หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการทำงานของระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-UICI-660A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการทำงานของระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานระบบผลิตไฟฟ้าโรงไฟฟ้าขยะ ระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถควบคุมการทำงานของระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ รวมถึงการบันทึกข้อมูล การตรวจสอบ และวิเคราะห์ผลการตรวจวัดประสิทธิภาพของระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ รายงานผลไปยังหน่วยงานกำกับดูแลด้านมลพิษ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 25612. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 25543. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กําหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบาย ออกจากโรงงาน พ.ศ. 25494. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กําหนดค่าปริมาณเขม่าควันที่เจือปนในอากาศที่ ระบายออกจากปล่องของหม้อน้ำของโรงงาน พ.ศ. 2549

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
WPG-OP-5-02-01

ควบคุมการทำงานของระบบดักจับฝุ่นก่อนปล่อยอากาศออกสู่ภายนอก

1. อธิบายการทำงานของระบบดักจับฝุ่น

WPG-OP-5-02-01.01 206253
WPG-OP-5-02-01

ควบคุมการทำงานของระบบดักจับฝุ่นก่อนปล่อยอากาศออกสู่ภายนอก

2. อ่านและใช้คู่มือการปฏิบัติงานระบบดักจับฝุ่น

WPG-OP-5-02-01.02 206254
WPG-OP-5-02-01

ควบคุมการทำงานของระบบดักจับฝุ่นก่อนปล่อยอากาศออกสู่ภายนอก

3. ใช้งานระบบจับฝุ่นเพื่อควบคุมคุณภาพอากาศและฝุ่นละอองในอากาศ ก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก

WPG-OP-5-02-01.03 206255
WPG-OP-5-02-01

ควบคุมการทำงานของระบบดักจับฝุ่นก่อนปล่อยอากาศออกสู่ภายนอก

4. บันทึกและรายงานผลการควบคุมระบบดักจับฝุ่นของโรงไฟฟ้าต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

WPG-OP-5-02-01.04 206256
WPG-OP-5-02-01

ควบคุมการทำงานของระบบดักจับฝุ่นก่อนปล่อยอากาศออกสู่ภายนอก

5. ประสานงานกับฝ่ายซ่อมบำรุง กรณีระบบขัดข้องเพื่อแก้ไขปัญหา

WPG-OP-5-02-01.05 206257
WPG-OP-5-02-02

ติดตามผลการตรวจวัดคุณภาพของฝุ่นละอองที่ออกจากระบบดักจับฝุ่น

1. อำนวยความสะดวกและดูแลการเก็บตัวอย่างฝุ่นที่ออกจากระบบ/ระบบตรวจสอบแบบออนไลน์ (Online Monitoring)

WPG-OP-5-02-02.01 206258
WPG-OP-5-02-02

ติดตามผลการตรวจวัดคุณภาพของฝุ่นละอองที่ออกจากระบบดักจับฝุ่น

2. แปรผลการวิเคราะห์/อ่านค่าจากระบบตรวจสอบแบบออนไลน์ (Online Monitoring)

WPG-OP-5-02-02.02 206259
WPG-OP-5-02-02

ติดตามผลการตรวจวัดคุณภาพของฝุ่นละอองที่ออกจากระบบดักจับฝุ่น

3. รายงานผลไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล (กรมโรงงานอุตสาหกรรม)

WPG-OP-5-02-02.03 206260

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

      1. ทักษะในการตรวจวัดประสิทธิภาพของการเผาไหม้เชื้อเพลิงขยะ

      2. ทักษะในตรวจติดตาม และควบคุมมลพิษจากการเผาไหม้ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

      3. ทักษะในการวิเคราะห์ปัญหาจากการทำงานของเครื่องจักร

      4. ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

      5. ทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กรณีที่เครื่องจักรเกิดเหตุผิดปกติ

      6. ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

      1. ความรู้ด้านทฤษฎีการเผาไหม้เชื้อเพลิงขยะ

      2. ความรู้ทางด้านเทอร์โมไดนามิกส์ และกลศาสตร์ของไหล

      3. ความรู้ในการคำนวณสมดุลความร้อนของห้องเผาไหม้

      4. ความรู้เรื่องกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง และประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยและมาตรฐานด้านคุณภาพอากาศและเสียง

      5. ความรู้ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

      6. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับงาน

      7. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบมลพิษทางอากาศ

      8. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



     1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

     2. แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



      1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

      2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการการผลิตความร้อนในอุตสาหกรรม หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

      3. ผลการสอบข้อเขียน

(ค) วิธีการประเมิน



      1. ข้อสอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบอัตนัย


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



      -N/A-



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



      ดำเนินงานด้านการควบคุมดูแลเครื่องกำจัดฝุ่น จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบกำจัดฝุ่น สามารถอ่าน/ใช้คู่มือระบบกำจัดฝุ่นได้เป็นอย่างดี ควบคุมฝุ่นละอองก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก บันทึกและรายงานผลเพื่อส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ และซ่อมบำรุงระบบเบื้องต้น



      1.การควบคุมระบบดักจับฝุ่นแบบไซโคลน (Cyclone), แบบสครับเบอร์ (Wet Scrubber), หรือแบบไฟฟ้าสถิตย์ (Electrostatic Precipitator) หรือ แบบถุงกรอง (Bag Filter) โดยถุงกรองจะมีลักษณะโครงสร้างที่เป็นรูพรุน หรือเส้นใย มีขนาดรูพรุนขนาดต่าง ๆ ที่กักกันอนุภาคของฝุ่นไม่ให้ไหลผ่าน โดยทั่วไปจะทำจากผ้าทอ (Woven Fabric) หรือผ้าสักหลาด (Felted Fabric) ใยหิน (Asbestos) หรือไนลอน (Nylon)





16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการทำงานของระบบดักจับฝุ่นก่อนปล่อยอากาศออกสู่ภายนอก



        1. ข้อสอบปรนัย เช่น อธิบายการทำงานของระบบดักจับฝุ่น อ่านและใช้คู่มือการปฏิบัติงานระบบดักจับฝุ่น ใช้งานระบบจับฝุ่นเพื่อควบคุมคุณภาพอากาศและฝุ่นละอองในอากาศก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก บันทึกและรายงานผลการควบคุมระบบดักจับฝุ่น ของโรงไฟฟ้าต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ประสานงานกับฝ่ายซ่อมบำรุงกรณีระบบขัดข้องเพื่อแก้ไขปัญหา

18.2 เครื่องมือประเมิน ติดตามผลการตรวจวัดคุณภาพของฝุ่นละอองที่ออกจากระบบดักจับฝุ่น



         1. ข้อสอบปรนัย เช่น อำนวยความสะดวกและดูแลการเก็บตัวอย่างฝุ่นที่ออกจากระบบ/ระบบตรวจสอบแบบออนไลน์ (Online Monitoring) แปรผลการวิเคราะห์/อ่านค่าจากระบบตรวจสอบแบบออนไลน์ (Online Monitoring) รายงานผลไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล (กรมโรงงานอุตสาหกรรม)

         2. ข้อสอบอัตนัย เช่น แปรผลการวิเคราะห์/อ่านค่าจากระบบตรวจสอบแบบออนไลน์ (Online Monitoring)



ยินดีต้อนรับ