หน่วยสมรรถนะ
สำรวจสถานที่ตั้งฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-AQA-2-058ZA |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | สำรวจสถานที่ตั้งฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพผู้เลี้ยงกุ้งทะเล |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย มีทักษะในการสำรวจทางภูมิศาสตร์ ความลาดชันสภาพดินและสภาพภูมิอากาศ และสำรวจแหล่งน้ำที่เหมาะสม |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
- ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล - ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ - นักศึกษาในสาขาวิชาประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ISCO 08 Unit Group 1312 (Aquaculture and fisheries production managers) 6221 (Aquaculture workers) 9216 (Fishery and aquaculture labourers) |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
30101.01 สำรวจทางภูมิศาสตร์ | 1.1 ระบุข้อมูลทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ | 30101.01.01 | 55866 |
30101.01 สำรวจทางภูมิศาสตร์ | 1.2 ระบุข้อมูลความลาดชันของพื้นที่ และลักษณะทางกายภาพและเคมีของดิน | 30101.01.02 | 55867 |
30101.02 สำรวจแหล่งน้ำ | 2.1 ระบุขั้นตอนตรวจสอบปริมาณแหล่งน้ำทะเลและแหล่งน้ำจืด | 30101.02.01 | 55868 |
30101.02 สำรวจแหล่งน้ำ | 2.2 ระบุขั้นตอนตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำทะเลและแหล่งน้ำจืด | 30101.02.02 | 55869 |
30101.02 สำรวจแหล่งน้ำ | 2.3 ระบุข้อมูลน้ำขึ้นน้ำลงของน้ำทะเล | 30101.02.03 | 55870 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1. มีความรู้ในการเขียน อ่าน พูด ภาษาไทยได้ และคำนวณ ขั้นพื้นฐาน 2. มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวกับงาน หรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น 3. มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล จีเอพีและการจัดการฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล ตามมาตรฐาน CoC และสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 5. เตรียมบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. มีทักษะกึ่งฝีมือ สามารถทำงานประจำตามลักษณะวิชาชีพ ดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการทำงานที่เหมาะสม (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. มีความรู้ในการเขียน อ่าน พูด คำนวณ ขั้นพื้นฐาน 2. มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวกับงาน หรือภาษาในประเทศอาเซียน ที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น 3. มีความรู้ในเรื่องการหาข้อมูลทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศจากระบบสารสนเทศและจากกรมอุตุนิยมวิทยาและประวัติภัยธรรมชาติของพื้นที่ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. บันทึกการปฏิบัติงานด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล 2. แฟ้มสะสมงานด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ใบอบรมใบผ่านงาน (ถ้ามี) (ค) คำแนะนำในการประเมิน หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง 1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง 2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎหมายหรือเกณฑ์ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ง) วิธีการประเมิน 1. การทดสอบแบบข้อเขียน (ปรนัย) 2. การสอบปากเปล่า |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (ก) คำแนะนำ 1. ข้อมูลทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศจากระบบสารสนเทศ ระบบ GIS 2. ข้อมูลสถิติย้อนหลังของกรมอุตุนิยมวิทยา 3. ข้อมูลพื้นที่สำรวจ (Survey) ประวัติน้ำท่วมหรือมีคลื่นลมรุนแรง อุทกวิทยาและภัยธรรมชาติ 4. ระบุข้อมูลความลาดชันของพื้นที่ โดยใช้เครื่องมือตรวจสอบลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ ประเภทของดิน ลักษณะทางเคมีของดินได้แก่ ความเป็นกรด-ด่าง เหล็กออกไซด์ และการอุ้มน้ำ 5. ตรวจสอบประวัติปริมาณและคุณภาพน้ำทะเลและน้ำจืดย้อนหลังตลอดทั้งปี 6. ตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำทะเลและน้ำจืด ทางกายภาพและทางเคมี 7. ข้อมูลระดับน้ำขึ้นน้ำลง จากตารางน้ำและสำรวจในพื้นที่จริง (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. ระบุข้อมูลความลาดชันของพื้นที่ โดยใช้เครื่องมือตรวจสอบลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ ประเภทของดิน ลักษณะทางเคมีของดินได้แก่ ความเป็นกรด-ด่าง เหล็กออกไซด์ และการอุ้มน้ำ 1.1 เครื่องมือตรวจลักษณะดิน ได้แก่ เครื่องวัดความชื้นดิน เครื่องวัดความเป็นกรดด่าง 2. ตรวจสอบประวัติปริมาณและคุณภาพน้ำทะเลและน้ำจืดย้อนหลังตลอดทั้งปี 2.1 คุณภาพน้ำทางกายภาพ ได้แก่ ความขุ่นใส สี กลิ่น อุณหภูมิ ความเค็ม 3. ตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำทะเลและน้ำจืด ทางกายภาพและทางเคมี 3.1 คุณภาพน้ำทางเคมี ได้แก่ ไนไตรท์ ไนเตรท แอมโมเนีย คลอรีน อัลคาไลนิตี้ ความกระด้างของน้ำ ความเป็นกรด-ด่าง ออกซิเจนละลายน้ำ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. แบบทดสอบข้อเขียน (ปรนัย) 2. แบบประเมินการสอบปากเปล่า 2. เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม เช่น บันทึกการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมงานและเอกสารผ่านการฝึกอบรมด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล |