หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนและกำกับการจับกุ้งทะเลให้ได้คุณภาพที่สอดคล้องกับสภาวะการตลาด

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AQA-3-084ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนและกำกับการจับกุ้งทะเลให้ได้คุณภาพที่สอดคล้องกับสภาวะการตลาด

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพผู้เลี้ยงกุ้งทะเล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย  เลือกระยะเวลาในการจับกุ้งทะเลตามสภาวะการตลาด ตรวจสอบยาปฏิชีวนะและสารเคมีตกค้างและเชื้อก่อโรคในกุ้งก่อนจับขาย เลือกวิธีการจับกุ้งให้รวดเร็วและหมดบ่อ และจับกุ้งให้มีความสมบูรณ์ สะอาด และไม่ให้เกิดการลอกคราบ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          - ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล          - ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ          - นักศึกษาในสาขาวิชาประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 08 Unit Group  1312 (Aquaculture and fisheries production managers)                                    6221 (Aquaculture workers)                                     9216 (Fishery and aquaculture labourers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30602.01 เลือกระยะเวลาในการจับกุ้งทะเลตามสภาวะการตลาด 1.1 ตรวจสอบขนาดของกุ้งทะเลกับราคาตลาด 30602.01.01 56012
30602.01 เลือกระยะเวลาในการจับกุ้งทะเลตามสภาวะการตลาด 1.2 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของกุ้งทะเลกับราคาตลาด 30602.01.02 56013
30602.02 ตรวจสอบยาปฏิชีวนะและสารเคมีตกค้างและเชื้อก่อโรคในกุ้งทะเลก่อนจับขาย 2.1 ติดต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบยาปฏิชีวนะและสารเคมีตกค้าง 30602.02.01 56014
30602.02 ตรวจสอบยาปฏิชีวนะและสารเคมีตกค้างและเชื้อก่อโรคในกุ้งทะเลก่อนจับขาย 2.2 จัดส่งกุ้งทะเลที่ต้องการขายไปตรวจสอบ 30602.02.02 56015
30602.03 จับกุ้งทะเลให้มีความสมบูรณ์ สะอาด และไม่ให้เกิดการลอกคราบ 3.1 ระบุขั้นตอนการสุ่มตรวจสอบระยะลอกคราบกุ้งทะเล 30602.03.01 56016
30602.03 จับกุ้งทะเลให้มีความสมบูรณ์ สะอาด และไม่ให้เกิดการลอกคราบ 3.2 ระบุวิธีการในการจับกุ้งทะเล 30602.03.02 56017
30602.03 จับกุ้งทะเลให้มีความสมบูรณ์ สะอาด และไม่ให้เกิดการลอกคราบ 3.3 ระบุอุปกรณ์ในการจับกุ้งทะเล 30602.03.03 56018
30602.03 จับกุ้งทะเลให้มีความสมบูรณ์ สะอาด และไม่ให้เกิดการลอกคราบ 3.4 จับกุ้งทะเล 30602.03.04 56019

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ วิธีการ ในสาขาวิชาชีพเฉพาะ มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจในภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการประกอบอาชีพ



          2. สำรวจสถานที่ตั้งฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล



          3. มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล จีเอพีและการจัดการฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล ตามมาตรฐาน CoC และสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

          4. จัดเตรียมใช้และบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงกุ้ง

          5. เตรียมบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล

          6. เตรียมน้ำในบ่อพักน้ำ

          7. ปล่อยลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ลงเลี้ยงให้อัตราการรอดสูง

          8. ประเมินการเจริญเติบโตของกุ้งทะเล

          9. ให้อาหารกุ้งทะเลระหว่างการเลี้ยงอย่างถูกวิธี

          10. จัดการของเสียที่พื้นบ่อระหว่างเลี้ยงกุ้งทะเล

          11. จัดการกุ้งทะเลที่พบเชื้อก่อโรคและกุ้งป่วย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

             1. มีทักษะระดับฝีมือเฉพาะทางและเทคนิคในการปฏิบัติงาน



             2. มีทักษะในการเชื่อมโยงความรู้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ

             3. มีทักษะด้านความปลอดภัย

             4. มีทักษะด้านการสื่อสารด้วยภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ หรือภาษาในประเทศอาเซียน

             5. มีทักษะพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ



             6. เลือกระยะเวลาในการจับกุ้งตามสภาวะการตลาด

             7. เลือกวิธีการจับกุ้งให้รวดเร็วและหมดบ่อ

             8. จับกุ้งให้มีความสมบูรณ์ สะอาด และไม่ให้เกิดการลอกคราบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

             1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ วิธีการ ในสาขาวิชาชีพเฉพาะ   



             2. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง



             3. มีความรู้ ความเข้าใจในภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการประกอบอาชีพ



             4. ตรวจสอบยาปฏิชีวนะและสารเคมีตกค้างและเชื้อก่อโรคในกุ้งก่อนจับขาย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. บันทึกการปฏิบัติงานด้านการเลี้ยงกุ้ง



2. แฟ้มสะสมงานด้านการเลี้ยงกุ้ง



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบอบรมใบผ่านงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



               หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน



1. การทดสอบแบบข้อเขียน (อัตนัย)


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



               1. ติดตามภาวะการตลาดของกุ้ง เพื่อใช้ในการตัดสินใจขายกุ้งให้ได้ราคาสูง



               2. มีความสามารถในการติดต่อประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งกุ้งที่ต้องการขายไปตรวจหายาปฏิชีวนะและสารเคมีตกค้างและเชื้อก่อโรคในกุ้งทะเล



               3. รู้ข้อกำหนดอาหารปลอดภัยตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เกี่ยวกับการตกค้างของยาปฏิชีวนะและสารเคมีและเชื้อก่อโรคในกุ้งทะเล และส่งกุ้งที่ต้องการขายไปตรวจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อออกใบรับรองมาตรฐานสินค้า



               4. ตรวจสอบระยะลอกคราบกุ้งและสามารถประเมินได้ว่ากุ้งทะเลส่วนใหญ่อยู่ในระยะลอกคราบใด รวมทั้งมีวิธีการจัดการเพื่อให้กุ้งมีการสร้างเปลือกอย่างรวดเร็วระหว่างการจับกุ้งทะเล



               5. รู้วิธีการจับกุ้งให้รวดเร็วและหมดบ่อที่ไม่ทำให้กุ้งทะเลเกิดความเสียหาย ได้แก่ ระยางค์ขาด หรือเกิดบาดแผล และใช้เทคนิคในการลากอวนจับกุ้งเพื่อไม่ให้เหงือกกุ้งสกปรกจากตะกอนของเสีย รวมทั้งกำหนดแรงงานให้เหมาะสม โดยพิจารณาจากผลผลิตที่คาดการณ์     



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



               1. ระบุอุปกรณ์ในการจับกุ้งทะเล



                     1.1 เครื่องมือจับกุ้งทะเล ได้แก่ อวนลาก ตะกร้า ท่อสูบน้ำ เครื่องสูบน้ำ น้ำแข็ง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. แบบทดสอบแบบข้อเขียน (อัตนัย)



          2. เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสมเช่นบันทึกการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมงานและเอกสารผ่านการฝึกอบรมด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล



ยินดีต้อนรับ