หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรคของลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ก่อนขาย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AQA-3-050ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรคของลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ก่อนขาย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพผู้อนุบาลลูกกุ้งทะเล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย  สามารถกำหนดประเภทและชนิดของเชื้อก่อโรคที่ห้ามปนเปื้อนในลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) และตรวจสอบปริมาณของเชื้อก่อโรคที่ห้ามปนเปื้อนในลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL)

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล          ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ          นักศึกษาในสาขาวิชาประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 08 Unit Group  1312 (Aquaculture and fisheries production managers)                                     6221 (Aquaculture workers)                                     9216 (Fishery and aquaculture labourers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20602.01 กำหนดประเภทและชนิดของเชื้อก่อโรคที่ห้ามปนเปื้อนในลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) 1.1 ระบุชนิดของเชื้อก่อโรคที่ห้ามพบในตัวลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ได้ 20602.01.01 55823
20602.01 กำหนดประเภทและชนิดของเชื้อก่อโรคที่ห้ามปนเปื้อนในลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) 1.2 ระบุเกณฑ์มาตรฐานการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรคที่ห้ามพบในตัวลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ 20602.01.02 55824
20602.02 ตรวจสอบปริมาณของเชื้อก่อโรคที่ห้ามปนเปื้อนในลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) 2.1 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ 20602.02.01 55825
20602.02 ตรวจสอบปริมาณของเชื้อก่อโรคที่ห้ามปนเปื้อนในลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) 2.2 ระบุขั้นตอนการตรวจสอบชนิดและจำนวนเชื้อก่อโรคที่ปนเปื้อนในลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) 20602.02.02 55826

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          1. สำรวจสถานที่ตั้งโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล



          2. มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเลจีเอพี



          3. จัดเตรียมใช้และบำรุงรักษาบ่อและวัสดุอุปกรณ์ในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล



          4. เตรียมน้ำเพื่อใช้ในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล



          5. จัดการลูกกุ้งทะเลที่พบเชื้อก่อโรคและป่วย



          6. ตรวจสอบความสมบูรณ์ แข็งแรงลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ก่อนขาย



          7. รวบรวมและบรรจุลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL)        



          8. ขนส่งและควบคุมสภาพแวดล้อมระหว่างการขนส่งลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะระดับฝีมือเฉพาะทางและเทคนิคในการปฏิบัติงาน



2. มีทักษะในการเชื่อมโยงความรู้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ



3. มีทักษะด้านความปลอดภัยการสื่อสารด้วยภาษาไทย ภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียน



4. มีทักษะพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ



5. มีทักษะนับปริมาณของเชื้อก่อโรคที่ห้ามปนเปื้อนในลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการ วิธีการ ในสาขาวิชาชีพเฉพาะ



2. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง



3. มีความรู้ ความเข้าใจในภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการประกอบอาชีพ



4. มีความรู้ ความเข้าใจในการตรวจชนิด จำนวนโปรโตซัว แบคทีเรียและไวรัสในตัวลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. บันทึกการปฏิบัติงานด้านการอนุบาลลูกกุ้งทะเล



2. แฟ้มสะสมงานด้านการอนุบาลลูกกุ้งทะเล



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบอบรมใบผ่านงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



                   หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎหมายหรือเกณฑ์ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน



1. การทดสอบแบบข้อเขียน (อัตนัย)


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



1. รู้ประเภทและชนิดของเชื้อก่อโรคทั้ง โปรโตซัว แบคทีเรีย และไวรัส ที่ห้ามปนเปื้อนในลูกกุ้งระยะโพสลาวาร์ (PL)



2. ทราบเกณฑ์มาตรฐานการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค ทั้งประเภท ชนิด จำนวนโปรโตซัว แบคทีเรีย และไวรัส ที่ห้ามพบในตัวลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์



3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อการสุ่มได้ครบถ้วน วิธีการสุ่มที่ถูกหลักวิชาการที่สามารถได้ตัวแทนลูกกุ้งที่จะนำมาใช้ตรวจชนิดและนับจำนวนโปรโตซัว แบคทีเรีย และไวรัส ที่ปนเปื้อนในลูกกุ้งระยะโพสลาวาร์ (PL)



4. ระบุขั้นตอนการตรวจสอบชนิดและจำนวนเชื้อก่อโรคที่ปนเปื้อนในลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) และนับจำนวนเชื้อก่อโรคที่ปนเปื้อน ได้แก่ โปรโตซัว แบคทีเรีย และไวรัส ที่ปนเปื้อนในลูกกุ้งระยะโพสลาวาร์ (PL)           



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. รู้ประเภทและชนิดของเชื้อก่อโรคทั้ง โปรโตซัว แบคทีเรีย และไวรัส ที่ห้ามปนเปื้อนในลูกกุ้งระยะโพสลาวาร์ (PL)



1.1 ลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (Post Larva, PL) หรือที่เรียกว่า กุ้งพี  หมายถึง   ลูกกุ้งที่พัฒนามาจากลูกกุ้งทะเลระยะนอเพลียส ลูกกุ้งทะเลระยะไมซิส จนพัฒนาเป็นลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์



2. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อการสุ่มได้ครบถ้วน วิธีการสุ่มที่ถูกหลักวิชาการที่สามารถได้ตัวแทนลูกกุ้งที่จะนำมาใช้ตรวจชนิดและนับจำนวนโปรโตซัว แบคทีเรีย และไวรัส ที่ปนเปื้อนในลูกกุ้งระยะโพสลาวาร์ (PL)



2.1 วัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ สวิง กะละมัง กล้องจุลทรรศน์ สไลด์ กระจกปิดสไลด์ จานเพาะเชื้อ อาหารเลี้ยงเชื้อ หลอดทดลอง ชุดทดสอบไวรัส


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. แบบทดสอบแบบข้อเขียน (อัตนัย)



          2. เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม เช่น บันทึกการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมงานและเอกสารผ่านการฝึกอบรมด้านการอนุบาลลูกกุ้งทะเล



ยินดีต้อนรับ