หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมตัวอย่างสำหรับการทดสอบคุณภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-QVAS-245A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมตัวอย่างสำหรับการทดสอบคุณภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม สาขาการแปรรูปสัตว์น้ำ อาชีพผู้ปฏิบัติงานควบคุมและประกันคุณภาพ (การผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท) ชั้น 3



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีความรู้ สมรรถนะทางเทคนิค และทักษะทางเทคนิคในการทำงานเกี่ยวกับการเตรียมการสุ่มเก็บตัวอย่าง เตรียมการทดสอบตัวอย่าง ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่าง และจัดเตรียมตัวอย่างสำหรับการทดสอบคุณภาพตามมาตรฐานการทดสอบผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท รวมถึงสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ตัดสินใจ วิเคราะห์ข้อมูลและแก้ไขสาเหตุขั้นต้นของปัญหา ภายใต้การแนะแนวของหัวหน้างานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (TSIC : C1022)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 349) พ.ศ. 2556 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการ    ผลิต และการเก็บรักษาอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำและชนิดที่ปรับกรด- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 355) พ.ศ. 2556 เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
202011 เตรียมการสุ่มเก็บตัวอย่างและเตรียมการทดสอบตัวอย่าง สำหรับผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 2020111 เครื่องมือ/อุปกรณ์/ภาชนะที่ใช้ในการสุ่มเก็บตัวอย่างและทดสอบตัวอย่างรวมถึงสารเคมีสำหรับการทดสอบ ถูกจัดเตรียมอย่างถูกต้องและครบถ้วน ตามขั้นตอนการปฏิบัติงานในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 202011.01 89329
202011 เตรียมการสุ่มเก็บตัวอย่างและเตรียมการทดสอบตัวอย่าง สำหรับผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 2020112 ป้ายชี้บ่งตัวอย่างที่ใช้ในการสุ่มเก็บตัวอย่างถูกจัดเตรียมอย่างถูกต้องและครบถ้วน 202011.02 89330
202012 สุ่มเก็บตัวอย่างและจัดเตรียมตัวอย่างตามมาตรฐานการทดสอบผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 2020121 ตัวอย่างถูกสุ่มเก็บตามวิธีการสุ่มตัวอย่างที่กำหนดและถูกจัดเตรียมอย่างถูกต้องและครบถ้วนตามขั้นตอนการปฏิบัติงานในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 202012.01 89331
202012 สุ่มเก็บตัวอย่างและจัดเตรียมตัวอย่างตามมาตรฐานการทดสอบผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 2020122 จำนวนตัวอย่างและความถี่ในการสุ่มเก็บตัวอย่างถูกดำเนินการตามที่กำหนดในขั้นตอนการปฏิบัติงานในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน 202012.02 89332

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


    




  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณลักษณะด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท    

  • ความรู้การคำนวณทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น    

  • ทักษะการใช้เครื่องคำนวณ    

  • ความรู้และทักษะการสื่อสารด้วยภาษาไทยได้ดี และคำศัพท์ภาษาอังกฤษเบื้องต้นที่ใช้ในงานอาชีพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • การใช้เครื่องมือ / อุปกรณ์ / ภาชนะ ในการสุ่มเก็บตัวอย่าง    

  • วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่าง    

  • การทำความสะอาด ตรวจสอบความผิดปกติ จัดเก็บและดูแลรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ และภาชนะที่ใช้ในการสุ่มเก็บตัวอย่าง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ชนิดและลักษณะของวัตถุดิบ / สินค้าระหว่างการผลิต / สินค้าสำเร็จรูป / บรรจุภัณฑ์    

  • เครื่องมือ / อุปกรณ์ / ภาชนะ ที่ใช้ในการสุ่มเก็บตัวอย่าง     

  • เครื่องมือ / อุปกรณ์ / ภาชนะ สำหรับการเตรียมตัวอย่างเพื่อทดสอบคุณภาพ  

  • การทำความสะอาด ตรวจสอบความผิดปกติ จัดเก็บและดูแลรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ และภาชนะที่ใช้ในการสุ่มเก็บตัวอย่าง    

  • หลักการสุ่มตัวอย่างเบื้องต้น    

  • สารเคมีที่ใช้สำหรับการทดสอบตัวอย่าง    

  • ป้ายชี้บ่งตัวอย่าง    

  • การเตรียมตัวอย่างสำหรับการทดสอบ    

  • การเตรียมสารเคมีสำหรับการทดสอบ    

  • การเตรียมเครื่องมือ / อุปกรณ์ / ภาชนะสำหรับการทดสอบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)     




  • เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการตามที่กำหนดในรายละเอียดกลุ่มบุคคลในอาชีพ    

  • เอกสารประเมินผลจากการสาธิตการทำงาน




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)     




  • เอกสารรับรองผลการศึกษาตามที่กำหนดในรายละเอียดกลุ่มบุคคลในอาชีพ    

  • เอกสารรับรองการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS) การใช้เครื่องมือตรวจวัดคุณภาพ เป็นต้น    

  • เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน




(ค) คำแนะนำในการประเมิน    




  • การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ    

  • การประเมินหน่วยสมรรถนะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนและการสาธิตการทำงาน ต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม สถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวน และมีเครื่องมือ อุปกรณ์ สารเคมี และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่พร้อมใช้งานตามวิธีการประเมิน    

  • ในการสาธิตการทำงาน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การทดสอบคุณภาพที่กำหนดมาให้ และส่วนที่ 2 การทดสอบคุณภาพตามตำแหน่งงาน ซึ่งผู้รับการประเมินสามารถเลือกได้ตามหน้าที่งานและความชำนาญงาน    

  • ในการทดสอบผู้รับการประเมินสามารถเลือกตัวอย่างเป็นวัตถุดิบหรือสินค้าได้ตามความถนัด    

  • เจ้าหน้าที่สอบต้องมีประสบการณ์ในหน่วยสมรรถนะนี้




  (ง) วิธีการประเมิน    




  • การสอบข้อเขียน    

  • การสาธิตการทำงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

1) ชนิดและลักษณะของวัตถุดิบ / สินค้าระหว่างการผลิต / สินค้าสำเร็จรูป / บรรจุภัณฑ์  ได้แก่    




  • วัตถุดิบสัตว์น้ำ ประกอบด้วย กุ้ง หมึก ปลา ปู หอย    

  • ส่วนผสม ได้แก่ น้ำมัน เกลือ เป็นต้น    

  • ผลิตภัณฑ์ระหว่างกระบวนการผลิต/สินค้าระหว่างกระบวนการผลิต    

  • ผลิตภัณฑ์สุดท้าย/สินค้าสำเร็จรูป    

  • บรรจุภัณฑ์ ได้แก่ กระป๋อง ถุงเพาซ์ ถ้วยพลาสติก กล่องกระดาษ ฉลากสินค้า เป็นต้น    

  • น้ำแข็ง    

  • สารเคมี ได้แก่ คลอรีน แอลกอฮอล์ เป็นต้น




2) เครื่องมือ / อุปกรณ์ / ภาชนะ ที่ใช้ในการสุ่มเก็บตัวอย่าง และ สำหรับการเตรียมตัวอย่างเพื่อทดสอบคุณภาพ ประกอบด้วย เลื่อยไฟฟ้า สว่านเจาะ มีด เขียง ตะกร้า กระบะ กะละมัง ถาดพลาสติก ถาดสแตนเลส ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก กล่องพลาสติก กล่องโฟม เป็นต้น




3) การสุ่มตัวอย่าง เป็นวิธีการที่ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันของการที่แต่ละหน่วยของประชากรจะถูกเลือกมาเป็นตัวอย่าง หรือแต่ละหน่วยของตัวอย่างจะถูกจัดเข้าไว้ในกลุ่มของการศึกษา




4) การสุ่มเก็บตัวอย่างสำหรับการทดสอบ ให้อ้างอิงตามมาตรฐานการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แผนและวิธีการชักตัวอย่างเพื่อการตรวจสอบลักษณะเชิงคุณภาพ มอก. 465 เล่ม 1-2554  หลักการ MIL.STD. 105E เป็นต้น




5) ป้ายชี้บ่งตัวอย่าง ประกอบด้วย หัวข้อดังนี้ ผู้ขาย วันที่รับวัตถุดิบ ชื่อวัตถุดิบ ขนาด ปริมาณ รุ่น (Lot) วันที่ผลิต ผู้เตรียม/ผู้นำส่ง และ เวลาที่สุ่ม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ประเมินผลทางด้านความรู้ ทักษะและเจตคติของการจัดเตรียมตัวอย่างสำหรับการทดสอบคุณภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท โดยวิธีการทดสอบข้อเขียน และ การสาธิตการทำงาน ตามรายละเอียดที่กำหนดในคู่มือ



 


ยินดีต้อนรับ