หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยอาหาร

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-FID-5-005ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยอาหาร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


3122 หัวหน้าควบคุมงานด้านการผลิต




7512 ผู้ทำขนมปัง ขนมเค้ก ขนมหวานและลูกกวาด




7513 ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นม




7514 ผู้ถนอมผลไม้ พืชผัก และผู้ถนอมอาหารที่เกี่ยวข้อง




7515 ผู้ชิมรสและจัดระดับระดับคุณภาพของอาหารและเครื่องดื่ม




8160 ผู้ควบคุมเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการการจำแนกอันตรายทางกายภาพ เคมี จุลินทรีย์ และสารก่อภูมิแพ้ในขั้นตอนการผลิตอาหาร รวบรวมข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยอาหาร เขียนขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหาร(Food  Safety Procedure)และทบทวนให้เป็นปัจจุบันหน่วยสมรรถนะนี้เหมาะกับผู้เข้ารับการประเมินที่มีทักษะฝีมือ สามารถใช้ทฤษฎีและเทคนิคอย่างอิสระด้วยตนเอง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมอาหาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติอาหาร พุทธศักราช 2522- พระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522- พระราชบัญญัติ มาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503- พระราชบัญญัติ คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551- พระราชบัญญัติ การมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใชในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติ: หลักการทั่วไปเกี่ยวกับ  สุขลักษณะอาหาร ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2550 (มกษ. 9023-2550) - สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม มอก.34-2546 ข้อปฏิบัติแนะนำระหว่างประเทศ: หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร (หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร)- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม มอก.7000-2549 ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร และคำแนะนำในการนำไปใช้

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
51010101 จำแนกสิ่งปนเปื้อนและสารก่อภูมิแพ้ในวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ กระบวนการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร -จำแนกสิ่งที่จะปนเปื้อนจากวัตถุดิบที่สามารถพบ 51010101.01 54836
51010101 จำแนกสิ่งปนเปื้อนและสารก่อภูมิแพ้ในวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ กระบวนการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร -จำแนกสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ในวัตถุดิบ 51010101.02 61502
51010101 จำแนกสิ่งปนเปื้อนและสารก่อภูมิแพ้ในวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ กระบวนการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร -จำแนกสิ่งที่จะปนเปื้อนระหว่างขั้นตอนการผลิตที่สามารถพบ 51010101.03 61503
51010101 จำแนกสิ่งปนเปื้อนและสารก่อภูมิแพ้ในวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ กระบวนการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร -จำแนกสิ่งที่จะปนเปื้อนในขั้นตอนการเก็บรักษาและการขนส่ง 51010101.04 61504
51010102 รวบรวมข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยอาหาร -รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบข้อบังคับกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในประเทศและประเทศคู่ค้า 51010102.01 54837
51010102 รวบรวมข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยอาหาร -รวบรวมข้อมูลด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการผลิต 51010102.02 61505
51010102 รวบรวมข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยอาหาร -รวบรวมข้อมูลทั่วไปที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยอาหาร 51010102.03 61506
51010103 เขียนขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหารและทบทวนให้เป็นปัจจุบัน (Procedure) -กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานได้ถูกต้องและมีประสิทธิผล 51010103.01 54838
51010103 เขียนขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหารและทบทวนให้เป็นปัจจุบัน (Procedure) -ทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหารให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและกฎหมายที่กำหนด 51010103.02 61507
51010103 เขียนขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหารและทบทวนให้เป็นปัจจุบัน (Procedure) -ปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหารให้เป็นปัจจุบัน 51010103.03 61508
51010104 ควบคุมเอกสารและบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหาร -ระบุรายการเอกสารและบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหาร 51010104.01 54839
51010104 ควบคุมเอกสารและบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหาร -ทวนสอบเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงานและบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหารให้เป็นปัจจุบัน 51010104.02 61509
51010104 ควบคุมเอกสารและบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหาร -จัดเก็บหรือทำลายเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงานและบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหาร 51010104.03 61510

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- ความรู้และทักษะเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหารสากล




- ความรู้และทักษะเกี่ยวกับระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะการสืบค้นข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ




2. ทักษะการเขียนขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหาร (Food Safety Procedure) และทบทวนให้เป็นปัจจุบัน




3. ทักษะในการระบุ ทวนสอบ จัดเก็บหรือทำลายเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงานและบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความรู้เกี่ยวกับเรื่องรายการสารก่อภูมิแพ้ของประเทศไทยและประเทศคู่ค้า




2. ความรู้เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายอาหารและการแสดงฉลาก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




ไม่มี




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




ไม่มี




     (ค) คำแนะนำในการประเมิน




 N/A




     (ง) วิธีการประเมิน




- การสอบข้อเขียน หรือ




- ใช้ผลการทดสอบการขึ้นทะเบียนนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร (CFoP) หมวดวิชา การประกันคุณภาพและสุขาภิบาลอาหาร


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ก) คำแนะนำ




 หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




- อันตรายในอาหาร (Food Hazard) หมายถึง สิ่งที่มีลักษณะทางชีวภาพ (จุลินทรีย์ ไวรัส โปรโตซัว พยาธิ) ทางเคมี (สารฆ่าแมลง สารพิษจากจุลินทรีย์ สารปฏิชีวนะ โลหะหนัก สารหล่อลื่น สารฆ่าเชื้อ วัตถุ    เจือปนอาหาร) หรือทางกายภาพ (เศษแก้ว เศษโลหะ เศษไม้ เศษหิน) ที่มีผลทำให้ผู้บริโภคเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ




- สารก่อภูมิแพ้ หมายถึง สารอาหารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ มักเป็นสารอาหารประเภทโปรตีนที่ทนต่อความร้อน ทนต่อการย่อยในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถจำแนกได้ 8 ชนิด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 383) พ.ศ. 2560 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ 2)




- กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในประเทศและประเทศคู่ค้า หมายถึง กฎหมายอาหารที่เกี่ยวกับสถานที่ผลิต ผลิตภัณฑ์ และการแสดงฉลาก ทั้งของประเทศไทยและประเทศคู่ค้า




- ข้อมูลทั่วไป หมายถึง ข่าวสาร ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์




- ถูกต้อง หมายถึง เป็นไปตามขั้นตอนวงจรคุณภาพ (PDCA) และตามหลักวิชาการ




- ประสิทธิผล หมายถึง การดำเนินการที่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้และสอดคล้องตามหลักวิชาการ




- เอกสารที่เกี่ยวข้อง หมายถึง เอกสารที่เกี่ยวกับหลักการสุขลักษณะที่ดีในการผลิต เช่น GMP, HACCP ในฝ่ายที่ตนเองรับผิดชอบ




- ทบทวนให้เป็นปัจจุบัน หมายถึง การปรับปรุงข้อมูลรายชื่อผู้ครอบครองและเอกสารให้เป็นปัจจุบันตามระบบควบคุมเอกสาร (Document Control System)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


- การสอบข้อเขียน หรือ




- ใช้ผลการทดสอบการขึ้นทะเบียนนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร (CFoP) หมวดวิชา การประกันคุณภาพและสุขาภิบาลอาหาร



ยินดีต้อนรับ