หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-KDLB-680A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยโรงไฟฟ้าขยะ ระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถ รวบรวมข้อมูลด้านผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นภายในโรงงาน ชี้แจงการติดตามตรวจสอบผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อม ติดตามตรวจสอบผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม เบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการประเมินผลกระทบทางอากาศ น้ำ ดิน และสิ่งมีชีวิตในพื้นที่โครงการ การสร้างเสียงหรือระดับเสียงจากโครงการ สังคมและชุมชน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 25612. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง กําหนดวิธีการเก็บ ทําลายฤทธิ์กําจัด ฝัง ทิ้ง เคลื่อนย้ายและการขนส่งสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 25313. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คุณสมบัติ การฝึกอบรม และการสอบมาตรฐานของบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน พ.ศ. 25544. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง การส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง (Continuous Emission Monitoring Systems : CEMS)  พ.ศ. 2550

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
WPG-ES-5-01-01

รวบรวมข้อมูลด้านผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

1. รวบรวมข้อมูลด้านผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นภายในโรงงาน

WPG-ES-5-01-01.01 206392
WPG-ES-5-01-01

รวบรวมข้อมูลด้านผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

2. ชี้แจงการติดตามและตรวจสอบผลกระทบทางด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

WPG-ES-5-01-01.02 206393
WPG-ES-5-01-01

รวบรวมข้อมูลด้านผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

3. ตรวจสอบและรวบรวมสภาพโครงการในปัจจุบัน

WPG-ES-5-01-01.03 206394
WPG-ES-5-01-01

รวบรวมข้อมูลด้านผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

4. ตรวจสอบข้อมูลด้านผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

WPG-ES-5-01-01.04 206395
WPG-ES-5-01-02

วิเคราะห์ข้อมูลทางด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

1. จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

WPG-ES-5-01-02.01 206871
WPG-ES-5-01-02

วิเคราะห์ข้อมูลทางด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

2. ติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการประเมินผลกระทบทาง อากาศ, น้ำ, ดินและสัตว์ป่าในพื้นที่ที่โครงการ, การสร้างเสียงหรือระดับเสียงจากโครงการ, สังคมและชุมชน

WPG-ES-5-01-02.02 206872
WPG-ES-5-01-02

วิเคราะห์ข้อมูลทางด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

3. วิเคราะห์ข้อมูลผลกระทบด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น

WPG-ES-5-01-02.03 206873

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

      มีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีดังนี้



      1. กฎหมายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ

      2. กฎหมายที่ใช้ในการอ้างอิงของการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้แก่ คุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ การจัดการของเสีย ระดับเสียง และความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

N/A

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



      1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

      2. แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



      1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

      2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้อง หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

      3. ผลการสอบข้อเขียน

      4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน



      การประเมินผลความรู้จากการทดสอบความรู้

          1.1  ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผนงานดำเนินการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม



          1.2  ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการจัดการพื้นที่สีเขียว



          1.3  ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม



          1.4  ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขอบเขตงานที่ต้องติดตามตรวจสอบ



          1.5  ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้



          1.6  ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาของการติดตามตรวจสอบกำหนดวิธีการติดตามตรวจสอบ



(ง) วิธีการประเมิน



      1. ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบอัตนัย

      2. สอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



      1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถวางแผนป้องกันปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

(ข) คำอธิบายรายละเอียด



      1. ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หมายถึง ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและเกี่ยวพันกันอย่างเป็นระบบ เช่น ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ปัญหาภัยธรรมชาติ และปัญหาในด้านทรัพยากรธรรมชาติ

      2. การติดตามตรวจสอบผลกระทบทางด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น คือการประเมินและติดตามการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบต่าง ๆ ของสิ่งแวดล้อม เพื่อทำความเข้าใจว่ากิจกรรมของมนุษย์หรือกระบวนการทางธรรมชาติอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างไร ประเด็นสำคัญและวิธีการติดตามผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐานมีดังนี้

          - การตรวจสอบคุณภาพอากาศ เพื่อประเมินการมีอยู่และความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศ โดยใช้สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ติดตั้งเซ็นเซอร์เพื่อตรวจวัดมลพิษ เช่น ฝุ่นละออง (PM) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และโอโซน (O3) สามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง หรือเป็นระยะตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า พ.ศ. 2547



            - การตรวจสอบคุณภาพน้ำ เพื่อประเมินสภาพแหล่งน้ำ โดยเก็บตัวอย่างน้ำในตำแหน่งและความลึกต่าง ๆ เพื่อทดสอบพารามิเตอร์ต่าง ๆ เช่น pH, ออกซิเจนละลายน้ำ, ความขุ่น, อุณหภูมิ, ระดับสารอาหาร, โลหะหนัก และการมีอยู่ของสารปนเปื้อน เช่น ยาฆ่าแมลง



            - การตรวจสอบคุณภาพดิน เพื่อประเมินสุขภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยเก็บตัวอย่างดินและวิเคราะห์หาค่า pH และการมีอยู่ของสารปนเปื้อนหรือสารมลพิษ



            - การติดตามความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ที่มีต่อระบบนิเวศน์ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ปะการัง เป็นต้น



            - การตรวจสอบมลพิษทางเสียง เพื่อประเมินผลกระทบของกิจกรรมของมนุษย์ต่อระดับเสียงรบกวนรอบข้างและมลภาวะทางเสียง โดยพิจารณาในช่วงที่แหล่งกำเนิดมีค่าระดับเสียงสูงสุดที่ระยะ 15 เมตร



            - การมีส่วนร่วมของชุมชนและการรายงาน เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการติดตามความพยายามและรายงานข้อค้นพบ โดยการสร้างการมีส่วนร่วมกับสมาชิกชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน และหน่วยงานภาครัฐเพื่อรวบรวมข้อมูล แบ่งปันผลลัพธ์ และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน รวบรวมข้อมูลด้านผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม



        1. ข้อเขียนปรนัย เช่น ผลกระทบจากโรงไฟฟ้าขยะในชุมชน

        2. ข้อเขียนอัตนัย เช่น ข้อมูลด้านผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

        3. ข้อสอบสัมภาษณ์ เช่น การยกตัวอย่างผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศ

18.2 เครื่องมือประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลทางด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม



        1. ข้อเขียนปรนัย เช่น วิเคราะห์ข้อมูลทางด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

        2. ข้อเขียนอัตนัย เช่น วิธีการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นในโรงไฟฟ้าขยะ

        3. ข้อสอบสัมภาษณ์ เช่น ยกตัวอย่างมลพิษทางด้านต่าง ๆ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชี้แจงต้นเหตุทางด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม






ยินดีต้อนรับ