หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินผลการตรวจสอบโรคและสรุปสาเหตุการติดเชื้อในกุ้งทะเล

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AQA-3-081ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินผลการตรวจสอบโรคและสรุปสาเหตุการติดเชื้อในกุ้งทะเล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพผู้เลี้ยงกุ้งทะเล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย  วินิจฉัยผลการทดสอบและตรวจสอบแหล่งเชื้อก่อโรค

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          - ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล          - ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ          - นักศึกษาในสาขาวิชาประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 08 Unit Group   1312 (Aquaculture and fisheries production managers)                                      6221 (Aquaculture workers)                                      9216 (Fishery and aquaculture labourers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30502.01 วินิจฉัยผลการทดสอบ 1.1 อ่านรายงานผลเชิงปริมาณและชนิดของเชื้อก่อโรคที่พบในกุ้งทะเล ดิน และน้ำเลี้ยง 30502.01.01 55997
30502.01 วินิจฉัยผลการทดสอบ 1.2 ประมวลผลจากชนิดและปริมาณเชื้อโรคกับการเกิดโรคในกุ้งทะเล 30502.01.02 55998
30502.02 ตรวจสอบแหล่งเชื้อก่อโรค 2.1 ระบุวิธีการสุ่มตรวจการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค 30502.02.01 55999
30502.02 ตรวจสอบแหล่งเชื้อก่อโรค 2.2 ระบุวิธีการตรวจการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค 30502.02.02 56000
30502.02 ตรวจสอบแหล่งเชื้อก่อโรค 2.3 ประเมินผลการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค 30502.02.03 56001

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ วิธีการ ในสาขาวิชาชีพเฉพาะ มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจในภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการประกอบอาชีพ



          2. สำรวจสถานที่ตั้งฟาร์มกุ้งทะเล

          3. มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลจีเอพีและการจัดการฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล ตามมาตรฐาน CoC และสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

          4. จัดเตรียมใช้และบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงกุ้งทะเล

          5. เตรียมบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล

          6. เตรียมน้ำในบ่อพักน้ำ

          7. ปล่อยลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ลงเลี้ยงให้อัตราการรอดสูง

          8. ประเมินการเจริญเติบโตของกุ้งทะเล

          9. ให้อาหารกุ้งทะเลระหว่างการเลี้ยงอย่างถูกวิธี

          10. จัดการของเสียที่พื้นบ่อระหว่างเลี้ยง

          11. จัดการกุ้งทะเลที่พบเชื้อก่อโรคและกุ้งป่วย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

              1. มีทักษะระดับฝีมือเฉพาะทางและเทคนิคในการปฏิบัติงาน



              2. มีทักษะในการเชื่อมโยงความรู้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ

              3. มีทักษะด้านความปลอดภัย

              4. มีทักษะด้านการสื่อสารด้วยภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ หรือภาษาในประเทศอาเซียน

              5. มีทักษะพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

              1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ วิธีการ ในสาขาวิชาชีพเฉพาะ  



              2. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง



              3. มีความรู้ ความเข้าใจในภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการประกอบอาชีพ



              4. วินิจฉัยผลการทดสอบ

              5. ตรวจสอบแหล่งเชื้อก่อโรค


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. บันทึกการปฏิบัติงานด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล



2. แฟ้มสะสมงานด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบอบรมใบผ่านงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



                   หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎหมายหรือเกณฑ์ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน



1. การทดสอบแบบข้อเขียน (อัตนัย)



2. การสอบปากเปล่า


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



                   1. ประเภทและชนิดเชื้อก่อโรค ที่ก่อปัญหารุนแรงให้กุ้งทะเลตายและการถ่ายทอดเชื้อ ในน้ำและดิน



                   2. ชนิดของเชื้อก่อโรคในกุ้งทะเล ที่ปรากฏพร้อมหาสาเหตุที่ทำให้เกิดเชื้อก่อโรคและแนวทางแก้ปัญหา



                   3. วิธีการสุ่ม ระยะเวลา สุ่มตรวจตามประเภทของเชื้อก่อโรคจากน้ำเลี้ยงกุ้งทะเล น้ำจากบ่อพักน้ำ อาหาร อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้งทะเล ได้แก่ แห อวน เครื่องให้อาหารอัตโนมัติ ตามอายุการใช้งาน



                   4. ระบุวิธีการตรวจการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรคจากน้ำเลี้ยงกุ้งทะเล น้ำจากบ่อพักน้ำ อาหาร อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้งทะเล ได้แก่ แห อวน เครื่องให้อาหารอัตโนมัติ ตามอายุการใช้งาน 



                   5. ประเมินผลการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรคและหาแนวทางการจัดการตามประเภทของเชื้อก่อโรค 



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



                   ไม่มี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. แบบทดสอบแบบข้อเขียน (อัตนัย)



          2. แบบประเมินการสอบปากเปล่า

          3. เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม เช่น บันทึกการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมงานและเอกสารผ่านการฝึกอบรมด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล



ยินดีต้อนรับ