หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ร่วมวางแผนและบริหารจัดการธุรกิจการอนุบาลลูกกุ้งทะเล

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AQA-4-056ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ร่วมวางแผนและบริหารจัดการธุรกิจการอนุบาลลูกกุ้งทะเล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพอนุบาลลูกกุ้งทะเล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย มีทักษะร่วมวางแผน บริหารจัดการ กำหนดนโยบาย และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการจัดการธุรกิจการอนุบาลลูกกุ้งทะเลและสามารถบริหารโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมตามหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 08 Unit Group      1312 (Aquaculture and fisheries production managers)                                 6221 (Aquaculture workers)                                 9216 (Fishery and aquaculture labourers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20901.01 ร่วมวางแผน บริหารจัดการ ธุรกิจการอนุบาลลูกกุ้งทะเล 1.1 รวบรวมข้อมูลการผลิตลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ 20901.01.01 55853
20901.01 ร่วมวางแผน บริหารจัดการ ธุรกิจการอนุบาลลูกกุ้งทะเล 1.2 วิเคราะห์ข้อมูลการผลิตลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ 20901.01.02 55854
20901.01 ร่วมวางแผน บริหารจัดการ ธุรกิจการอนุบาลลูกกุ้งทะเล 1.3 นำเสนอแนวทางแก้ปัญหาในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล 20901.01.03 55855
20901.02 บริหารโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเลโดยคำนึงถึงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตามหลักอาชีวอนามัย และความปลอดภัย 2.1 กำหนดมาตรการการลดใช้พลังงาน 20901.02.01 55856
20901.02 บริหารโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเลโดยคำนึงถึงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตามหลักอาชีวอนามัย และความปลอดภัย 2.2 เสาะหาเครื่องมือ และวิธีการประหยัดพลังงาน 20901.02.02 55857
20901.02 บริหารโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเลโดยคำนึงถึงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตามหลักอาชีวอนามัย และความปลอดภัย 2.3 เลือกอุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ประหยัดพลังงาน 20901.02.03 55858
20901.02 บริหารโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเลโดยคำนึงถึงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตามหลักอาชีวอนามัย และความปลอดภัย 2.4 หาวิธีการลดความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมชีวอนามัย และความปลอดภัย 20901.02.04 55859

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          1. สำรวจสถานที่ตั้งโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล



          2. กำหนดสถานที่ตั้งโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล



          3. กำหนดแบบแปลนโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเลและออกแบบบ่อ



          4. วางแผนและออกแบบระบบไฟฟ้าและความปลอดภัยในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล



          5. มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเลจีเอพี



          6. จัดเตรียมใช้และบำรุงรักษาบ่อและวัสดุอุปกรณ์ในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล



          7. เตรียมน้ำเพื่อใช้ในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล



          8. ควบคุมและจัดการคุณภาพน้ำให้เหมาะสมก่อนใช้งานและการนำกลับมาใช้ใหม่ภายในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล



          9. จัดทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพภายในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล



          10. อนุบาลลูกกุ้งทะเล



          11. จัดหาชนิดและให้อาหารลูกกุ้งทะเล



          12. กำหนดระยะเวลาตรวจสอบชนิดเชื้อก่อโรคจากลูกกุ้งทะเล อาหารแพลงก์ตอนและอาร์ทิเมียและในน้ำบ่อเลี้ยง



          13. ประเมินผลการตรวจสอบและสาเหตุการติดเชื้อก่อโรคในลูกกุ้งทะเล



          14. จัดการลูกกุ้งทะเลที่พบเชื้อก่อโรคและป่วย



          15. ตรวจสอบความสมบูรณ์ แข็งแรงลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ก่อนขาย



          16. ตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรคของลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ก่อนขาย



          17. รวบรวมและบรรจุลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL)



          18. ขนส่งและควบคุมสภาพแวดล้อมระหว่างการขนส่งลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL)



          19. จดทะเบียนผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและขอหนังสือกำกับการจำหน่ายลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่ผลิตจากโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล



          20. จัดการคุณภาพน้ำก่อนทิ้งจากโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล



          21. จัดการสภาพแวดล้อมในและนอกโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะระดับฝีมือเฉพาะทางและเทคนิคในการปฏิบัติงาน



2. มีทักษะในการเชื่อมโยงความรู้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ



3. มีทักษะด้านความปลอดภัยการสื่อสารด้วยภาษาไทย ภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียน



4. มีทักษะพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ



5. มีทักษะในการหาวิธีการประหยัดพลังงานในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเลและหาแนวทางในการลดความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการ วิธีการ ในสาขาวิชาชีพเฉพาะ



2. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง



3. มีความรู้ ความเข้าใจในภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการประกอบอาชีพ



4. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบต่างๆ และการเชื่อมโยงระบบเพื่อผลิตลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) รวมถึงโครงสร้างของราคาต้นทุน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. บันทึกการปฏิบัติงานด้านการอนุบาลลูกกุ้งทะเล



2. แฟ้มสะสมงานด้านการอนุบาลลูกกุ้งทะเล



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบอบรมใบผ่านงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



                   หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎหมายหรือเกณฑ์ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน



1. การทดสอบแบบข้อเขียน (อัตนัย)



2. การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



1. มีความเข้าใจกระบวนการผลิตลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ ทุกขั้นตอน บันทึกต้นทุนอย่างละเอียดของทุกรอบการผลิต เก็บข้อมูลโครงสร้างต้นทุนเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ต้นทุนและแนวทางการลดต้นทุนการผลิต วิเคราะห์สาเหตุ แล้วนำมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับการร่วมวางแผน และกำหนดนโยบายต่อไปเพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต



2. นำเสนอแนวทางแก้ปัญหา ส่งเสริม ประชุมกันอย่างสม่ำเสมอกับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อกำหนดแนวทางเพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิตด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี



3. หาวิธีการและคัดเลือกวัสดุอุกรณ์ เครื่องมือ  เพื่อนำมาใช้ในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล เพื่อการลดการใช้พลังงาน รวมทั้งปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงานให้กับพนักงาน เพื่อลดตุ้นทุนการผลิต



4. รณรงค์และปลูกจิตสำนึกด้านความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม การรักษาความสะอาด การป้องกันโรคที่อาจปนเปื้อนมากับผู้ปฏิบัติงาน อุปกรณ์ และอาหาร การป้องกันภัย และรักษาความปลอดภัยให้กับพนักงาน จัดทำคู่มือการใช้งาน ข้อควรปฏิบัติหรือต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด รวมถึงมีการจัดการฝึกอบรมให้กับพนักงานใหม่ หรืออบรมให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกรณีที่มีการติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ใหม่



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. มีความเข้าใจกระบวนการผลิตลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ ทุกขั้นตอน บันทึกต้นทุนอย่างละเอียดของทุกรอบการผลิต เก็บข้อมูลโครงสร้างต้นทุนเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ต้นทุนและแนวทางการลดต้นทุนการผลิต วิเคราะห์สาเหตุ แล้วนำมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับการร่วมวางแผน และกำหนดนโยบายต่อไปเพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต



1.1 ลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (Post Larva, PL) หรือที่เรียกว่า กุ้งพี  หมายถึง ลูกกุ้งที่พัฒนามาจากลูกกุ้งทะเลระยะนอเพลียส ซูเอีย และไมซิส จนพัฒนาเป็นลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. แบบทดสอบข้อเขียน (อัตนัย)



          2.  แบบประเมินการสอบสัมภาษณ์



          3. เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม เช่น บันทึกการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมงานและเอกสารผ่านการฝึกอบรมด้านการอนุบาลลูกกุ้งทะเล



ยินดีต้อนรับ