หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-CQCI-684A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยโรงไฟฟ้าขยะ ระดับ 6



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เลือกมาตรการที่กำหนดและมาตรการที่ปฏิบัติจริง ระบุแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่อาจมีผลกระทบ การขยายตัวของชุมชนในบริเวณพื้นที่โดยรอบ เสนอแนวทางการปรับปรุงการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กำหนดประเด็นผลกระทบและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่โครงการดำเนินการตามมาตรการที่เสนอไว้กำหนดสถานที่ในการติดตามตรวจสอบ บันทึกขั้นตอนการติดตามจากรายงานการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 25492. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดของโรงงานกำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแล ผู้ปฏิบัติงานประจำ และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน ผู้ควบคุมดูแลสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
WPG-ES-6-01-01

กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม

1. เลือกมาตรการที่กำหนดและมาตรการที่ปฏิบัติจริง

WPG-ES-6-01-01.01 206423
WPG-ES-6-01-01

กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม

2. ระบุแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่อาจมีผลกระทบ การขยายตัวของชุมชนในบริเวณพื้นที่โดยรอบ

WPG-ES-6-01-01.02 206424
WPG-ES-6-01-01

กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม

3. ระบุลักษณะการจัดการต่อมลพิษการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการลดผลกระทบ และเสนอแนวทางการปรับปรุง

WPG-ES-6-01-01.03 206425
WPG-ES-6-01-02

กำหนดขอบเขตงานที่ต้องติดตามตรวจสอบ

1. กำหนดประเด็นผลกระทบและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่โครงการดำเนินการตามมาตรการที่เสนอไว้กำหนดสถานที่ในการติดตามตรวจสอบ

WPG-ES-6-01-02.01 206426
WPG-ES-6-01-02

กำหนดขอบเขตงานที่ต้องติดตามตรวจสอบ

2. กำหนดดัชนีในการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

WPG-ES-6-01-02.02 206427
WPG-ES-6-01-03

กำหนดวิธีการติดตามตรวจสอบ

1. บันทึกขั้นตอนการติดตามจากรายงานการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

WPG-ES-6-01-03.01 206428
WPG-ES-6-01-03

กำหนดวิธีการติดตามตรวจสอบ

2. ปฏิบัติในพื้นที่จริง โดยตรวจสอบจากเอกสาร รวมทั้งตรวจสอบโดยการสังเกตการณ์ขณะที่มีการดำเนินกิจกรรมขณะนั้น

WPG-ES-6-01-03.02 206429

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

      มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานดังนี้



      1. ความสามารถในการจัดเตรียมมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม

      2. ความสามารถในการจัดเตรียมแผนติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

      3. ความสามารถในการศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการอ้างอิงของการจัดการสิ่งแวดล้อม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

      มีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีดังนี้



      1. กฎหมายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม

          1.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม



          1.2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานผลวิเคราะห์ปริมาณสารมลพิษ



          1.3 กฎหมายเกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ



      2. กฎหมายที่ใช้ในการอ้างอิงของการจัดการสิ่งแวดล้อม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



      1. แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



      1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

      2. ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้จัดการด้านสิ่งแวดล้อม

      3. ผลการสอบข้อเขียน

      4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน



      1. การประเมินผลความรู้การประเมินผลความรู้จากการทดสอบความรู้

           1.1 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผนงานดำเนินการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม



          1.2 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว



          1.3 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม



      2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขอบเขตงานที่ต้องติดตามตรวจสอบ

(ง) วิธีการประเมิน



      1. ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบอัตนัย

      2. สอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



      1. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีทักษะในการกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ในด้านสิ่งแวดล้อม

      2. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีทักษะในการปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาเบื้องต้นและปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

      3. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลได้





16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม



        1. ข้อเขียนปรนัย เช่น ทดสอบความรู้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม

        2. ข้อเขียนอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้มลพิษจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

        3. ข้อสอบสัมภาษณ์ เช่น การกำหนดประเด็นการดำเนินงานตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม การกำหนดขอบเขตในการเฝ้าระวัง

18.2 เครื่องมือประเมิน กำหนดขอบเขตงานที่ต้องติดตามตรวจสอบ



        1. ข้อเขียนปรนัย เช่น ทดสอบความรู้การเดินระบบการตรวจสอบคุณภาพน้ำ

        2. ข้อเขียนอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้การติดตามและควบคุมมลพิษการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโรงไฟฟ้าขยะ

        3. ข้อสอบสัมภาษณ์ เช่น การกำหนดประเด็นการดำเนินงานตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม การกำหนดขอบเขตในการเฝ้าระวัง

18.3 เครื่องมือประเมิน กำหนดวิธีการติดตามตรวจสอบ



        1. ข้อเขียนปรนัย เช่น ทดสอบความรู้ความสำคัญของ EIA

        2. ข้อเขียนอัตนัย เช่น อภิปรายความรับผิดชอบทางจริยธรรมของโรงไฟฟ้าขยะที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของชุมชน

        3. ข้อสอบสัมภาษณ์ เช่น การกำหนดประเด็นการดำเนินงานตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม การกำหนดขอบเขตในการเฝ้าระวัง






ยินดีต้อนรับ