอก  หรือเก็บไว้ในตู้ที่มิดชิด ไม่วางไว้ ในที่ลมพัดผ่าน  เพราะความชื้นจะทำให้เกิดสนิม

2.2.2 ประเภทเลื่อย

2.2.2.1 ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่จนสะอาด ใช้ฝอยขัดหรือแปรงขัด  

2.2.2.2 ล้างด้วยน้ำสะอาด  เช็ดให้แห้งทาน้ำมันป้องกันสนิม

2.2.2.3 เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่ซอง  ปลอก  หรือเก็บไว้ในตู้ที่มิดชิด  ไม่วางไว้ในที่ลมพัดผ่าน  เพราะความชื้นจะทำให้เกิดสนิม

2.2.3  ประเภทถังพ่น

2.2.3.1 ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่จนสะอาด ใช้ฝอยขัดหรือแปรงขัด  

2.2.3.2 ล้างด้วยน้ำสะอาด  เช็ดให้แห้งทาน้ำมันป้องกันสนิม

2.2.3.3 ใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง แล้วคว่ำถังเอาไว้

2.2.4 ประเภทมีดและเครื่องขุด

2.2.4.1 ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่จนสะอาด ใช้ฝอยขัดหรือแปรงขัด  

2.2.4.2 ล้างด้วยน้ำสะอาด  เช็ดให้แห้งทาน้ำมันป้องกันสนิม

2.2.4.3 ไม่วางไว้ในที่ลมพัดผ่าน  เพราะความชื้นจะทำให้เกิดสนิม

3. ทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า        

3.1 ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าประกอบด้วย  ให้แสงสว่าง  ให้ภาพและเสียง  ให้ความร้อน  ให้ความเย็นใช้ประกอบอาหาร

3.2 การทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า

3.2.1 เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้แสงสว่าง เช่น โคมไฟระย้า    

3.2.1.1 ปิดสวิตซ์ไฟโคมไฟระย้าที่ต้องการทำความสะอาด

3.2.1.2 ใช้เทปกาวปิดสวิตซ์โคมไฟระย้า เพื่อป้องกันไม่ให้มีใครเปิดโคมไฟระย้าในขณะที่ทำความสะอาด

3.2.1.3 ใช้ถุงพลาสติกครอบดวงไฟ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าหลอดไฟ

3.2.1.4 ทำความสะอาดด้วยไม้ขนไก่  เพื่อป้องกันฝุ่นเข้าไปจับอีกรอบเพราะว่าไฟฟ้าสถิตจะดูดสิ่งสกปรกเข้าไปแล้วใช้ผ้าซุบน้ำหมาดๆ เช็ด

3.2.1.5 ผสมน้ำยาสำหรับทำความสะอาดคริสตัล และสารละลายสำหรับทำคริสตัลให้แวว

3.2.1.6 ฉีดสเปรย์ น้ำยา ลงบนโคมไฟระย้า และควรระมัดระวังไม่ให้ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าเปียกหลังจากนั้นทำความสะอาดชิ้นส่วนที่ไม่ใช่คริสตัล ด้วยผ้าที่นุ่มจุ่มลงไปในน้ำเพื่อนทำความสะอาด วัสดุ ที่เป็นทองเหลือง สแตนเลส ฯลฯ

3.2.1.7 ตรวจสอบความสะอาดและความเรียบร้อยของโคมไฟระย้า แล้วทิ้งไวประมาณ  24-48 ชม. ก่อนที่จะเปิดใช้โคมไฟระย้า

3.2.2 เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ภาพและเสียง เช่น โทรทัศน์

3.2.2.1 ปิดสวิตซ์โทรทัศน์ ถอดปลั๊กไฟโทรทัศน์

3.2.2.2 ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเครื่องโทรทัศน์ ส่วนจอภาพควรใช้ผงซักฟอกอย่างอ่อน หรือ น้ำยาล้างจานผสมกับน้ำ เช็ดเบาๆ จากนั้นเช็ดด้วยผ้านุ่มให้แห้ง

3.2.2.3 สำหรับฝุ่นที่อยู่ภายในเครื่องให้ใช้ผ้าซุบน้ำหรือว่าผ้าแช่น้ำบิดให้หมาด มาคลุมที่ช่องด้านหลังโทรทัศน์ไว้

3.2.3.4 ใช้อุปกรณ์เป่าเป่าจากด้านล่างขึ้นไป  แต่ถ้าไม่มีให้ใช้ไดร์เป่าผมใช้ปรับแบบเย็น  ฝุ่นจะไปเกาะผ้าทำแบบนี้หลายๆ ครั้งจนฝุ่นหมด  จะทำให้โทรทัศน์มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น

3.2.3 เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อน  เช่น  กระติกน้ำร้อน

3.2.3.1 ถอดปลั๊กไฟของกระติกน้ำร้อน

3.2.3.2 ตัวและฝากระติก ใช้ผ้าชุบน้ำ บิดให้หมาดแล้วเช็ดอย่างระมัดระวัง

3.2.3.3 ฝาปิดด้านใน ใช้น้ำหรือน้ำยาล้างจานล้างให้สะอาด

3.2.3.4 ตัวกระติกด้านใน ใช้ฟองน้ำชุบน้ำเช็ดให้ทั่ว ล้างให้สะอาดด้วยน้ำ

3.2.3.5 อย่าราดน้ำลงบนสวนอื่นของตัวกระติก นอกจากภายในกระติกเท่านั้น อย่าใช้ของมีคมหรือฝอยขัดหม้อขูดหรือขัดตัวกระติกด้านใน เพราะจะทำให้สารเคลือบหลุดออกได้

3.2.4 เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความเย็น  เช่น  ตู้เย็น

3.2.4.1 ถอดปลั๊กไฟของตู้เย็นออกก่อน

3.2.4.2 เอาของที่เก็บไว้ในตู้เย็นออกจากตู้ให้หมด

3.2.4.3 ถอดชิ้นส่วนภายในของตู้เย็นที่สามารถถอดได้ออกมาล้างด้วยน้ำ

3.2.4.4 ใช้ผ้านุ่ม ชุบน้ำสบู่เช็ดทำความสะอาดตู้เย็นทั้งภายในและภายนอก

3.2.4.5 ใช้ผ้าชุบน้ำที่สะอาดเช็ดอีกรอบและตามด้วยใช้ผ้าแห้งเช็ดเพื่อซับน้ำและสบู่ออกให้หมด

3.2.4.6 ใช้ผ้าสะอาดเช็ดชิ้นส่วนที่ถอดออกมาล้างให้แห้งแล้วประกอบคืนเข้าไปในตู้เย็น  แล้วเสียบปลั๊กไฟไว้เหมือนเดิม

3.2.4.7 ในการทำความสะอาดตู้เย็นควรทำเป็นประจำเดือนละครั้ง

3.2.4.8 ในการทำความสะอาดตู้เย็นห้ามใช้สารประเภทน้ำมันเบนซิน ทินเนอร์ หรือ  แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดตู้เย็นโดยเด็ดขาด

3.2.5 เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทใช้ประกอบอาหาร เช่น เตาแม่เหล็กไฟฟ้า

3.2.5.1 ปิดสวิตซ์และถอดปลั๊กไฟเตาแม่เหล็กไฟฟ้า

3.2.5.2  เตรียมน้ำร้อนครึ่งไว้ครึ่งชาม จากนั้นใส่น้ำยาล้างจาน 2 ช้อนชาและคนให้เข้ากัน

3.2.5.3 นำผ้าขี้ริ้วชุบลงไปในน้ำที่ผสมน้ำยาล้างจานไว้แล้ว

3.2.5.4 โรยเบกกิ้งโซดาลงไปบนเตาแม่เหล็กไฟฟ้าให้ทั่ว

3.2.5.5 บิดผ้าขี้ริ้วที่ชุบน้ำยาให้พอหมาด แล้วเช็ดลงไปบนเบกกิ้งโซดาที่โรยไว้

3.2.5.6 ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แต่ถ้ามีคราบติดแน่น ก็ให้ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง

3.2.5.7 จากนั้นให้ใช้ผ้าผืนเดิมเช็ดเตาเป็นรูปตัว S ตั้งแต่ด้านบนลงมาด้านล่าง

3.2.5.8 นำฟองน้ำไปชุบน้ำเย็น แล้วใช้เช็ดเก็บรายละเอียดสิ่งสกปรกเล็กๆ น้อยๆ ที่ยังตกค้างอยู่ให้หมดไป

3.2.5.9 ใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์มาเช็ดให้เตาแห้งและเงา


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.  การสังเกตการปฏิบัติงาน

2.  การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ