หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการผลิตกุ้งทะเล

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AQA-4-070ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการผลิตกุ้งทะเล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพผู้เลี้ยงกุ้งทะเล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย ประมาณการผลิตกุ้งทะเลโดยกำหนดความหนาแน่นลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) และ ประมาณการผลิตกุ้งทะเลโดยกำหนดระยะเวลาเลี้ยง 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          - ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 08 Unit Group   1312 (Aquaculture and fisheries production managers)                                      6221 (Aquaculture workers)                                      9216 (Fishery and aquaculture labourers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30307.01 กำหนดความหนาแน่นลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) 1.1 กำหนดความหนาแน่นลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ที่เหมาะสมต่อพื้นที่ 30307.01.01 55936
30307.01 กำหนดความหนาแน่นลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) 1.2 กำหนดจำนวนลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ลงเลี้ยง 30307.01.02 55937
30307.02 กำหนดระยะเวลาเลี้ยง 2.1 คาดการณ์ผลผลิตกุ้งทะเล 30307.02.01 55938
30307.02 กำหนดระยะเวลาเลี้ยง 2.2 คาดการณ์การราคาขาย 30307.02.02 55939

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          1. นำความรู้ความเข้าใจในวิชาการและวิชาชีพ ความปลอดภัย ความรู้ภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ความรู้ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องและการบริหารจัดการระดับต้นมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม

          2.
สำรวจสถานที่ตั้งฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

          3. กำหนดสถานที่ตั้งฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

          4. มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลจีเอพีและการจัดการฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล  ตามมาตรฐาน CoC และสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

          5. จัดเตรียมใช้และบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงกุ้งทะเล

          6. เตรียมบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล

          7. เตรียมน้ำในบ่อพักน้ำ

          8.
ควบคุมและจัดการคุณภาพน้ำให้เหมาะสมก่อนใช้งาน

          9. จัดทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ

          10. จัดหาลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ที่ได้คุณภาพ

          11. ปล่อยลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ลงเลี้ยงให้อัตราการรอดสูง

          12. กำหนดคุณค่าทางอาหาร ขนาดเม็ดอาหารและคำนวณปริมาณอาหาร

          13. ให้อาหารกุ้งทะเลระหว่างการเลี้ยงอย่างถูกวิธี

          14. ประเมินการเจริญเติบโตของกุ้งทะเล

          15. จัดการคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงกุ้งทะเล

          16. จัดการของเสียที่พื้นบ่อระหว่างเลี้ยง

          17. ประเมินผลผลิตกุ้งทะเลก่อนขาย

          18. กำหนดชนิดของเชื้อโรคและอาการในกุ้งทะเลตามระยะเวลาเลี้ยง

          19. ประเมินผลการตรวจสอบโรคและสรุปสาเหตุการติดเชื้อในกุ้งทะเลตามระยะเวลาเลี้ยง

          20.
จัดการกุ้งทะเลที่พบเชื้อก่อโรคและกุ้งป่วย

          21. วางแผนและกำกับการจับกุ้งทะเลให้ได้คุณภาพที่สอดคล้องกับสภาวะการตลาด

          22. จดทะเบียนผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและขอหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำที่ผลิตจากฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

          23.
จัดการคุณภาพน้ำก่อนทิ้งจากบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล

          24. จัดการของเสียพื้นบ่อหลังเลี้ยง

          25. จัดการสภาพแวดล้อมในและนอกฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

                1. มีทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน

                2. มีทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ

                3. มีทักษะด้านความปลอดภัย

                4. มีทักษะด้านการสื่อสารด้วยภาษาไทย ภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียน

                5. มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                6. ประมาณการผลิตกุ้งโดยกำหนดความหนาแน่นลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL)

                7. ประมาณการผลิตกุ้งทะเลโดยกำหนดระยะเวลาเลี้ยง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

                1. มีความรู้ความเข้าใจในวิชาการและวิชาชีพ ความปลอดภัย



                2. มีความรู้ภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ



                3. มีความรู้ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องและการบริหารจัดการระดับต้นมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม



                4. มีความรู้ด้านการวางแผนการผลิตกุ้งทะเล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. บันทึกการปฏิบัติงานด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล



2. แฟ้มสะสมงานด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบอบรมใบผ่านงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



                หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎหมายหรือเกณฑ์ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน



1. การทดสอบแบบข้อเขียน (อัตนัย)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



                   1. รู้ความหนาแน่นลูกกุ้ง PL ที่เหมาะสมต่อพื้นที่ เพื่อประมาณการผลิตกุ้งทะเล โดยกำหนดความหนาแน่นของลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ในการเลี้ยงกุ้งทะเลให้เจริญเติบโตดีและผลผลิตสูง

                   2. คำนวณจำนวนลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ทั้งหมดที่ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อจากความหนาแน่นของลูกกุ้งและพื้นที่บ่อ และประเมินอัตรารอดของการเลี้ยง เพื่อให้ได้ผลผลิตตามเป้าหมาย        



                   3. ทราบความสัมพันธ์ของสายพันธุ์กุ้งของการเจริญเติบโต (ค่า ADG) และสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อผลผลิตกุ้งทะเล

                   4. รู้เรื่องการวิเคราะห์แนวโน้มราคากุ้งที่จะจำหน่ายได้ก่อนการเลี้ยง



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



                   1. รู้ความหนาแน่นลูกกุ้ง PL ที่เหมาะสมต่อพื้นที่ เพื่อประมาณการผลิตกุ้งทะเล โดยกำหนดความหนาแน่นของลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ในการเลี้ยงกุ้งทะเลให้เจริญเติบโตดีและผลผลิตสูง

                        1.1 ลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (Post Larva, PL) หรือที่เรียกว่า กุ้งพี  หมายถึง   ลูกกุ้งที่พัฒนามาจากลูกกุ้งทะเลระยะนอเพลียส ซูเอีย และไมซิส จนพัฒนาเป็นลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. แบบทดสอบข้อเขียน (อัตนัย)

          2. เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม เช่น บันทึกการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมงานและเอกสารผ่านการฝึกอบรมด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล



ยินดีต้อนรับ