หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจวัดประสิทธิภาพและวิเคราะห์ความผิดปกติในการทำงานของหม้อไอน้ำ (Boiler)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-UQWB-661A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจวัดประสิทธิภาพและวิเคราะห์ความผิดปกติในการทำงานของหม้อไอน้ำ (Boiler)

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานระบบผลิตไฟฟ้าโรงไฟฟ้าขยะ ระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของหม้อไอน้ำ สามารถวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความผิดปกติของหม้อไอน้ำ รวมถึงการบันทึกข้อมูลการตรวจสอบ และวิเคราะห์ผลการตรวจวัดประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 25542. กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 25643. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25594. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง คุณสมบัติน้ำสำหรับหม้อน้ำ พ.ศ. 25495. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน พ.ศ. 25496. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ความเห็นชอบในการตรวจสอบภายในหม้อน้ำ ทุกระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง พ.ศ. 2559

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
WPG-OP-5-03-01

ตรวจสอบและทดสอบระบบความปลอดภัยของหม้อไอน้ำ (Boiler)

1. อธิบายกระบวนการทำงานของกระบวนการผลิตความร้อนในสภาวะปกติ

WPG-OP-5-03-01.01 206261
WPG-OP-5-03-01

ตรวจสอบและทดสอบระบบความปลอดภัยของหม้อไอน้ำ (Boiler)

2. จัดทำแผนการทำงานเพื่อควบคุมกระบวนการผลิตในสภาวะปกติ

WPG-OP-5-03-01.02 206262
WPG-OP-5-03-01

ตรวจสอบและทดสอบระบบความปลอดภัยของหม้อไอน้ำ (Boiler)

3. ควบคุมกระบวนการผลิตความร้อนให้ทำงานอย่างต่อเนื่องและปลอดภัย

WPG-OP-5-03-01.03 206263
WPG-OP-5-03-02

ตรวจสอบสาเหตุของความผิดปกติของหม้อไอน้ำ

1. ตรวจสอบความผิดปกติจากการทำงานของหม้อไอน้ำ

WPG-OP-5-03-02.01 206264
WPG-OP-5-03-02

ตรวจสอบสาเหตุของความผิดปกติของหม้อไอน้ำ

2. บันทึกสภาพความผิดปกติจากการตรวจสอบความผิดปกติของหม้อไอน้ำ

WPG-OP-5-03-02.02 206265
WPG-OP-5-03-02

ตรวจสอบสาเหตุของความผิดปกติของหม้อไอน้ำ

3. จัดทำแผนป้องกันปัญหาในการดำเนินงาน

WPG-OP-5-03-02.03 206266
WPG-OP-5-03-02

ตรวจสอบสาเหตุของความผิดปกติของหม้อไอน้ำ

4. ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเตรียมรับมือกรณีเกิดความผิดปกติในระบบ

WPG-OP-5-03-02.04 206267
WPG-OP-5-03-03

วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และรายงานผลการตรวจสภาพความผิดปกติของหม้อไอน้ำ

1. วิเคราะห์ความผิดปกติจากการทำงานของหม้อไอน้ำ

WPG-OP-5-03-03.01 206268
WPG-OP-5-03-03

วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และรายงานผลการตรวจสภาพความผิดปกติของหม้อไอน้ำ

2. บันทึกผลการวิเคราะห์ความผิดปกติของหม้อไอน้ำ

WPG-OP-5-03-03.02 206269
WPG-OP-5-03-03

วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และรายงานผลการตรวจสภาพความผิดปกติของหม้อไอน้ำ

3. รายงานผลการตรวจสอบความผิดปกติต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้องกรณีที่พบความผิดปกติ เพื่อดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซม

WPG-OP-5-03-03.03 206270

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

      1. ทักษะในการตรวจวัดประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำ

      2. ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงเทคนิค

      3. ทักษะในการปฏิบัติ ปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักร อุปกรณ์ระบบหม้อไอน้ำ ระบบท่อไอน้ำ ตามลำดับขั้นตอนตามคู่มือ

      4. ทักษะในการสังเกต คิดวิเคราะห์แก้ปัญหา

      5. ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรมควบคุม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

     1. ความรู้ทางด้านเทอร์โมไดนามิกส์ และกลศาสตร์ของไหลในเบื้องต้น

     2. ความรู้ในการคำนวณสมดุลความร้อนของหม้อไอน้ำ

     3. ความรู้การปฏิบัติขั้นพื้นฐานด้าน เครื่องจักรและอุปกรณ์

     4. ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต

     5. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

     6. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับการทำงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



      1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

      2. แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



      1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

      2. หลักฐานการผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับระบบหม้อไอน้ำ กังหันไอน้ำ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

      3. ผลการสอบข้อเขียน

      4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์

(ค) วิธีการประเมิน



      1. ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบอัตนัย

      2. สอบสัมภาษณ์





15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



       -N/A-



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



      1. ระบบจ่ายไอน้ำและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง หมายถึง หม้อไอน้ำ ระบบน้ำเข้า-ออก ระบบท่อและวาล์ว เกจวัดแรงดัน การรั่วไหลตามจุดต่าง ๆ

      2. การแก้ไขปัญหาระบบผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง การสั่งหยุดระบบ หรือการเลือกใช้อุปกรณ์สำรองในระบบทดแทน เป็นต้น





16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบและทดสอบระบบความปลอดภัยของหม้อไอน้ำ (Boiler)



         1. ข้อสอบปรนัย เช่น อธิบายกระบวนการทำงานของกระบวนการผลิตความร้อนในสภาวะปกติ จัดทำแผนการทำงานเพื่อควบคุมกระบวนการผลิต ในสภาวะปกติ ควบคุมกระบวนการผลิตความร้อนให้ทำงานอย่างต่อเนื่องและปลอดภัย 

         2. ข้อสอบอัตนัย เช่น อธิบายกระบวนการทำงานของกระบวนการผลิตความร้อนในสภาวะปกติ

         3. ข้อสอบสัมภาษณ์ เช่น อธิบายกระบวนการทำงานของกระบวนการผลิตความร้อนในสภาวะปกติ

18.2 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบสาเหตุของความผิดปกติของหม้อไอน้ำ



         1. ข้อสอบปรนัย เช่น ตรวจสอบความผิดปกติจากการทำงานของหม้อไอน้ำ บันทึกสภาพความผิดปกติจากการตรวจสอบความผิดปกติของหม้อไอน้ำ จัดทำแผนป้องกันปัญหาในการดำเนินงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ปฏิบัติงานเพื่อเตรียมรับมือกรณีเกิดความผิดปกติในระบบ

18.3 เครื่องมือประเมิน วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และรายงานผลการตรวจสภาพความผิดปกติของหม้อไอน้ำ



         1.ข้อสอบปรนัย เช่น วิเคราะห์ความผิดปกติจากการทำงานของหม้อไอน้ำ บันทึกผลการวิเคราะห์ความผิดปกติของหม้อไอน้ำ รายงานผลการตรวจสอบความผิดปกติต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้องกรณีที่พบความผิดปกติ เพื่อดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซม






ยินดีต้อนรับ