หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประยุกต์ใช้ข้อมูล แนวโน้มแฟชั่นเครื่องหนังในการออกแบบให้ตรงกับแนวคิดและอัตลักษณ์ของแบรนด์

สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DAC-NQNK-001B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประยุกต์ใช้ข้อมูล แนวโน้มแฟชั่นเครื่องหนังในการออกแบบให้ตรงกับแนวคิดและอัตลักษณ์ของแบรนด์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักออกแบบแฟชั่นเครื่องหนัง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่ทำหน้าที่ประยุกต์ใช้แนวโน้มแฟชั่นมาปรับใช้ในการออกแบบให้ตรงกับแนวคิดของแบรนด์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักออกแบบแฟชั่นเครื่องหนัง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10131 วิเคราะห์ข้อมูลแนวโน้มแฟชั่นเครื่องหนังให้ตรงกับแนวคิดและอัตลักษณ์ของแบรนด์ 1. รวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลเปรียบเทียบกับข้อมูลแนวโน้มที่รวบรวมไว้ 151154
10131 วิเคราะห์ข้อมูลแนวโน้มแฟชั่นเครื่องหนังให้ตรงกับแนวคิดและอัตลักษณ์ของแบรนด์ 2. เลือกเรื่องราวแนวโน้มแฟชั่นที่เหมาะสม สำหรับผลิตภัณฑ์ / แบรนด์ผลิตภัณฑ์ 151155
10132 สรุปแนวโน้มแฟชั่นเครื่องหนังที่เหมาะสมกับแนวคิดและอัตลักษณ์ของแบรนด์ 1. ลำดับความสำคัญของเรื่องราว ดึงมาเป็นใจความสำคัญ (จากเทรนด์)ที่ใช้ออกแบบ 151156
10132 สรุปแนวโน้มแฟชั่นเครื่องหนังที่เหมาะสมกับแนวคิดและอัตลักษณ์ของแบรนด์ 2. สร้าง Mood Board จากเทรนด์ที่เลือก 151157

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการทำบอร์ดแสดงแนวโน้มแฟชั่นปัจจุบันที่เลือกมาใช้

2. ปฏิบัติการทำบอร์ดเปรียบเทียบแนวโน้มแฟชั่นฤดูกาลที่ผ่านมากับปัจจุบันเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงและการเชื่อมโยง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การวิเคราะห์และเลือกใช้แนวโน้มแฟชั่น

2. การตีความแนวโน้มแฟชั่น

3. การประยุกต์ใช้แนวโน้มแฟชั่น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. ฐานข้อมูลแนวโน้มแฟชั่นที่ใช้ในการเปรียบเทียบ

          2. เอกสารแสดงการใช้แนวโน้มแฟชั่นที่เลือกมาประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมกับแบรนด์ที่ออกแบบ

          3. รูปแบบกระดานแสดงแนวความคิด ( Mood Board) ที่ประยุกต์มาจากมาแนวโน้มแฟชั่น

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารหรือข้อมูลการนำเสนอจากการประยุกต์ใช้แนวโน้มแฟชั่น ที่ผ่านการเห็นชอบจากฝ่ายบริหาร

          2. เอกสารแหล่งข้อมูลแนวโน้มแฟชั่นที่เลือกมาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับแบรนด์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ประเมินจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านความรู้และหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน

(ง) วิธีการประเมิน

          1. พิจารณาหลักฐานความรู้

          2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

          สมรรถนะนี้ครอบคลุมความรู้ ความเข้าใจและทักษะการวิเคราะห์ การตีความและการนำแนวโน้มแฟชั่นมาใช้ให้เหมาะสมกับการออกแบบ

          (ก) คำแนะนำ

ผู้รับการประเมินจะต้องตรวจสอบเกี่ยวกับ

          1. แหล่งข้อมูลแนวโน้มแฟชั่น

          2. แนวโน้มแฟชั่นที่เหมาะสมกับงานออกแบบ

          3. สีจากการวิเคราะห์แนวโน้มแฟชั่น

          4. วัสดุจากการวิเคราะห์แนวโน้มแฟชั่น

          5. รายละเอียดจากการวิเคราะห์แนวโน้มแฟชั่น

          6. เส้นกรอบนอกจากการวิเคราะห์แนวโน้มแฟชั่น

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. ตรวจสอบการปฏิบัติงานจากวิธีการเลือกใช้แนวโน้มแฟชั่นและสรุปข้อมูลแนวโน้มแฟชั่น

          2. ตรวจสอบการประยุกต์ใช้แนวโน้มแฟชั่น มาออกแบบให้เหมาะสมกับแนวคิดของแบรนด์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. สังเกตการปฏิบัติงานจากวิธีการเลือกใช้แนวโน้มแฟชั่นที่เหมาะสมกับแบรนด์

2. พิจารณาหลักฐานกระดานแสดงแนวความคิดที่ประยุกต์มาจากแนวโน้มแฟชั่น

3. สัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ