หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ในโรงเพาะฟักกุ้งทะเล

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AQA-3-013ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ในโรงเพาะฟักกุ้งทะเล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพผู้เพาะฟักกุ้งทะเล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย สามารถกักกันพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล ควบคุมการเข้าออกของบุคคลและยานพาหนะ สามารถทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อวัสดุอุปกรณ์ ควบคุมการปนเปื้อนจากสัตว์พาหะ ควบคุมการปนเปื้อนเชื้อโรคจากอาหารที่ให้พ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล ควบคุมการปนเปื้อนจุลินทรีย์จากระบบอากาศในโรงเพาะฟักกุ้งทะเลได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล          ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ          นักศึกษาในสาขาวิชาประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 08 Unit Group  1312 (Aquaculture and fisheries production managers)                                      6221 (Aquaculture workers)                                      9216 (Fishery and aquaculture labourers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10306.01 กักกันพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล 1.1 กำหนดระยะเวลาในการกักกันพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล 10306.01.01 55589
10306.01 กักกันพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล 1.2 สังเกตอาการพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเลรุ่นใหม่ 10306.01.02 55590
10306.01 กักกันพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล 1.3 ตรวจสอบอาการพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเลรุ่นใหม่ 10306.01.03 55591
10306.02 ควบคุมการเข้าออกของบุคคลและยานพาหนะ 2.1 อธิบายขั้นตอนทำความสะอาดร่างกายก่อนเข้าโรงเพาะฟักกุ้งทะเล 10306.02.01 55592
10306.02 ควบคุมการเข้าออกของบุคคลและยานพาหนะ 2.2 ระบุขั้นตอนการฆ่าเชื้อที่ยานพาหนะ 10306.02.02 55593
10306.03 ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อวัสดุอุปกรณ์ 3.1 ทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ 10306.03.01 55594
10306.03 ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อวัสดุอุปกรณ์ 3.2 ฆ่าเชื้อโรควัสดุอุปกรณ์ 10306.03.02 55595
10306.04 ควบคุมการปนเปื้อนจากสัตว์พาหะ 4.1 หาวิธีป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากสัตว์พาหะนำโรค 10306.04.01 55596
10306.04 ควบคุมการปนเปื้อนจากสัตว์พาหะ 4.2 ระบุวิธีการกำจัดสัตว์พาหะนำโรค 10306.04.02 55597
10306.05 ควบคุมการปนเปื้อนเชื้อโรคจากอาหารที่ให้พ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล 5.1 จัดเก็บอาหารที่ให้พ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล 10306.05.01 55598
10306.05 ควบคุมการปนเปื้อนเชื้อโรคจากอาหารที่ให้พ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล 5.2 ตรวจปริมาณเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในอาหารที่ให้พ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล 10306.05.02 55599
10306.06 ควบคุมการปนเปื้อนจุลินทรีย์จากระบบอากาศในโรงเพาะฟักกุ้งทะเล 6.1 ระบุขั้นตอนการตรวจปริมาณเชื้อโรคที่ปนเปื้อนจากระบบอากาศในโรงเพาะฟักกุ้งทะเล 10306.06.01 55600
10306.06 ควบคุมการปนเปื้อนจุลินทรีย์จากระบบอากาศในโรงเพาะฟักกุ้งทะเล 6.2 กำหนดระยะเวลาทำความสะอาดตัวกรองอากาศ 10306.06.02 55601
10306.06 ควบคุมการปนเปื้อนจุลินทรีย์จากระบบอากาศในโรงเพาะฟักกุ้งทะเล 6.3 ตรวจสอบการทำความสะอาดตัวกรองอากาศ 10306.06.03 55602

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          1. มีความรู้ในการเขียน อ่าน พูด ภาษาไทยได้และคำนวณขั้นพื้นฐาน



          2. มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวกับงานหรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น

          3. สำรวจสถานที่ตั้งโรงเพาะฟักกุ้งทะเล

          4. มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานโรงเพาะฟักกุ้งทะเลจีเอพี

          5. จัดเตรียมใช้และบำรุงรักษาบ่อและวัสดุอุปกรณ์ในการเพาะฟักกุ้งทะเล

          6. เตรียมน้ำเพื่อใช้ในโรงเพาะฟักกุ้งทะเล



          7. เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล



          8. ผสมพันธุ์กุ้งทะเล



          9. ตรวจสอบการพัฒนาการของรังไข่ (Ovarian Development) และการวางไข่ (Spawning)



          10. ฟักไข่กุ้งทะเล



          11. ตรวจสอบและประเมินผลผลิตลูกกุ้งทะเลระยะนอเพลียสจากแม่กุ้งทะเลที่วางไข่



          12. รวบรวมและบรรจุลูกกุ้งทะเลระยะนอเพลียส



          13. ขนส่งและควบคุมสภาพแวดล้อมระหว่างการขนส่งลูกกุ้งทะเลระยะนอเพลียส


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะระดับฝีมือเฉพาะทางและเทคนิคในการปฏิบัติงาน



2. มีทักษะในการเชื่อมโยงความรู้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ



3. มีทักษะด้านความปลอดภัยการสื่อสารด้วยภาษาไทย ภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียน



4. มีทักษะพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ



5. มีทักษะการแยกพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเลรุ่นใหม่ในพื้นที่ที่กำหนดไว้และเฝ้าสังเกตอาการ



6. มีทักษะในการหาแนวทางป้องกันการปนเปื้อนจากสัตว์พาหะ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการวิธีการในสาขาวิชาชีพเฉพาะ



2. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง



3. มีความรู้ ความเข้าใจในภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียน ที่ใช้ในการประกอบอาชีพ



4. มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการทำความสะอาดร่างกาย การเปลี่ยนชุดของผู้เข้าโรงเพาะฟักกุ้งทะเล



5. มีความรู้ ความเข้าใจในการฆ่าเชื้อที่ยานพาหนะ



6. มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการตรวจปริมาณเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในอาหาร ที่ให้พ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. บันทึกการปฏิบัติงานด้านการเพาะฟักกุ้งทะเล



2. แฟ้มสะสมงานด้านการเพาะฟักกุ้งทะเล



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบอบรมใบผ่านงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



                    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎหมายหรือเกณฑ์ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน



1. การสอบปากเปล่า


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



1. เข้าใจวิธีการขั้นตอนทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ ก่อนและหลังใช้งาน



2. เข้าใจวิธีการขั้นตอนฆ่าเชื้อวัสดุอุปกรณ์ก่อนและหลังใช้งาน โดยการใช้สารเคมีหรือการนึ่งฆ่าเชื้อ (Autoclave)



3. รู้ประเภทของเครื่องมือและวิธีการป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะนำโรค



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. เข้าใจวิธีการขั้นตอนทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ ก่อนและหลังใช้งาน



1.1 อุปกรณ์ ได้แก่ สวิง หัวทราย สายยาง แก้วตวง



2. เข้าใจวิธีการขั้นตอนฆ่าเชื้อวัสดุอุปกรณ์ก่อนและหลังใช้งาน โดยการใช้สารเคมีหรือการนึ่งฆ่าเชื้อ (Autoclave)



2.1 สารเคมี ได้แก่ คลอรีน โพวิโดนไอโอดีน



3. รู้ประเภทของเครื่องมือและวิธีการป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะนำโรค



3.1 เครื่องมือ ได้แก่ ที่ดักหนู ตาข่ายกันนก


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. แบบประเมินการสอบปากเปล่า



          2. เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม เช่น บันทึกการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมงานและเอกสารผ่านการฝึกอบรมด้านการเพาะฟักกุ้งทะเล



ยินดีต้อนรับ