หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สำรวจสถานที่ตั้งโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AQA-2-031ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สำรวจสถานที่ตั้งโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพผู้อนุบาลลูกกุ้งทะเล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย มีทักษะในการสำรวจทางภูมิศาสตร์และแหล่งน้ำ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล          ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ          นักศึกษาในสาขาวิชาประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 08 Unit Group   1312 (Aquaculture and fisheries production managers)                                       6221 (Aquaculture workers)                                       9216 (Fishery and aquaculture labourers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20101.01 สำรวจทางภูมิศาสตร์ 1.1 หาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ 20101.01.01 55704
20101.01 สำรวจทางภูมิศาสตร์ 1.2 ระบุข้อมูลประวัติภัยธรรมชาติของพื้นที่ 20101.01.02 55705
20101.02 สำรวจแหล่งน้ำ 2.1 ระบุขั้นตอนตรวจสอบปริมาณแหล่งน้ำทะเล และแหล่งน้ำจืด 20101.02.01 55706
20101.02 สำรวจแหล่งน้ำ 2.2 ระบุขั้นตอนตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำทะเลและแหล่งน้ำจืด 20101.02.02 55707

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    1. มีความรู้ในการเขียน อ่าน พูด ภาษาไทยได้และคำนวณขั้นพื้นฐาน



    2. มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวกับงาน หรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะกึ่งฝีมือ สามารถทำงานประจำตามลักษณะวิชาชีพดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการทำงานที่เหมาะสม



2. มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน



3. มีทักษะการคิด การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ สามารถสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียนในการประกอบอาชีพเบื้องต้น สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานที่พบประจำ



4. มีทักษะเรื่องความปลอดภัย



5. มีทักษะการหาข้อมูลทางภูมิศาสตร์และประวัติภัยธรรมชาติของพื้นที่   

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ในการเขียน อ่าน พูด คำนวณ ขั้นพื้นฐาน



2. มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวกับงาน หรือภาษาในประเทศอาเซียน ที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น



3. มีความรู้เรื่องการตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำทะเลและแหล่งน้ำจืด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. บันทึกการปฏิบัติงานด้านการอนุบาลลูกกุ้งทะเล



2. แฟ้มสะสมงานด้านการอนุบาลลูกกุ้งทะเล



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบอบรมใบผ่านงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



                หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎหมายหรือเกณฑ์ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน      



1. การทดสอบแบบข้อเขียน (ปรนัย)



2. การสอบปากเปล่า


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ     ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



1. ข้อมูลจากระบบสารสนเทศ ประเภทดินเพื่อประเมินการทรุดตัวของโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล                          



2. ข้อมูลภูมิอากาศในรอบปี



3. ข้อมูลสถานประกอบการรอบพื้นที่ จากระบบ GIS   



4. ข้อมูลเชิงพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกวิทยาและทางภัยธรรมชาติที่ผ่านมา    



5. ข้อมูลร่องรอยภัยธรรมชาติในพื้นที่



6. ตรวจสอบประวัติปริมาณและคุณภาพน้ำทะเลและน้ำจืดย้อนหลังตลอดทั้งปี



7. ตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำทะเลและน้ำจืด ทางกายภาพและทางเคมี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. ตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำทะเลและน้ำจืด ทางกายภาพและทางเคมี



1.1 คุณภาพน้ำทางกายภาพ ได้แก่  ความขุ่นใส สี กลิ่น อุณหภูมิ ความเค็ม



1.2 คุณภาพน้ำทางเคมี ได้แก่ ไนไตรท์ ไนเตรท แอมโมเนีย คลอรีน อัลคาไลนิตี้  ความกระด้างของน้ำ  ความเป็นกรด-ด่าง  ออกซิเจนละลายน้ำ         


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. แบบทดสอบแบบข้อเขียน (ปรนัย)



          2. แบบประเมินการสอบปากเปล่า

          3. เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม เช่น บันทึกการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมงานและเอกสารผ่านการฝึกอบรมด้านการอนุบาลลูกกุ้งทะเล



ยินดีต้อนรับ