หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงกุ้งทะเล

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AQA-3-077ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงกุ้งทะเล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพผู้เลี้ยงกุ้งทะเล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย ตรวจสอบคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงกุ้งทะเล ประเมินผลคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งทะเลอย่างสม่ำเสมอ ตลอดการเลี้ยงกุ้งทะเล ควบคุมคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงกุ้งทะเล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          - ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล          - ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ          - นักศึกษาในสาขาวิชาประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 08 Unit Group    1312 (Aquaculture and fisheries production managers)                               6221 (Aquaculture workers)                               9216 (Fishery and aquaculture labourers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30404.01 ตรวจสอบคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงกุ้งทะเล 1.1 กำหนดช่วงเวลาและวิธีการเก็บตัวอย่างน้ำ 30404.01.01 55976
30404.01 ตรวจสอบคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงกุ้งทะเล 1.2 ตรวจสอบคุณภาพน้ำทางกายภาพอย่างสม่ำเสมอตลอดการเลี้ยงกุ้งทะเล 30404.01.02 55977
30404.01 ตรวจสอบคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงกุ้งทะเล 1.3 ตรวจสอบคุณภาพน้ำทางเคมีอย่างสม่ำเสมอตลอดการเลี้ยงกุ้งทะเล 30404.01.03 55978
30404.01 ตรวจสอบคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงกุ้งทะเล 1.4 ตรวจสอบคุณภาพน้ำทางชีวภาพ 30404.01.04 55979
30404.02 ประเมินผลคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล 2.1 ประเมินผลข้อมูลคุณภาพน้ำทางกายภาพ 30404.02.01 55980
30404.02 ประเมินผลคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล 2.2 ประเมินผลข้อมูลคุณภาพน้ำทางเคมี 30404.02.02 55981
30404.02 ประเมินผลคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล 2.3 ประเมินผลข้อมูลคุณภาพน้ำทางชีวภาพ 30404.02.03 55982
30404.03 ควบคุมคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงกุ้งทะเล 3.1 ระบุวิธีปรับคุณภาพน้ำให้เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้งทะเล 30404.03.01 55983
30404.03 ควบคุมคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงกุ้งทะเล 3.2 ระบุขั้นตอนการเปลี่ยนถ่ายน้ำ 30404.03.02 55984

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ วิธีการ ในสาขาวิชาชีพเฉพาะ มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจในภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการประกอบอาชีพ



          2. สำรวจสถานที่ตั้งฟาร์มกุ้งทะเล

          3. มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลจีเอพีและการจัดการฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล ตามมาตรฐาน CoC และสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

          4. จัดเตรียมใช้และบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงกุ้งทะเล

          5. เตรียมบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล

          6. เตรียมน้ำในบ่อพักน้ำ

          7. ปล่อยลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ลงเลี้ยงให้อัตราการรอดสูง

          8. ประเมินการเจริญเติบโตของกุ้งทะเล

          9. ให้อาหารกุ้งทะเลระหว่างการเลี้ยงอย่างถูกวิธี

          10. จัดการของเสียที่พื้นบ่อระหว่างเลี้ยง

          11. จัดการกุ้งทะเลที่พบเชื้อก่อโรคและกุ้งป่วย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

             1. มีทักษะระดับฝีมือเฉพาะทางและเทคนิคในการปฏิบัติงาน



             2. มีทักษะในการเชื่อมโยงความรู้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ

             3. มีทักษะด้านความปลอดภัย

             4. มีทักษะด้านการสื่อสารด้วยภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ หรือภาษา
ในประเทศอาเซียน

            
5. มีทักษะพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ



             6. ให้อาหารกุ้งโดยวิธีการหว่านอาหารด้วยมือ

             7. ควบคุมคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงกุ้งทะเล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

             1. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการ วิธีการ ในสาขาวิชาชีพเฉพาะ  



             2. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง



             3. มีความรู้ ความเข้าใจในภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการประกอบอาชีพ



             4. ตรวจสอบคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงกุ้งทะเล

             5. ประเมินผลคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งทะเลอย่างสม่ำเสมอ ตลอดการเลี้ยงกุ้งทะเล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. บันทึกการปฏิบัติงานด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล



2. แฟ้มสะสมงานด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบอบรมใบผ่านงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



                  หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎหมายหรือเกณฑ์ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน



1. การทดสอบแบบข้อเขียน (ปรนัย/อัตนัย)



2. การสอบปากเปล่า


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



 



(ก) คำแนะนำ



                  1. รู้และเข้าใจช่วงเวลาและวิธีการเก็บตัวอย่างน้ำ ในแต่ละพารามิเตอร์ เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำ



                  2. รู้วิธีการตรวจสอบน้ำทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพ อย่างสม่ำเสมอตลอดการเลี้ยงกุ้งทะเล และรู้ประเภท และใช้เครื่องมือวัดคุณภาพน้ำ 



                  3. รู้และเข้าใจวิธีการตรวจนับปริมาณแบคทีเรียรวมและวิบริโอรวมในน้ำ ประเภทและจำนวนของแพลงก์ตอนพืช



                  4. นำข้อมูลคุณภาพน้ำทางกายภาพ ได้แก่ ความขุ่นใส สี กลิ่น ความหนืด อุณหภูมิ ความเค็ม มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพน้ำที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้ง เพื่อประเมินการจัดการคุณภาพน้ำต่อไป



                  5. นำข้อมูลคุณภาพน้ำทางเคมี ได้แก่ ไนไตรท์ ไนเตรท แอมโมเนีย คลอรีน อัลคาไลนิตี้  ความกระด้างของน้ำ  ความเป็นกรด-ด่าง  ออกซิเจนละลายน้ำ  ที่ได้ในบ่อเลี้ยงกุ้งมาวิเคราะห์ได้ มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพน้ำที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้ง เพื่อประเมินการจัดการคุณภาพน้ำต่อไป



                  6. นำข้อมูลคุณภาพน้ำทางชีวภาพ ได้แก่ ปริมาณแบคทีเรียรวมและวิบริโอรวมในน้ำ  ที่วิเคราะห์ได้ มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพน้ำที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้ง เพื่อประเมินการจัดการคุณภาพน้ำต่อไป



                  7. เลือกใช้ชนิดของสารเคมีหรือจุลินทรีย์ให้เหมาะสมกับการปรับคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้ง



                  8. รู้วิธีการนำน้ำออกและนำน้ำเข้าบ่อเลี้ยง เพื่อให้ได้คุณภาพน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงกุ้งทะเล



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



                  1.  รู้วิธีการตรวจสอบน้ำทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพ อย่างสม่ำเสมอตลอดการเลี้ยงกุ้งทะเล และรู้ประเภทและใช้เครื่องมือวัดคุณภาพน้ำ    



                        1.1 คุณภาพน้ำทางกายภาพได้แก่ ความขุ่นใส สี กลิ่น ความหนืด อุณหภูมิ ความเค็ม



                  2. รู้และเข้าใจวิธีการตรวจนับปริมาณแบคทีเรียรวมและวิบริโอรวมในน้ำ ประเภทและจำนวนของแพลงก์ตอนพืช



                        2.1 คุณภาพน้ำทางเคมี ได้แก่  ไนไตรท์ ไนเตรท แอมโมเนีย คลอรีน อัลคาไลนิตี้  ความกระด้างของน้ำ เครื่องมือวัดคุณภาพน้ำ ได้แก่ ความเป็นกรด-ด่าง  ออกซิเจนละลายน้ำ



                  3. ตรวจสอบคุณภาพน้ำทางชีวภาพ



                        3.1 คุณภาพน้ำทางชีวภาพ ได้แก่ จำนวนของแพลงก์ตอนพืช และปริมาณแบคทีเรียรวมและแบคทีเรียวิบริโอรวม



                  4. เลือกใช้ชนิดของสารเคมีหรือจุลินทรีย์ให้เหมาะสมกับการปรับคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้ง



                        4.1 สารเคมี ได้แก่ ปูนขาว 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. แบบทดสอบแบบข้อเขียน (ปรนัย/อัตนัย)    



          2. แบบประเมินการสอบปากเปล่า

          3. เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม เช่น บันทึกการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมงานและเอกสารผ่านการฝึกอบรมด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล



ยินดีต้อนรับ