หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตามการปฏิบัติงานตามหลักอาชีวอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน และนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-FHLT-223A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตามการปฏิบัติงานตามหลักอาชีวอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน และนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

- คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม สาขาการแปรรูปสัตว์น้ำ อาชีพนักบริหารการผลิต (การผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท) ชั้น 5



- คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม สาขาการแปรรูปสัตว์น้ำ อาชีพนักบริหารงานควบคุมและประกันคุณภาพ (การผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท) ชั้น 5



- คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม สาขาการแปรรูปสัตว์น้ำ อาชีพนักวิจัยและพัฒนา (การผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท) ชั้น 5



- คุณวุฒิวิชาชีพสาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม สาขาการแปรรูปสัตว์น้ำ อาชีพนักวิจัยและพัฒนา (การผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท) ชั้น 6



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีความรู้และทักษะในการจัดทำระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และระบบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่งานที่รับผิดชอบ ติดตามการใช้งานของแผนจัดการความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และด้านสิ่งแวดล้อมที่จัดทำขึ้น และมีส่วนร่วมในจัดทำแผนฉุกเฉินด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และแผนการป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (TSIC : C1022) 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
- กลุ่มอาชีพการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสด แช่เย็นหรือแช่แข็ง (TSIC : C1021)- กลุ่มอาชีพการแปรรูปและการถนอมผลไม้และผัก (TSIC : C1030)- กลุ่มอาชีพการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น (TSIC : C1079)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560- พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535- พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535- พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
002021 ติดตามการปฏิบัติงานตามระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานในพื้นที่งานที่รับผิดชอบ 0020211 รายงานผลและสรุปข้อมูลที่เกี่ยงข้องด้านอาชีวนามัยและความปลอดภัยในการทำงานถูกรวบรวมและสรุปผลรายงานอย่างถูกต้องและครบถ้วน 002021.01 89170
002021 ติดตามการปฏิบัติงานตามระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานในพื้นที่งานที่รับผิดชอบ 0020212 แผนฉุกเฉินด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานและแผนป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถูกจัดทำร่วมกับทีมงานที่เกี่ยวข้อง 002021.02 89171
002021 ติดตามการปฏิบัติงานตามระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานในพื้นที่งานที่รับผิดชอบ 0020213 การซ้อมแผนฉุกเฉินได้รับการประเมินผลอย่างถูกต้อง 002021.03 89172
002022 จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานตามระบบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่งานที่รับผิดชอบ 0020211 กิจกรรมและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้รับการประเมินและวิเคราะห์อย่างถูกต้องตามหลักการประเมินความเสี่ยง(risk assessment) 002022.01 89173
002022 จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานตามระบบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่งานที่รับผิดชอบ 0020212 แผนป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถูกจัดทำร่วมกับทีมงานที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง 002022.02 89174
002022 จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานตามระบบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่งานที่รับผิดชอบ 0020213 แผนป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถูกนำไปไปอบรมหรือให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 002022.03 89175
002022 จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานตามระบบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่งานที่รับผิดชอบ 0020214 รายงานผลและสรุปข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อมถูกรวบรวมและสรุปผลรายงานอย่างถูกต้องและครบถ้วน 002022.04 89176
002022 จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานตามระบบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่งานที่รับผิดชอบ 0020215 เข้าร่วมการทบทวนและปรับปรุงแผนจัดการความเสี่ยงได้รับการทบทวนและปรับปรุงอย่างถูกต้องและตามรอบเวลา 002022.05 89177

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


          - การถ่ายทอดความรู้




          - การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผล




          - การนำเสนอข้อมูลและรายงานผล    

(ข) ความต้องการด้านความรู้


          - การจัดการสิ่งแวดล้อม




          - การจัดการของเสีย




          - ความรู้เบื้องต้นด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม




          - กฎหมายด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเบื้องต้น




          - ความเสี่ยงของการทำงานงาน/ลักษณะงาน/สถานที่ทำงานต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน




          - หลักการประเมินความเสี่ยง (risk assessment)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




       1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. เอกสารประเมินผลจากการสัมภาษณ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



- การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน และ หลักฐานความรู้ตามที่ระบุ



 - การประเมินหน่วยสมรรถนะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์ ต้องมีสถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวน และมีสิ่งอำนวยความสะดวก ที่พร้อมใช้งานตามวิธีการประเมิน



      - เจ้าหน้าที่สอบต้องมีประสบการณ์ในหน่วยสมรรถนะนี้



  (ง) วิธีการประเมิน




  • การสอบข้อเขียน    

  • การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)


- แผนจัดการความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และสิ่งแวดล้อม หมายถึงการควบคุม การลด และการป้องกันความเสี่ยง




- หลักการประเมินความเสี่ยง (risk assessment) หมายถึง การประเมินความเสี่ยง เป็นขั้นตอนที่ระบุลำดับความเสี่ยงของอันตรายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของงานที่ครอบคลุมสถานที่ เครื่องจักร อุปกรณ์ บุคลากร และขั้นตอนการทำงาน ที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยความเสียหายต่อทรัพย์สิน ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งต่าง ๆ รวมกัน




- รายงานผลและสรุปข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ จำนวนวันที่ไม่มีอุบัติเหตุ การแยกขยะผิด การจัดการขยะไม่ถูกต้อง เป็นต้น




- กิจกรรม หรือ แผนจัดการความเสี่ยง ได้แก่ กิจกรรมการลดอุบัติเหตุของหน่วยงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายหลักของบริษัท กิจกรรมด้านพลังงาน กิจกรรมความปลอดภัยของพนักงานในที่ทำงาน




- ทีมงานที่เกี่ยวข้องกับแผนฉุกเฉิน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) ผู้จัดการฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายควบคุมคุณภาพและประกันคุณภาพ ฝ่ายผลิต ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ช่าง ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ พยาบาล



ความถูกต้องของการซ้อมแผนฉุกเฉิน ได้แก่ การอพยพช้า การเดินเพื่อไปจุดรวมผลที่ไม่เป็นระเบียบ



- ทีมงานซ้อมแผนฉุกเฉิน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) เจ้าหน้าที่ดับเพลิง ผู้อำนวยสถานการณ์ฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ค้นหา พยาบาล คนขับรถ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย



- ความเสี่ยงของการทำงาน/ลักษณะงาน/สถานที่ทำงานที่ส่งผลต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ การทำงานกับสารเคมี การทำงานในลักษณะท่าทางที่ไม่เหมาะสม การตรวจคลื่นหัวใจสำหรับคนทำงานในสภาพแวดล้อมที่เย็น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ประเมินผลทางด้านความรู้ ทักษะและเจตคติของการติดตามการปฏิบัติงานตามหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีการสอบข้อเขียน และ การสัมภาษณ์ ตามรายละเอียดที่กำหนดในคู่มือ



ยินดีต้อนรับ