หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ภายในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AQA-3-043ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ภายในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพอนุบาลลูกกุ้งทะเล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย สามารถกักกันลูกกุ้งทะเลที่ติดเชื้อโรค ควบคุมการปนเปื้อนและการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากการเข้าออกของบุคคลและยานพาหนะ สามารถควบคุมการปนเปื้อนและการแพร่กระจายของเชื้อโรคในวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอนุบาลลูกกุ้งทะเล ควบคุมการปนเปื้อนและการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากสัตว์พาหะ ควบคุมการปนเปื้อนเชื้อโรคจากอาหารที่ให้ลูกกุ้งทะเล ควบคุมการปนเปื้อนจุลินทรีย์จากระบบอากาศในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเลได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล          ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ          นักศึกษาในสาขาวิชาประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 08 Unit Group  1312 (Aquaculture and fisheries production managers)                                      6221 (Aquaculture workers)                                      9216 (Fishery and aquaculture labourers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20306.01 ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคจากลูกกุ้งทะเลที่ติดเชื้อ 1.1 ระบุการเลือกใช้แหล่งน้ำเค็มให้เหมาะสมกับกิจกรรมอนุบาลลูกกุ้งทะเล 20306.01.01 55776
20306.01 ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคจากลูกกุ้งทะเลที่ติดเชื้อ 1.2 ควบคุมคุณภาพน้ำเค็มสำหรับการอนุบาลลูกกุ้งทะเล 20306.01.02 55777
20306.02 ควบคุมการปนเปื้อนและการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากการเข้าออกของบุคคลและยานพาหนะ 2.1 อธิบายขั้นตอนทำความสะอาดร่างกาย ก่อนเข้าโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล 20306.02.01 55778
20306.02 ควบคุมการปนเปื้อนและการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากการเข้าออกของบุคคลและยานพาหนะ 2.2 ระบุขั้นตอนการฆ่าเชื้อที่ยานพาหนะ 20306.02.02 55779
20306.03 ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อวัสดุอุปกรณ์ 3.1 ทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ 20306.03.01 55780
20306.03 ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อวัสดุอุปกรณ์ 3.2 ฆ่าเชื้อโรควัสดุอุปกรณ์ 20306.03.02 55781
20306.04 ควบคุมการปนเปื้อนจากสัตว์พาหะ 4.1 หาวิธีป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากสัตว์พาหะนำโรค 20306.04.01 55782
20306.04 ควบคุมการปนเปื้อนจากสัตว์พาหะ 4.2 ระบุวิธีการกำจัดสัตว์พาหะนำโรค 20306.04.02 55783
20306.05 ควบคุมการปนเปื้อนเชื้อโรคจากอาหารที่ให้ลูกกุ้งทะเล 5.1 จัดเก็บอาหารที่ให้ลูกกุ้งทะเล 20306.05.01 55784
20306.05 ควบคุมการปนเปื้อนเชื้อโรคจากอาหารที่ให้ลูกกุ้งทะเล 5.2 ตรวจปริมาณเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในอาหารที่ให้ลูกกุ้งทะเล 20306.05.02 55785
20306.06 ควบคุมการปนเปื้อนจุลินทรีย์จากระบบอากาศในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล 6.1 ระบุขั้นตอนการตรวจปริมาณเชื้อโรคที่ปนเปื้อนจากระบบอากาศในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล 20306.06.01 55786
20306.06 ควบคุมการปนเปื้อนจุลินทรีย์จากระบบอากาศในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล 6.2 กำหนดระยะเวลาทำความสะอาดตัวกรองอากาศ 20306.06.02 55787
20306.06 ควบคุมการปนเปื้อนจุลินทรีย์จากระบบอากาศในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล 6.3 ตรวจสอบการทำความสะอาดตัวกรองอากาศ 20306.06.03 55788

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          1. สำรวจสถานที่ตั้งโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล



          2. มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเลจีเอพี



          3. จัดเตรียมใช้และบำรุงรักษาบ่อและวัสดุอุปกรณ์ในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล



          4. เตรียมน้ำเพื่อใช้ในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล



          5. จัดการลูกกุ้งทะเลที่พบเชื้อก่อโรคและป่วย



          6. ตรวจสอบความสมบูรณ์ แข็งแรงลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ก่อนขาย



          7. รวบรวมและบรรจุลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL)    



          8. ขนส่งและควบคุมสภาพแวดล้อมระหว่างการขนส่งลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะระดับฝีมือเฉพาะทางและเทคนิคในการปฏิบัติงาน



2. มีทักษะในการเชื่อมโยงความรู้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ



3. มีทักษะด้านความปลอดภัยการสื่อสารด้วยภาษาไทย ภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียน



4. มีทักษะพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ



5. มีทักษะในการเลือกใช้น้ำให้เหมาะสมกับกิจกรรมในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล



6. มีทักษะในการเลือกประเภทของเครื่องมือกำจัดสัตว์พาหะแต่ละชนิด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการ วิธีการ ในสาขาวิชาชีพเฉพาะ



2. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง



3. มีความรู้ ความเข้าใจในภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการประกอบอาชีพ



4. มีความรู้ ความเข้าใจในการหาวิธีป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากสัตว์พาหะแต่ละชนิดและการกำจัดได้อย่างเหมาะสม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกัน



กับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. บันทึกการปฏิบัติงานด้านการอนุบาลลูกกุ้งทะเล



2. แฟ้มสะสมงานด้านการอนุบาลลูกกุ้งทะเล



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบอบรมใบผ่านงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



            หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎหมายหรือเกณฑ์ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน



1. การสอบปากเปล่า


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



 



(ก) คำแนะนำ



1. มีแนวทางการเลือกใช้น้ำตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำที่เหมาะสมกับการอนุบาลลูกกุ้งทะเล



2. มีแนวทางการเลือกใช้น้ำตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำที่เหมาะสมกับการอนุบาลลูกกุ้งทะเลในแต่ละระยะการพัฒนาการ ได้แก่ ความเป็นกรด-ด่าง ความเค็ม ออกซิเจนละลายน้ำ  อุณหภูมิ ไนไตรท ไนเตรท แอมโมเนีย อัลคาไลนิตี้ และความกระด้างของน้ำ และการควบคุมให้น้ำมีคุณภาพดีต่อเนื่อง



3. เข้าใจวิธีการขั้นตอนการทำความสะอาดร่างกายการเปลี่ยนชุด ของผู้เข้าโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล เพื่อให้โรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล ปราศจากเชื้อโรค



4. เข้าใจวิธีการขั้นตอนฆ่าเชื้อที่ยานพาหนะ



5. เข้าใจวิธีการขั้นตอนทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ ก่อนและหลังใช้งาน



6. เข้าใจวิธีการขั้นตอนฆ่าเชื้อวัสดุอุปกรณ์ก่อนและหลังใช้งาน โดยการใช้สารเคมีหรือการนึ่งฆ่าเชื้อ (Autoclave) ได้อย่างเหมาะสม



7. รู้ประเภทของเครื่องมือและวิธีการป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะนำโรค



8. เข้าใจและเลือกวิธีที่เหมาะสมในการกำจัดสัตว์พาหะนำโรค



9. เข้าใจวิธีการจัดเก็บอาหารที่ให้พ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล และรักษาคุณภาพได้นาน



10. รู้และสามารถตรวจนับปริมาณโปรโตซัว แบคทีเรีย ที่ปนเปื้อนในอาหารที่ให้ลูกกุ้ง



11. รู้ เข้าใจ และเลือกใช้วัสดุสำหรับการกรองอากาศที่สามารถลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในอากาศ



12. มีการจดบันทึกการใช้ อฟฟฟฟายุใช้งาน เพื่อกำหนดระยะเวลาทำความสะอาดตัวกรองอากาศหรือการเปลี่ยนตัวกรองอากาศ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. เข้าใจวิธีการขั้นตอนทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ ก่อนและหลังใช้งาน



1.1 อุปกรณ์ ได้แก่ สวิง หัวทราย สายยาง แก้วตวง



2. เข้าใจวิธีการขั้นตอนฆ่าเชื้อวัสดุอุปกรณ์ก่อนและหลังใช้งาน โดยการใช้สารเคมีหรือการนึ่งฆ่าเชื้อ (Autoclave)



2.1 สารเคมี ได้แก่ คลอรีน โพวิโดนไอโอดีน



3. รู้ประเภทของเครื่องมือและวิธีการป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะนำโรค



3.1 เครื่องมือ ได้แก่ ที่ดักหนู ตาข่ายกันนก ถุงกรอง



4. รู้และสามารถตรวจนับปริมาณโปรโตซัว แบคทีเรีย ที่ปนเปื้อนในอาหารที่ให้ลูกกุ้ง



4.1 อาหารที่ให้ลูกกุ้ง  ได้แก่ อาร์ทิเมีย แพลงก์ตอน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. แบบประเมินการสอบปากเปล่า



          2. เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม เช่น บันทึกการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมงานและเอกสารผ่านการฝึกอบรมด้านการอนุบาลลูกกุ้งทะเล



ยินดีต้อนรับ