หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนและออกแบบระบบไฟฟ้าและความปลอดภัยในโรงเพาะฟักกุ้งทะเล

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AQA-3-007ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนและออกแบบระบบไฟฟ้าและความปลอดภัยในโรงเพาะฟักกุ้งทะเล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพผู้เพาะฟักกุ้งทะเล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
           หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยมีความสามารถคำนวณกำลังไฟฟ้าทั้งระบบในโรงเพาะฟักกุ้งทะเลและรู้วิธีใช้ บำรุงรักษาและความปลอดภัย  

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบอาชีพเพาะฟักกุ้งทะเล          ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ          นักศึกษาในสาขาวิชาประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 08 Unit Group  1312 (Aquaculture and fisheries production managers)                                      6221 (Aquaculture workers)                                      9216 (Fishery and aquaculture labourers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10205.01 คำนวณกำลังไฟฟ้าทั้งระบบในโรงเพาะฟักกุ้งทะเล 1.1 อธิบายคุณลักษณะเฉพาะ (specification) เครื่องมือและอุปกรณ์ประเภทต่างๆที่ใช้ไฟฟ้าในโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเลทั้งระบบ 10205.01.01 55554
10205.01 คำนวณกำลังไฟฟ้าทั้งระบบในโรงเพาะฟักกุ้งทะเล 1.2 ระบุวิธีการคำนวณกำลังไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้าในโรงเพาะฟักกุ้งทะเล 10205.01.02 55555
10205.01 คำนวณกำลังไฟฟ้าทั้งระบบในโรงเพาะฟักกุ้งทะเล 1.3 คำนวณกำลังไฟฟ้า 10205.01.03 55556
10205.02 ใช้และบำรุงรักษาและจัดทำความปลอดภัย 2.1 ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆในโรงเพาะฟักกุ้งทะเล 10205.02.01 55557
10205.02 ใช้และบำรุงรักษาและจัดทำความปลอดภัย 2.2 ตรวจสอบการใช้งานและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ 10205.02.02 55558
10205.02 ใช้และบำรุงรักษาและจัดทำความปลอดภัย 2.3 ระบุขั้นตอนการจัดทำระบบความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าที่ใช้ในโรงเพาะฟักกุ้งทะเล 10205.02.03 55559

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          1. มีความรู้ในการเขียน อ่าน พูด ภาษาไทยได้และคำนวณขั้นพื้นฐาน



          2. มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวกับงาน หรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น

          3. สำรวจสถานที่ตั้งโรงเพาะฟักกุ้งทะเล

          4. มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานโรงเพาะฟักกุ้งทะเลจีเอพี

          5. จัดเตรียมใช้และบำรุงรักษาบ่อและวัสดุอุปกรณ์ในการเพาะฟักกุ้งทะเล

          6. เตรียมน้ำเพื่อใช้ในโรงเพาะฟักกุ้งทะเล



          7. เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล



          8. ผสมพันธุ์กุ้งทะเล



          9. ตรวจสอบการพัฒนาการของรังไข่ (Ovarian Development) และการวางไข่ (Spawning)



          10. ฟักไข่กุ้งทะเล



          11. ตรวจสอบและประเมินผลผลิตลูกกุ้งทะเลระยะนอเพลียสจากแม่กุ้งทะเลที่วางไข่



          12. รวบรวมและบรรจุลูกกุ้งทะเลระยะนอเพลียส



          13. ขนส่งและควบคุมสภาพแวดล้อมระหว่างการขนส่งลูกกุ้งทะเลระยะนอเพลียส


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะระดับฝีมือเฉพาะทางและเทคนิคในการปฏิบัติงาน



2. มีทักษะในการเชื่อมโยงความรู้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ



3. มีทักษะด้านความปลอดภัยการสื่อสารด้วยภาษาไทย ภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียน



4. มีทักษะพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ



5. มีทักษะในการใช้และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ วิธีการในสาขาวิชาชีพเฉพาะ



2. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง



3. มีความรู้ ความเข้าใจในภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียน ที่ใช้ในการประกอบอาชีพ



4. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์ประเภทต่างๆ เพื่อคำนวณกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในโรงเพาะฟักกุ้งทะเลทั้งระบบ



5. มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องระบบความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าปกติและระบบไฟฟ้าสำรอง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. บันทึกการปฏิบัติงานด้านการเพาะฟักกุ้งทะเล



2. แฟ้มสะสมงานด้านการเพาะฟักกุ้งทะเล



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบอบรมใบผ่านงาน (ถ้ามี)



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



                หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



 (ง) วิธีการประเมิน



1. การทดสอบแบบข้อเขียน (อัตนัย)  



2. การสอบปากเปล่า    


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



             1. เข้าใจถึงคุณลักษณะของเครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในโรงเพาะฟักกุ้งทะเล



             2. สามารถคำนวณกำลังไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ในโรงเพาะฟักกุ้งทะเลได้ถูกต้อง โดยคำนวณจาก จำนวนวัตต์ต่อโวลล์



             3. ตรวจสอบการใช้งานและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ใช้ในโรงเพาะฟักกุ้งทะเลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน รวมทั้งบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง



             4. มีการบันทึกและตรวจสอบการใช้งานและการชำรุดของอุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งระบบไฟฟ้าปกติและระบบไฟฟ้าสำรองและระบบเตือนอย่างสม่ำเสมอ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



             1. เข้าใจถึงคุณลักษณะของเครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในโรงเพาะฟักกุ้งทะเล



                   1.1 เครื่องมือและอุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องเพิ่มอากาศ ปั๊มน้ำ หลอดไฟฟ้า เครื่องควบคุมอุณหภูมิน้ำทั้งเครื่องเพิ่มอุณหภูมิ (Heater) และ เครื่องลดอุณหภูมิ (Chiller)



                   1.2 คุณลักษณะเฉพาะ (specification) ของปั๊มน้ำหมายถึง จำนวนวัตต์ จำนวนแรงม้า อัตราไหลของน้ำ ลิตรต่อชั่วโมง



             2. มีการบันทึกและตรวจสอบการใช้งานและการชำรุดของอุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งระบบไฟฟ้าปกติและระบบไฟฟ้าสำรองและระบบเตือนอย่างสม่ำเสมอ                



                   2.1 ระบบไฟฟ้าปกติ หมายถึง ระบบไฟฟ้าที่ลักษณะการส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า ตามประเภทการใช้งาน โดยส่งจากสถานีไฟฟ้าผ่านสายไฟฟ้าแรงสูง สถานีไฟฟ้าย่อย หม้อแปลงแปลงไฟฟ้าให้ต่ำลง ไปยังแหล่งที่ต้องการใช้งาน



                   2.2 ระบบไฟฟ้าสำรอง  หมายถึง ระบบไฟฟ้าที่สามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าแทนระบบไฟฟ้าของทางราชการได้ทันที เมื่อไฟฟ้าของทางราชการดับ จึงมั่นใจได้ว่าจะมีไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน และธุรกิจจะไม่เสียหาย



                   2.3 ระบบเตือน คือ สัญญาณเตือน เมื่อปั้มลม ของโรงเพาะฟักกุ้งทะเลไม่ทํางาน ในกรณีปั้มลมเกิดการขัดข้อง หยุดทํางาน เพราะไฟฟ้าดับหรือ ท่อรั่ว/หลุดขาด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. แบบทดสอบแบบข้อเขียน (อัตนัย)



2. แบบประเมินการสอบปากเปล่า

3. เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม เช่น บันทึกการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมงานและเอกสารผ่านการฝึกอบรมด้านการเพาะฟักกุ้งทะเล



ยินดีต้อนรับ