หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนและออกแบบระบบไฟฟ้าและความปลอดภัยภายในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AQA-4-063ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนและออกแบบระบบไฟฟ้าและความปลอดภัยภายในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพผู้เลี้ยงกุ้งทะเล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย สามารถคำนวณกำลังไฟฟ้าทั้งระบบในฟาร์มกุ้งทะเล และสร้างความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าปกติและไฟฟ้าสำรอง 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          - ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงทะเล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 08 Unit Group 1312 (Aquaculture and fisheries production managers)                                    6221 (Aquaculture workers)                                    9216 (Fishery and aquaculture labourers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30204.01 คำนวณกำลังไฟฟ้าทั้งระบบในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลได้ 1.1 อธิบายคุณลักษณะเฉพาะ (specification) เครื่องมือและอุปกรณ์ประเภทต่างๆ ที่ใช้ไฟฟ้าในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลทั้งระบบ 30204.01.01 55898
30204.01 คำนวณกำลังไฟฟ้าทั้งระบบในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลได้ 1.2 ระบุวิธีการคำนวณกำลังไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้าในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล 30204.01.02 55899
30204.01 คำนวณกำลังไฟฟ้าทั้งระบบในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลได้ 1.3 คำนวณกำลังไฟฟ้า 30204.01.03 55900
30204.02 ใช้และบำรุงรักษาและจัดทำความปลอดภัย 2.1 ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่ใช้ฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล 30204.02.01 55901
30204.02 ใช้และบำรุงรักษาและจัดทำความปลอดภัย 2.2 ตรวจสอบการใช้งานและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ 30204.02.02 55902
30204.02 ใช้และบำรุงรักษาและจัดทำความปลอดภัย 2.3 ระบุขั้นตอนการจัดทำระบบความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าที่ใช้ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล 30204.02.03 55903

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          1. นำความรู้ความเข้าใจในวิชาการและวิชาชีพ ความปลอดภัย ความรู้ภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ความรู้ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องและการบริหารจัดการระดับต้นมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม

          2.
สำรวจสถานที่ตั้งฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

          3. กำหนดสถานที่ตั้งฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

          4. มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล จีเอพีและการจัดการฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล ตามมาตรฐาน CoC และสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

          5. จัดเตรียมใช้และบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงกุ้งทะเล

          6. เตรียมบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล

          7. เตรียมน้ำในบ่อพักน้ำ

          8.
ควบคุมและจัดการคุณภาพน้ำให้เหมาะสมก่อนใช้งาน

          9. จัดทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ

          10. จัดหาลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ที่ได้คุณภาพ

          11. ปล่อยลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ลงเลี้ยงให้อัตราการรอดสูง

          12. กำหนดคุณค่าทางอาหาร ขนาดเม็ดอาหารและคำนวณปริมาณอาหาร

          13. ให้อาหารกุ้ง
ทะเลระหว่างการเลี้ยงอย่างถูกวิธี

          14. ประเมินการเจริญเติบโตของกุ้งทะเล

          15. จัดการคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงกุ้งทะเล

          16. จัดการของเสียที่พื้นบ่อระหว่างเลี้ยง

          17. ประเมินผลผลิตกุ้ง
ทะเลก่อนขาย

          18. กำหนดชนิดของเชื้อโรคและอาการในกุ้งทะเลตามระยะเวลาเลี้ยง

          19. ประเมินผลการตรวจสอบโรคและสรุปสาเหตุการติดเชื้อในกุ้งทะเลตามระยะเวลาเลี้ยง

          20. จัดการกุ้งทะเลที่พบเชื้อก่อโรคและกุ้งป่วย

          21. วางแผนและกำกับการจับกุ้งทะเลให้ได้คุณภาพที่สอดคล้องกับสภาวะการตลาด

          22. จดทะเบียนผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและขอหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำที่ผลิตจากฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

          23. จัดการคุณภาพน้ำก่อนทิ้งจากบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล

          24. จัดการของเสียพื้นบ่อหลังเลี้ยง

          25. จัดการสภาพแวดล้อมในและนอกฟาร์มเลี้ยงกุ้ง
ทะเล


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

              1. มีทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน

              2. มีทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ



              3. มีทักษะด้านความปลอดภัย ด้านการสื่อสารด้วยภาษาไทย ภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียน

              4. มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ           

              5. มีแนวปฏิบัติและวิธีการใช้งานระบบไฟฟ้าสำรองและระบบเตือน รวมทั้งบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

              1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ วิธีการ ในสาขาวิชาชีพเฉพาะ



              2. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง



              3. มีความรู้ ความเข้าใจในภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการประกอบอาชีพ

              4. มีความรู้เรื่องคุณลักษณะเฉพาะ (specification) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในฟาร์ม
กุ้งทะเลทั้งระบบ

             
5. มีแนวปฏิบัติและวิธีการใช้งานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าอย่างถูกต้อง 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. บันทึกการปฏิบัติงานด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล



2. แฟ้มสะสมงานด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบอบรมใบผ่านงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



                หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎหมายหรือเกณฑ์ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน



1. การทดสอบแบบข้อเขียน (อัตนัย)


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



              1. เข้าใจถึงคุณลักษณะของเครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในฟาร์ม

              2. สามารถคำนวณกำลังไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลได้ถูกต้อง โดยคำนวณจาก จำนวนวัตต์ต่อโวลล์

              3. ตรวจสอบการใช้งานและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ใช้ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน รวมทั้งบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง

              4. มีการบันทึกและตรวจสอบการใช้งานและการชำรุดของอุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งระบบไฟฟ้าปกติและระบบไฟฟ้าสำรองและระบบเตือนอย่างสม่ำเสมอ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



              1. เข้าใจถึงคุณลักษณะของเครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในฟาร์ม

                   1.1 เครื่องมือและอุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องให้อากาศ เครื่องสูบน้ำ หลอดไฟชนิดต่างๆ เครื่องให้อาหารอัตโนมัติ



                   1.2 คุณลักษณะเฉพาะ (specification) ของเครื่องสูบน้ำ หมายถึง จำนวนวัตต์ จำนวนแรงม้า อัตราไหลของน้ำ ลิตรต่อชั่วโมง

              2. มีการบันทึกและตรวจสอบการใช้งานและการชำรุดของอุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งระบบไฟฟ้าปกติและระบบไฟฟ้าสำรองและระบบเตือนอย่างสม่ำเสมอทั้งระบบ

                   2.1 ระบบไฟฟ้าปกติ หมายถึง ระบบไฟฟ้าที่ลักษณะการส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า ตามประเภทการใช้งาน โดยส่งจากสถานีไฟฟ้าผ่านสายไฟฟ้าแรงสูง สถานีไฟฟ้าย่อย หม้อแปลงแปลงไฟฟ้าให้ต่ำลง ไปยังแหล่งที่ต้องการใช้งาน



                   2.2 ระบบไฟฟ้าสำรอง  หมายถึง ระบบไฟฟ้าที่สามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าแทนระบบไฟฟ้าของทางราชการได้ทันที เมื่อไฟฟ้าของทางราชการดับ จึงมั่นใจได้ว่าจะมีไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน และธุรกิจจะไม่เสียหาย



                   2.3 ระบบเตือน คือ สัญญาณเตือน เมื่อปั้มลม ของฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลไม่ทํางาน ในกรณีปั้มลมเกิดการขัดข้อง หยุดทํางาน เพราะไฟฟ้าดับหรือ ท่อรั่ว/หลุดขาด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. แบบทดสอบข้อเขียน (อัตนัย)

          2. เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม เช่น บันทึกการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมงานและเอกสารผ่านการฝึกอบรมด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล



ยินดีต้อนรับ