หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การป้องกันและแก้ไขปัญหางานพิมพ์ออฟเซต

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRS-3-059ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การป้องกันและแก้ไขปัญหางานพิมพ์ออฟเซต

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพิมพ์ออฟเซตเฉพาะทาง ช่างตรวจสอบคุณภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการพิมพ์สิ่งพิมพ์ได้ มีใช้ฝีมือเฉพาะทางและเทคนิคในการปฎิบัติงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
303091 การตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหางานพิมพ์ออฟเซต 1.1 เลือกเครื่องมือในการตรวจสอบปัญหางานพิมพ์ออฟเซตได้ 303091.01 1681
303091 การตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหางานพิมพ์ออฟเซต 1.2ตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาการพิมพ์ออฟเซตที่เกิดจากหมึกพิมพ์กระดาษ น้ำยาฟาวน์เทน แม่พิมพ์ และผ้ายางได้ 303091.02 1682
303091 การตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหางานพิมพ์ออฟเซต 1.3ตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาการพิมพ์ออฟเซตที่เกิดจากเครื่องพิมพ์และการควบคุมเครื่องพิมพ์ได้ 303091.03 1683
303091 การตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหางานพิมพ์ออฟเซต 1.4ตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาการพิมพ์ออฟเซตที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงานได้ 303091.04 1684
303091 การตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหางานพิมพ์ออฟเซต 1.5รายงานปัญหาการพิมพ์ออฟเซต 303091.05 1685
303092 การแก้ไขปัญหางานพิมพ์ออฟเซต 2.1วางแผนการแก้ไขปัญหาการพิมพ์ออฟเซตได้ 303092.01 1686
303092 การแก้ไขปัญหางานพิมพ์ออฟเซต 2.2แก้ไขปัญหาการพิมพ์ออฟเซตที่เกิดจากหมึกพิมพ์กระดาษ น้ำยาฟาวน์เทน แม่พิมพ์ และผ้ายางได้ 303092.02 1687
303092 การแก้ไขปัญหางานพิมพ์ออฟเซต 2.3แก้ไขปัญหาการพิมพ์ออฟเซตที่เกิดจากเครื่องพิมพ์และการควบคุมเครื่องพิมพ์ได้ 303092.03 1688
303092 การแก้ไขปัญหางานพิมพ์ออฟเซต 2.4แก้ไขปัญหาการพิมพ์ออฟเซตที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงานได้ 303092.04 1689
303092 การแก้ไขปัญหางานพิมพ์ออฟเซต 2.5รายงานการแก้ไขปัญหาการพิมพ์ออฟเซตได้ 303092.05 1690

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผ่านสมรรถนะการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ และสมรรถนะการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. วางแผนการแก้ไขปัญหาทางการพิมพ์ออฟเซตได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

  2. แก้ไขปัญหาทางการพิมพ์ออฟเซตได้ถูกต้อง

  3. เลือกใช้เครื่องมือในการตรวจสอบปัญหาทางการพิมพ์ออฟเซตได้อย่างถูกต้อง

  4. เตรียมเครื่องมือวัดและปรับตั้งเครื่องให้พร้อมก่อนการใช้งานตามคู่มือการใช้งานเครื่อง

  5. ตรวจสอบและแยกแยะปัญหาทางการพิมพ์ออฟเซตได้ถูกต้อง

  6. วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาทางการพิมพ์ออฟเซตได้อย่างถูกต้อง

  7. รายงานผลปัญหาทางพิมพ์ออฟเซตได้อย่างถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. การใช้งานเครื่องมือตรวจสอบตามคู่มือการใช้งาน

  2. ความรู้ด้านวัสดุและเคมีภัณฑ์ในการพิมพ์ออฟเซต

  3. ความรู้ด้านเครื่องพิมพ์และการควบคุมเครื่องพิมพ์ตามคู่มือการใช้งาน

  4. ความรู้ด้านสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีผลต่อคุณภาพงานพิมพ์

  5. การรายงานผลปัญหาทางการพิมพ์ออฟเซต


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. แผนการแก้ไขปัญหาทางการพิมพ์ออฟเซต

  2. งานพิมพ์ที่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง

  3. ใบรายงานผลการแก้ไขปัญหาทางการพิมพ์

  4. การจัดเตรียมเครื่องมือตรวจสอบปัญหางานพิมพ์

  5. งานพิมพ์ที่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง

  6. ใบรายงานปัญหาทางการพิมพ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. การเลือกใช้งานเครื่องมือในการตรวจสอบปัญหางานพิมพ์

  2. สาเหตุและปัญหาทางการพิมพ์ออฟเซตที่เกี่ยวข้องกับวัสดุและเคมีภัณฑ์

  3. สาเหตุและปัญหาทางการพิมพ์ออฟเซตที่เกี่ยวข้องกับเครื่องพิมพ์และการควบคุมเครื่องพิมพ์

  4. สาเหตุและปัญหาทางการพิมพ์ออฟเซตที่เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อมในการพิมพ์

  5. แก้ไขปัญหาทางการพิมพ์ออฟเซตที่เกี่ยวข้องกับวัสดุและเคมีภัณฑ์

  6. แก้ไขปัญหาทางการพิมพ์ออฟเซตที่เกี่ยวข้องกับเครื่องพิมพ์และการควบคุมเครื่องพิมพ์

  7. แก้ไขปัญหาทางการพิมพ์ออฟเซตที่เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อมในการพิมพ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  1. หลักฐานการปฎิบัติงานที่ต้องการ ได้แก่ ประเมินการเตรียมการ การดำเนินการ และการตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหางานพิมพ์

  2. หลักฐานความรู้ที่ต้องการ ได้แก่ ประเมินวิธีการตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหางานพิมพ์



(ง) วิธีการประเมิน



      N/A


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. เครื่องมือในการตรวจสอบปัญหาการพิมพ์ออฟเซต เช่น กล้องส่องเม็ดสกรีน เครื่องวัดความดำ เครื่องสเปกโทรเดนซิโตมีเตอร์ เครื่องสเปกโทรโฟโต้มีเตอร์

  2. ปัญหาทางการพิมพ์ เช่น ขึ้นพื้น (tinting) สกัม (sacamming) การพิมพ์พร่า (slur) เม็ดสกรีนซ้อน (doubling) การพิมพ์พื้นตายด่าง (mottle) ภาพหลอก (ghosting) ซับหลัง (set off) เป็นต้น



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



       N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 หลักฐานการปฏิบัติงานที่ต้องการ ได้แก่ ผลจาการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงาน/สาธิต กระบวนการปรับตั้งส่วนต่างๆ



18.2 หลักฐานความรู้ที่ต้องการ ได้แก่ ผลการตอบปากเปล่าจาการสัมภาษณ์ และหรือผลการตอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



ยินดีต้อนรับ