หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบและทดสอบการทำงานของเครื่องจักรหลังงานซ่อมบำรุงเครื่องจักร

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-IAND-675A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบและทดสอบการทำงานของเครื่องจักรหลังงานซ่อมบำรุงเครื่องจักร

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรโรงไฟฟ้าขยะ ระดับ 4



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถดำเนินงานทดสอบการทำงานของเครื่องจักรภายหลังจากงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรแล้วเสร็จ สามารถติดตาม และบันทึกผลการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องมือวัด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 25542. กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 25583. กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 25624. กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
WPG-MT-4-03-01

ทดสอบการทำงานของเครื่องจักรหลังงานซ่อมบำรุง

1. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลก่อนปฏิบัติงานซ่อมบำรุง

WPG-MT-4-03-01.01 206347
WPG-MT-4-03-01

ทดสอบการทำงานของเครื่องจักรหลังงานซ่อมบำรุง

2. ทดสอบการทำงานของเครื่องจักรภายหลังการติดตั้ง/ซ่อมบำรุง

WPG-MT-4-03-01.02 206348
WPG-MT-4-03-01

ทดสอบการทำงานของเครื่องจักรหลังงานซ่อมบำรุง

3. ให้คำแนะนำในการทดสอบเครื่องจักรหลังงานซ่อมบำรุง

WPG-MT-4-03-01.03 206349
WPG-MT-4-03-01

ทดสอบการทำงานของเครื่องจักรหลังงานซ่อมบำรุง

4. สรุปผลการทดสอบการทำงานของเครื่องจักรหลังการซ่อมบำรุง

WPG-MT-4-03-01.04 206350
WPG-MT-4-03-02

ติดตามผลการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

1. ตรวจสอบการใช้งานเครื่องจักรหลังการซ่อมบำรุง

WPG-MT-4-03-02.01 206351
WPG-MT-4-03-02

ติดตามผลการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

2. บันทึกรายการวัสดุ-อุปกรณ์และชิ้นส่วนอะไหล่ที่ใช้ในการทำงานซ่อมบำรุง

WPG-MT-4-03-02.02 206352
WPG-MT-4-03-02

ติดตามผลการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

3. บันทึกผลการซ่อมบำรุง บันทึกสาเหตุ และสถิติการแก้ไข

WPG-MT-4-03-02.03 206353
WPG-MT-4-03-02

ติดตามผลการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

4. รายงานสรุปผลการซ่อมบำรุง

WPG-MT-4-03-02.04 206354

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

        1. ทักษะในการปฏิบัติ ปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักร อุปกรณ์ตามลำดับขั้นตอนตามคู่มือ

        2. ทักษะในการทดสอบการทำงานของเครื่องจักรหลังการซ่อมบำรุง

        3. ทักษะการสรุปผลการซ่อมบำรุง วัสดุอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นและสึกหรอง่าย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

        1. ความรู้การปฏิบัติตามขั้นตอนการทดสอบเครื่องจักรและอุปกรณ์ทางเครื่องกล และทางไฟฟ้า

        2. ความรู้ในกระบวนการผลิตพลังงานความร้อนและไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ

        3. ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต เครื่องกล และอุปกรณ์มาตรวัด มิเตอร์

        4. ความรู้ในการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



      1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

      2. แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



      1. หลักฐานการศึกษา

      2. ผลการสอบข้อเขียน

(ค) วิธีการประเมิน



      3. ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบอัตนัย





15. ขอบเขต (Range Statement)

 (ก) คำแนะนำ



       -N/A-



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



      1. การบันทึกการทำงานของเครื่องจักร ต้องทำประวัติเครื่องจักร โดยมีการจดบันทึก ไม่ว่าจะเป็นรายการแจ้งซ่อม รายการอะไหล่(Spare Part) และรายละเอียดการแจ้งซ่อม เพื่อทำรายงานการบำรุงรักษาและรายการตรวจเซ็คเครื่องจักรประจำวัน และจัดการวางแผนบำรุงรักษา (PM)

      2. เอกสารที่เกี่ยวข้องในการบันทึกการทำงานของเครื่องจักร เช่น

           - ประวัติเครื่องจักรที่มีรายละเอียดชื่อเครื่องจักร เช่น ยี่ห้อ รุ่น ตัวแทนจำหน่าย รายละเอียดการใช้งาน ข้อมูลทางกล ทางไฟฟ้า เป็นต้น



          - ใบแจ้งงาน/รายละเอียดการแจ้งซ่อม เอกสารการแจ้งซ่อมจากผู้ใช้งานเครื่องจักร โดยมีรายละเอียด เช่น วันที่แจ้ง สถานะการแจ้ง แผนก/หน่วยที่แจ้ง ชื่อเครื่องจักร/อุปกรณ์ ผู้แจ้ง ผู้อนุมติ เวลาดำเนินการและกำหนดแล้วเสร็จ รายละเอียด เป็นต้น



          - รายการชิ้นส่วนอะไหล่ (Spare Part) โดยมีรายละเอียด ชื่อเครื่องจักร หมายเลขเครื่อง รายการชิ้นส่วนอะไหล่ ผู้จัดทำ ผู้อนุมัติ เป็นต้น



          - รายละเอียดการซ่อมเครื่องจักร โดยมีรายละเอียดชื่อเครื่องจักร วันที่ซ่อม รายละเอียดการซ่อม วิธีการแก้ไข อุปกรณ์ที่ปรับเปลี่ยน ราคา ผู้ทำการซ่อม เป็นต้น



          - รายงานการบำรุงรักษาและการตรวจเครื่องจักรประจำวัน โดยมีรายละเอียด หมายเลขเครื่องจักร ชื่อเครื่องจักร แผน PM ผลการตรวจ สถานะ ตำแหน่งที่ตรวจ รายละเอียดที่ตรวจ วิธีการตรวจ ผู้ตรวจเช็ค ผู้ตรวจสอบ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ทดสอบการทำงานของเครื่องจักรหลังงานซ่อมบำรุง



         1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลก่อนปฏิบัติงานซ่อมบำรุง ทดสอบการทำงานของเครื่องจักรภายหลังการติดตั้ง/ซ่อมบำรุง ให้คำแนะนำในการทดสอบเครื่องจักรหลังงานซ่อมบำรุงในกรณีเกิดปัญหาหน้างาน เป็นต้น

         2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ให้คำแนะนำในการทดสอบเครื่องจักรหลังงานซ่อมบำรุง ในกรณีเกิดปัญหาหน้างาน สรุปผลการทดสอบการทำงานของเครื่องจักรหลังการซ่อมบำรุง เป็นต้น

18.2 เครื่องมือประเมิน ติดตามผลการซ่อมบำรุงเครื่องจักร



         1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ตรวจสอบการใช้งานเครื่องจักรหลังการซ่อมบำรุง บันทึกรายการวัสดุ-อุปกรณ์และชิ้นส่วนอะไหล่ที่ใช้ในการซ่อมบำรุง เป็นต้น

         2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ตรวจสอบการใช้งานเครื่องจักรหลังการซ่อมบำรุง บันทึกรายการวัสดุ-อุปกรณ์และชิ้นส่วนอะไหล่ที่ใช้ในการซ่อมบำรุง เป็นต้น



ยินดีต้อนรับ