หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการลูกกุ้งทะเลที่พบเชื้อก่อโรคและป่วย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AQA-2-048ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการลูกกุ้งทะเลที่พบเชื้อก่อโรคและป่วย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพผู้อนุบาลลูกกุ้งทะเล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย  ติดตามอาการลูกกุ้งทะเลที่ตรวจพบเชื้อก่อโรคและสามารถหาแนวทางการรักษาลูกกุ้งทะเลที่ป่วยได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล          ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ          นักศึกษาในสาขาวิชาประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 08 Unit Group 1312 (Aquaculture and fisheries production managers)                                     6221 (Aquaculture workers)                                     9216 (Fishery and aquaculture labourers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20503.01 ติดตามอาการลูกกุ้งทะเลที่ตรวจพบเชื้อก่อโรค 1.1 ระบุวิธีการเฝ้าระวังและตรวจสอบเชื้อก่อโรคที่พบในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล 20503.01.01 55812
20503.01 ติดตามอาการลูกกุ้งทะเลที่ตรวจพบเชื้อก่อโรค 1.2 ระบุอาการป่วยของลูกกุ้งทะเล 20503.01.02 55813
20503.01 ติดตามอาการลูกกุ้งทะเลที่ตรวจพบเชื้อก่อโรค 1.3 ระบุปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ลูกกุ้งทะเลทะเลป่วย 20503.01.03 55814
20503.02 หาแนวทางการรักษาลูกกุ้งทะเลที่ป่วย 2.1 ระบุวิธีการคัดแยกและลักษณะลูกกุ้งทะเลทะเลป่วย 20503.02.01 55815
20503.02 หาแนวทางการรักษาลูกกุ้งทะเลที่ป่วย 2.2 ระบุวิธีกำจัดซากกุ้งป่วยและตาย 20503.02.02 55816
20503.02 หาแนวทางการรักษาลูกกุ้งทะเลที่ป่วย 2.3 ระบุการรักษากุ้งป่วย 20503.02.03 55817

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีความรู้ในการเขียน อ่าน พูด ภาษาไทยได้ และคำนวณขั้นพื้นฐาน



2. มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวกับงาน หรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะกึ่งฝีมือ สามารถทำงานประจำตามลักษณะวิชาชีพดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการทำงานที่เหมาะสม



2. มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน



3. มีทักษะการคิด การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ สามารถสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียนในการประกอบอาชีพเบื้องต้น สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานที่พบประจำ



4. มีทักษะเรื่องความปลอดภัย



5. มีทักษะเรื่องการเฝ้าระวังและตรวจสอบเชื้อก่อโรคชนิดที่พบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ในการเขียน อ่าน พูด คำนวณ ขั้นพื้นฐาน



2. มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวกับงาน หรือภาษาในประเทศอาเซียน ที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น



3. มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ลูกกุ้งทะเลป่วย  


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. บันทึกการปฏิบัติงานด้านการอนุบาลลูกกุ้งทะเล



2. แฟ้มสะสมงานด้านการอนุบาลลูกกุ้งทะเล



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบอบรมใบผ่านงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎหมายหรือเกณฑ์ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน



1. การทดสอบแบบข้อเขียน (อัตนัย)


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



1. สุ่มตรวจและสังเกตอาการป่วยและระดับความรุนแรงของโรคในลูกกุ้งทะเล



2. คุณภาพค่าน้ำที่เหมาะสมทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  และไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงสูงในรอบวัน



3. ความผิดปกติลูกกุ้งทะเลป่วยจากพฤติกรรมการว่ายน้ำ กินอาหาร ลักษณะภายนอก



 4. กำจัดซากกุ้งป่วยและตายด้วยสารเคมีและวิธีทางกายภาพ ได้แก่ การเผา การฝังกลบ



5. รักษากุ้งป่วย ตามอาการของเชื้อก่อโรคด้วยสารเคมีและยาที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้กับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตามประกาศของกรมประมง



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. ระบุอาการป่วยของลูกกุ้งทะเล



1.1  อาการป่วยของลูกกุ้งทะเล ได้แก่ การเปลี่ยนสีลำตัว การกินอาหารน้อยลง พฤติกรรมการว่ายน้ำ



2. กำจัดซากกุ้งป่วยและตายด้วยสารเคมีและวิธีทางกายภาพ ได้แก่ การเผา การฝังกลบ



2.1 สารเคมี ได้แก่ คลอรีน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. การทดสอบแบบข้อเขียน (อัตนัย)

          2. เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม เช่น บันทึกการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมงานและเอกสารผ่านการฝึกอบรมด้านการอนุบาลลูกกุ้งทะเล



ยินดีต้อนรับ