หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจวัดประสิทธิภาพและวิเคราะห์ความผิดปกติในการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-GXTO-662A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจวัดประสิทธิภาพและวิเคราะห์ความผิดปกติในการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานระบบผลิตไฟฟ้าโรงไฟฟ้าขยะ ระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของกังหันไอน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สามารถวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความผิดปกติของกังหันไอน้ำ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวมถึงการบันทึกข้อมูลการตรวจสอบ และวิเคราะห์ผลการตรวจวัดประสิทธิภาพของกังหันไอน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าสำหรับผู้รับใบอนุญาตควบคุมระบบไฟฟ้า พ.ศ. 25642. ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. 25623. ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยข้อกำหนดการปฏิบัติการระบบโครงข่ายไฟฟ้า พ.ศ. 25594. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติการระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Operation Code) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง  ประเทศไทย5. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 25546. กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 25427. กฎกระทรวง เรื่อง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2542

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
WPG-OP-5-04-01

ตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า

1. อธิบายองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า

WPG-OP-5-04-01.01 206272
WPG-OP-5-04-01

ตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า

2. อธิบายการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า

WPG-OP-5-04-01.02 206273
WPG-OP-5-04-01

ตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า

3. ตรวจวัดการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า

WPG-OP-5-04-01.03 206274
WPG-OP-5-04-01

ตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า

4. บันทึกผลการตรวจวัดและผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงานและความผิดปกติของระบบผลิตไฟฟ้า

WPG-OP-5-04-01.04 206275
WPG-OP-5-04-02

ตรวจสอบสาเหตุของความผิดปกติของกังหันไอน้ำ

1. ตรวจสอบการทำงานของกังหันไอน้ำ

WPG-OP-5-04-02.01 206276
WPG-OP-5-04-02

ตรวจสอบสาเหตุของความผิดปกติของกังหันไอน้ำ

2. วิเคราะห์ความผิดปกติจากการทำงานของกังหันไอน้ำ

WPG-OP-5-04-02.02 206277
WPG-OP-5-04-02

ตรวจสอบสาเหตุของความผิดปกติของกังหันไอน้ำ

3. บันทึกผลการวิเคราะห์ปัญหาและความผิดปกติของกังหันไอน้ำ

WPG-OP-5-04-02.03 206278
WPG-OP-5-04-02

ตรวจสอบสาเหตุของความผิดปกติของกังหันไอน้ำ

4. จัดทำแผนป้องกันปัญหาในการดำเนินงาน

WPG-OP-5-04-02.04 206279
WPG-OP-5-04-02

ตรวจสอบสาเหตุของความผิดปกติของกังหันไอน้ำ

5. ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเตรียมรับมือกรณีเกิดความผิดปกติในระบบ

WPG-OP-5-04-02.05 206280
WPG-OP-5-04-03

ตรวจสอบสาเหตุของความผิดปกติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

1. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

WPG-OP-5-04-03.01 206281
WPG-OP-5-04-03

ตรวจสอบสาเหตุของความผิดปกติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

2. วิเคราะห์ความผิดปกติจากการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

WPG-OP-5-04-03.02 206282
WPG-OP-5-04-03

ตรวจสอบสาเหตุของความผิดปกติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

3. บันทึกผลการวิเคราะห์ปัญหาความผิดปกติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

WPG-OP-5-04-03.03 206283
WPG-OP-5-04-03

ตรวจสอบสาเหตุของความผิดปกติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

4. จัดทำแผนป้องกันปัญหาในการดำเนินงาน

WPG-OP-5-04-03.04 206284
WPG-OP-5-04-03

ตรวจสอบสาเหตุของความผิดปกติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

5. ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเตรียมรับมือกรณีเกิดความผิดปกติของระบบ

WPG-OP-5-04-03.05 206285
WPG-OP-5-04-04

วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และรายงานผลการตรวจสภาพความผิดปกติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

1. ตรวจสอบสภาพความผิดปกติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

WPG-OP-5-04-04.01 206286
WPG-OP-5-04-04

วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และรายงานผลการตรวจสภาพความผิดปกติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

2. บันทึกสภาพความผิดปกติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

WPG-OP-5-04-04.02 206287
WPG-OP-5-04-04

วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และรายงานผลการตรวจสภาพความผิดปกติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

3. รายงานผลการตรวจสอบความผิดปกติต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้องกรณีที่พบความผิดปกติ เพื่อดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซม

WPG-OP-5-04-04.03 206288

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

      ทักษะในการควบคุมระบบกังหันไอน้ำ/เครื่องกำเนิดไฟฟ้า



      1. ทักษะการตรวจสอบการทำงานของกังหันไอน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

      2. ทักษะการอ่านและการใช้คู่มือปฏิบัติงานทั้งด้านเทคนิคและความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า เช่น กังหันไอน้ำ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

      3. ทักษะการอ่านแบบไฟฟ้า เช่น ไดอะแกรมทางไฟฟ้า (Single Line Diagram) และแบบเครื่องกล แบบไดอะแกรมท่อ (Piping Diagram) เบื้องต้น

      4. ทักษะการสังเกตเพื่อรวบรวมปัญหาและหาสาเหตุ ด้วยวิธีสังเกตการทำงานของเครื่องจักรทางกล เช่น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความดัน ในเบื้องต้น

      5. ทักษะการสังเกตเพื่อรวบรวมปัญหาและหาสาเหตุ ด้วยวิธีสังเกตการทำงานของเครื่องจักรทางไฟฟ้า เช่น การเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า ในเบื้องต้น

      6. ทักษะการใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือช่าง หรืออุปกรณ์อ่านค่าแสดงผลแบบต่าง ๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดหรือปืนวัดอุณหภูมิ (Infrared Thermometer) มัลติมิเตอร์ (Multimeter)

      7. ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมพื้นฐาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

      1. ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น เช่น ระบบไฟฟ้า 1 เฟส, ระบบไฟฟ้า 3 เฟส, ระบบการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า เป็นต้น

      2. เทอร์โมไดนามิกส์เบื้องต้น เช่น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ การเปลี่ยนแปลงความดัน การเปลี่ยนสถานะของสสาร เป็นต้น

      3. หลักการทำงานและขั้นตอนของอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้า

      4.  หลักการขั้นตอนการสลับลำดับการทำงานของอุปกรณ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



      1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

      2. แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



      1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

      2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

      3. ผลการสอบข้อเขียน

      4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์

(ค) วิธีการประเมิน



      1. ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบอัตนัย

      2. สอบสัมภาษณ์





15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการเดินเครื่องระบบไฟฟ้า โดยต้องทราบถึงหลักการเดินเครื่องระบบไฟฟ้า



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



      1. การสลับลำดับการทำงานของอุปกรณ์ หมายถึง การเดินเครื่องอุปกรณ์ Stand by สลับกับอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ตามแผนการสลับอุปกรณ์

      2. ตรวจอุปกรณ์ตามรายการตรวจสอบ (Check list/Log Sheet) และสิ่งผิดปกติของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยจะดำเนินการตรวจระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าตามรายการตรวจสอบ (Check list/Log Sheet) ที่กำหนด พร้อมทั้งจะระบุสิ่งผิดปกติของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า แล้วจึงดำเนินการแขวนล็อกเอาท์และแท็กเอาท์ (Lock out - Tag out: LOTO) และระบุสถานที่ที่พบสิ่งผิดปกติ

      3. สิ่งผิดปกติของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า หมายถึง สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น Breaker Trip, Relay Protection Alarm เป็นต้น

      4. รายการตรวจสอบ (Check list/Log Sheet) หมายถึง แบบฟอร์มบันทึกข้อมูลการทำงานของอุปกรณ์รายวัน เช่น ค่ากระไฟฟ้าของมอเตอร์, ค่าแรงดันไฟฟ้าของมอเตอร์ เป็นต้น

      5. รายงานผล คือ การรายงานผลการตรวจสอบสถานะของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าให้กับหัวหน้างาน และรวมถึงการรายงานสถานะของระบบที่รับผิดชอบเพื่อส่งมอบ-กะ

      6. ตรวจสอบสถานะระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับการ Startup และ Shutdown โดยจะดำเนินการตรวจสอบสถานะระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า พร้อมทั้งแจ้งสิ่งผิดปกติของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นก่อนและระหว่างการ Startup และ Shutdown

      7. ระบุและแก้ไขปัญหาในการเกิดเหตุฉุกเฉินได้เบื้องต้น โดยจะดำเนินการตรวจสอบสาเหตุและแก้ไขปัญหาหน้างานที่ไม่ซับซ้อน เช่น ในกรณีที่สับเบรคเกอร์ (Breaker) ไม่ได้ พนักงานเดินเครื่องระดับ 4 ต้องสามารถตรวจสอบรางใส่เบรคเกอร์ (Breaker) ว่าตรงร่องหรือไม่และทำการแจ้งสถานะเบรคเกอร์ (Breaker) อีกครั้ง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า



        1. ข้อสอบปรนัย เช่น อธิบายองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า อธิบายการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า ตรวจวัดการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า บันทึกผลการตรวจวัดและผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงานและความผิดปกติของระบบผลิตไฟฟ้า

        2. ข้อสอบสัมภาษณ์ เช่น อธิบายองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า

18.2 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบสาเหตุของความผิดปกติของกังหันไอน้ำ



        1. ข้อสอบปรนัย เช่น ตรวจสอบการทำงานของกังหันไอน้ำ วิเคราะห์ความผิดปกติจากการทำงานของกังหันไอน้ำ บันทึกผลการวิเคราะห์ปัญหาและความผิดปกติของกังหันไอน้ำ จัดทำแผนป้องกันปัญหาในการดำเนินงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเตรียมรับมือกรณีเกิดความผิดปกติในระบบ 

18.3 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบสาเหตุของความผิดปกติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



        1. ข้อสอบปรนัย เช่น ตรวจสอบการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า วิเคราะห์ความผิดปกติจากการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า บันทึกผลการวิเคราะห์ปัญหาความผิดปกติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จัดทำแผนป้องกันปัญหาในการดำเนินงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ปฏิบัติงานเพื่อเตรียมรับมือกรณีเกิดความผิดปกติของระบบ

        2. ข้อสอบอัตนัย เช่น บันทึกผลการวิเคราะห์ปัญหาความผิดปกติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

18.4 เครื่องมือประเมิน วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และรายงานผลการตรวจสภาพความผิดปกติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



        1. ข้อสอบปรนัย เช่น ตรวจสอบสภาพความผิดปกติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า บันทึกสภาพความผิดปกติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รายงานผลการตรวจสอบความผิดปกติต่อฝ่าย ที่เกี่ยวข้องกรณีที่พบความผิดปกติเพื่อดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซม



ยินดีต้อนรับ