หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-CSJY-685A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยโรงไฟฟ้าขยะ ระดับ 6



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้กระบวนการ ประเมินและวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ ติดตามการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ติดตามการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ติดตามการปฏิบัติตามมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมในประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP) สำหรับโรงไฟฟ้าขยะ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 25492. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดของโรงงานกำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแล ผู้ปฏิบัติงานประจำ และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน ผู้ควบคุมดูแลสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
WPG-ES-6-02-01

ใช้กระบวนการประเมินและวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ

1. ประเมินผลกระทบทางอากาศที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการหรือกิจกรรม

WPG-ES-6-02-01.01 206430
WPG-ES-6-02-01

ใช้กระบวนการประเมินและวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ

2. ประเมินผลกระทบทางน้ำที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการหรือกิจกรรม

WPG-ES-6-02-01.02 206431
WPG-ES-6-02-01

ใช้กระบวนการประเมินและวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ

3. ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับดินและสัตว์ป่าในพื้นที่ที่โครงการกำลังจะดำเนินการ นอกจากนี้ยังรวมถึงการประเมินผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าในพื้นที่

WPG-ES-6-02-01.03 206432
WPG-ES-6-02-01

ใช้กระบวนการประเมินและวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ

4. ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการสร้างเสียงจากโครงการหรือกิจกรรม การวิเคราะห์นี้รวมถึงการประเมินระดับเสียงที่เกิดขึ้นและการประเมินผลกระทบต่อประชาชนและสัตว์ในพื้นที่

WPG-ES-6-02-01.04 206433
WPG-ES-6-02-01

ใช้กระบวนการประเมินและวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ

5. ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่ที่โครงการกำลังจะดำเนินการ การวิเคราะห์นี้รวมถึงการประเมินผลกระทบต่อระบบสังคม การชุมชน และวัฒนธรรมท้องถิ่น

WPG-ES-6-02-01.05 206434
WPG-ES-6-02-02

ติดตามการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม

1. ติดตามการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม

WPG-ES-6-02-02.01 206435
WPG-ES-6-02-02

ติดตามการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม

2. ติดตามการปฏิบัติตามมาตรการ ติดตามและตรวจสอบผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมตามประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP) สำหรับโรงไฟฟ้าขยะ

WPG-ES-6-02-02.02 206436

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

      มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานดังนี้



      1. ความสามารถในการจัดเตรียมรายละเอียดโครงการของการจัดการสิ่งแวดล้อม

      2. ความสามารถในการจัดเตรียมแผนติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

      3. ความสามารถในการจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม

      4. ความสามารถในการจัดเตรียมกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการอ้างอิงของการจัดการสิ่งแวดล้อม

      5. ทักษะการบริหารจัดการและการวางแผน สามารถวางแผนและจัดลำดับความสำคัญในการทำงาน กำหนดแผนและขั้นตอนวิธีการในปรับปรุงการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามกฎหมาย




(ข) ความต้องการด้านความรู้

      ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีดังนี้



      1. กฎหมายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ

      2. กฎหมายที่ใช้ในการอ้างอิงของการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้แก่ คุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ การจัดการของเสีย ระดับเสียง และความปลอดภัยและอาชีวอนามัย





14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



      1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

      2. แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



      1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

      2. ประกาศนียบัตรรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการ หรือตามคู่มือความปลอดภัยในการทำงานโรงไฟฟ้าขยะ (ถ้ามี)

      3. ผลการสอบข้อเขียน

      4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์

(ค) วิธีการประเมิน



      1. ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบอัตนัย

      2. สอบสัมภาษณ์





15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



      1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการตรวจสอบ และทบทวนกฎระเบียบให้ถูกต้องตาม หลักเกณฑ์การตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

(ข) คำอธิบายรายละเอียด



      1. การตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม จะครอบคลุมการตรวจติดตามคุณภาพอากาศ น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน

      2. ข้อกำหนดด้านมาตรฐานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม





16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ใช้กระบวนการ ประเมินและวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ



        1. ข้อเขียนปรนัย เช่น ทดสอบความรู้การประเมิน Life Cycle Assessment

        2. ข้อเขียนอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้การประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับคุณภาพดินในโรงไฟฟ้าขยะ

        3. ข้อสอบสัมภาษณ์ เช่น อธิบายหลักการของ EIA

18.2 เครื่องมือประเมิน ติดตามการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม



        1. ข้อเขียนปรนัย เช่น ทดสอบความรู้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

        2. ข้อเขียนอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้การจัดตั้งโครงการกำจัดมูลฝอยชุมชนโดยการแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า

        3. ข้อสอบสัมภาษณ์ เช่น อธิบายหลักการของ EIA






ยินดีต้อนรับ