หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-KTVQ-687A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยโรงไฟฟ้าขยะ ระดับ 6



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถวางแผนการตรวจสอบและการรายงานการปล่อยมลพิษ วางแผนการวิจัยการปรับปรุงเทคโนโลยีเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินกิจกรรม เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาการปรับปรุงเทคโนโลยีเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วางแผนแนวทางการวิจัยและพัฒนาการจัดสรรทรัพยากรให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 25612. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดของโรงงานกำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแล ผู้ปฏิบัติงานประจำ และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน ผู้ควบคุมดูแลสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
WPG-ES-6-04-01

วางแผนการตรวจสอบและการรายงานการปล่อยมลพิษ

1. วางแผนการวิจัยการปรับปรุงเทคโนโลยีเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

WPG-ES-6-04-01.01 206443
WPG-ES-6-04-01

วางแผนการตรวจสอบและการรายงานการปล่อยมลพิษ

2. วางแผนการตรวจสอบและการรายงานการปล่อยมลพิษ

WPG-ES-6-04-01.02 206444
WPG-ES-6-04-02

วางแผนสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแนวทางการวิจัยและพัฒนาการจัดสรรทรัพยากรให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

1. สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสถาบันวิจัย และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการแบ่งปันความรู้ โครงการวิจัย และนวัตกรรม การพัฒนานวัตกรรมที่ยั่งยืน 

WPG-ES-6-04-02.01 206445
WPG-ES-6-04-02

วางแผนสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแนวทางการวิจัยและพัฒนาการจัดสรรทรัพยากรให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

2. สร้างองค์ความรู้และการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนใกล้เคียงในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

WPG-ES-6-04-02.02 206446

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

      มีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีดังนี้



      1. กฎหมายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม

      2. หลักการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การอนุรักษ์พลังงาน และการลดของเสีย การใช้เทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงานและการนำแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้

      3. ความรู้ด้านการประเมินก๊าซเรือนกระจก




(ข) ความต้องการด้านความรู้

      1. ทักษะการสื่อสาร การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในระหว่างเหตุฉุกเฉิน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



      1. แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



      1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

      2. เกียรติบัตร การอบรมหลักสูตร ผู้ประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจก (สถาบันวิทยาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ)

      3. ผลการสอบข้อเขียน

      4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์

(ค) วิธีการประเมิน



      1. ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบอัตนัย

      2. สอบสัมภาษณ์





15. ขอบเขต (Range Statement)

การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรในการประกอบอาชีพของผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นการ ส่งเสริมความยั่งยืน การมีส่วนร่วมของชุมชน และการดูแลสิ่งแวดล้อม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน เสนอแผนนโยบายและแผนการดำเนินกิจกรรมด้านการรักษาความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน



        1. ข้อเขียนปรนัย เช่น ทดสอบความรู้การวิเคราะห์ EIA หรือ COP (ขึ้นอยู่กับขนาดของโรงไฟฟ้าของผู้เข้ารับการประเมิน)

        2. ข้อสอบสัมภาษณ์ เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ

18.2 เครื่องมือประเมิน วางแผนการจัดอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างเหมาะสมกับลักษณะงาน



        1. ข้อเขียนปรนัย เช่น ทดสอบความรู้การปนเปื้อนของสารเคมีสู่สิ่งแวดล้อม

        2. ข้อเขียนอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับแนวทางในส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการยอมรับของชุมชน

        3. ข้อสอบสัมภาษณ์ เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ






ยินดีต้อนรับ