หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สรุปผลการตรวจติดตามการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-BQIM-688A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สรุปผลการตรวจติดตามการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อม

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยโรงไฟฟ้าขยะ ระดับ 6



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถดำเนินการสรุปผลและจัดทำรายงานการติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามเกณฑ์การตรวจสอบ รวมถึงการสรุปผลและจัดทำรายงานการติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 25612. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง กําหนดวิธีการเก็บ ทําลายฤทธิ์กําจัด ฝัง ทิ้ง เคลื่อนย้ายและการขนส่งสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2531

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
WPG-ES-6-05-01

สรุปผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม

1. 1. บันทึกสรุปความคิดเห็นและสิ่งที่พบ เกี่ยวกับหลักฐานการตรวจสอบทำการบันทึกสิ่งที่ยังไม่แก้ไข

WPG-ES-6-05-01.01 206447
WPG-ES-6-05-01

สรุปผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม

2. ระบุสิ่งที่พบจากการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม

WPG-ES-6-05-01.02 206448
WPG-ES-6-05-02

จัดทำรายงานสรุปผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม

1. จัดทำรายงานสรุปผลภาพรวมในการติดตามตรวจสอบ

WPG-ES-6-05-02.01 206449
WPG-ES-6-05-02

จัดทำรายงานสรุปผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม

2. จัดส่งรายงานผลการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

WPG-ES-6-05-02.02 206450

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

      มีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีดังนี้



      1. กฎหมายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ



      2. กฎหมายที่ใช้ในการอ้างอิงของการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้แก่ คุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ การจัดการของเสีย ระดับเสียง และความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

N/A

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



      1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

      2. แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



      1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

      2. ประกาศนียบัตรรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการ หรือตามคู่มือความปลอดภัยในการทำงานโรงไฟฟ้าขยะ (ถ้ามี)

      3. ผลการสอบข้อเขียน

      4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์

(ค) วิธีการประเมิน



      1. ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบอัตนัย





15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



      1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

      2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาและป้องกันจากการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

      3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการตรวจสอบและทบทวนกฎระเบียบให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

(ข) คำอธิบายรายละเอียด



      1. การตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม จะครอบคลุมการตรวจติดตามคุณภาพอากาศ น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน

      2. ข้อกำหนดด้านมาตรฐานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม





16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน เสนอแผนนโยบายและแผนการดำเนินกิจกรรมด้านการรักษาความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน



        1. ข้อเขียนปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับ หมวดของชนิดและประเภทสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้ว

18.2 เครื่องมือประเมิน วางแผนการจัดอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างเหมาะสมกับลักษณะงาน



        1. ข้อเขียนปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับ่คุณสมบัติของของเสียอันตราย

        2. ข้อเขียนอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับรายงานและบันทึกด้านสิ่งแวดล้อม






ยินดีต้อนรับ