หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพและการทำงานของระบบน้ำป้อน และวิเคราะห์ความผิดปกติของการทำงานของหม้อไอน้ำ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-SYVU-656A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพและการทำงานของระบบน้ำป้อน และวิเคราะห์ความผิดปกติของการทำงานของหม้อไอน้ำ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานระบบผลิตไฟฟ้าโรงไฟฟ้าขยะ ระดับ 4



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถตรวจสอบการทำงานของระบบน้ำป้อนและการทำงานของหม้อไอน้ำ และวิเคราะห์ความผิดปกติ ปัญหาที่เกิดจากระบบน้ำป้อนและการทำงานของหม้อไอน้ำเบื้องต้น รวมถึงการบันทึกข้อมูลการตรวจสอบ และวิเคราะห์ผลการตรวจสอบเครื่องจักร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 25642. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25593. กฎกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย   อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 25624. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง คุณสมบัติของน้ำสำหรับหม้อน้ำ พ.ศ. 25495. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน พ.ศ. 25496. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ความเห็นชอบในการตรวจสอบภายในหม้อน้ำ ทุกระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง พ.ศ. 2559

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
WPG-OP-4-03-01

ตรวจสอบผลการตรวจคุณภาพและการทำงานของระบบน้ำป้อน

1. อธิบายองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบน้ำป้อนในการทำงานของหม้อไอน้ำ

WPG-OP-4-03-01.01 206188
WPG-OP-4-03-01

ตรวจสอบผลการตรวจคุณภาพและการทำงานของระบบน้ำป้อน

2. อธิบายองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงาน องค์ประกอบ เครื่องมือความปลอดภัยของหม้อไอน้ำ

WPG-OP-4-03-01.02 206189
WPG-OP-4-03-01

ตรวจสอบผลการตรวจคุณภาพและการทำงานของระบบน้ำป้อน

3. อธิบายวิธีการตรวจวัดองค์ประกอบของระบบน้ำป้อน

WPG-OP-4-03-01.03 206190
WPG-OP-4-03-01

ตรวจสอบผลการตรวจคุณภาพและการทำงานของระบบน้ำป้อน

4. ใช้เครื่องมือวัดในระบบน้ำป้อนได้

WPG-OP-4-03-01.04 206191
WPG-OP-4-03-01

ตรวจสอบผลการตรวจคุณภาพและการทำงานของระบบน้ำป้อน

5. ตรวจสอบการทำงานของหม้อไอน้ำตามแผนการตรวจสอบ

WPG-OP-4-03-01.05 206192
WPG-OP-4-03-01

ตรวจสอบผลการตรวจคุณภาพและการทำงานของระบบน้ำป้อน

6. บันทึกผลการตรวจวัดและผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบน้ำป้อน

WPG-OP-4-03-01.06 206193
WPG-OP-4-03-01

ตรวจสอบผลการตรวจคุณภาพและการทำงานของระบบน้ำป้อน

7. บันทึกการตรวจสอบการทำงานของหม้อไอน้ำ

WPG-OP-4-03-01.07 206194
WPG-OP-4-03-02

วิเคราะห์ปัญหาคุณภาพน้ำป้อนเบื้องต้น

1. ตรวจสอบสภาพความผิดปกติของน้ำป้อนที่ได้จากการตรวจวัด

WPG-OP-4-03-02.01 206198
WPG-OP-4-03-02

วิเคราะห์ปัญหาคุณภาพน้ำป้อนเบื้องต้น

2. วิเคราะห์ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นของระบบน้ำป้อน

WPG-OP-4-03-02.02 206199
WPG-OP-4-03-02

วิเคราะห์ปัญหาคุณภาพน้ำป้อนเบื้องต้น

3. บันทึกปัญหาจากการทำงานของระบบน้ำป้อน

WPG-OP-4-03-02.03 206200
WPG-OP-4-03-03

วิเคราะห์ปัญหาหม้อไอน้ำเบื้องต้น รายงาน และเสนอแนวทางแก้ไขเบื้องต้น

1. รวบรวมและทบทวนข้อมูลการดำเนินงานของหม้อไอน้ำ

WPG-OP-4-03-03.01 206204
WPG-OP-4-03-03

วิเคราะห์ปัญหาหม้อไอน้ำเบื้องต้น รายงาน และเสนอแนวทางแก้ไขเบื้องต้น

2. รวบรวมปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหม้อไอน้ำ

WPG-OP-4-03-03.02 206205
WPG-OP-4-03-03

วิเคราะห์ปัญหาหม้อไอน้ำเบื้องต้น รายงาน และเสนอแนวทางแก้ไขเบื้องต้น

3. วิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการทำงานของระบบและผู้ปฏิบัติงาน

WPG-OP-4-03-03.03 206206
WPG-OP-4-03-03

วิเคราะห์ปัญหาหม้อไอน้ำเบื้องต้น รายงาน และเสนอแนวทางแก้ไขเบื้องต้น

4. บันทึกข้อมูลการวิเคราะห์ปัญหาของหม้อไอน้ำเบื้องต้น

WPG-OP-4-03-03.04 206207

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

      1. ทักษะในการตรวจสอบการทำงานระบบหม้อไอน้ำ

      2.ทักษะการสังเกตเพื่อรวบรวมปัญหาและหาสาเหตุ ด้วยวิธีสังเกตการทำงานของเครื่องจักร เช่น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความดัน อัตราการไหลของไอน้ำ คุณภาพน้ำป้อนหม้อไอน้ำ

      3. ทักษะการอ่านแบบแบบเครื่องกลและแบบไดอะแกรมท่อเบื้องต้น

      4. ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

      5. ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

      6. ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมพื้นฐาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

      1. ความรู้ด้านหลักการทำงานของระบบหม้อไอน้ำ

      2. ความรู้ทางทฤษฎีของหม้อไอน้ำเบื้องต้น

      3. ความรู้ทางด้านเทอร์โมไดนามิกส์เบื้องต้น เช่น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ การเปลี่ยนแปลงความดัน การเปลี่ยนสถานะของสสาร เป็นต้น

      4. ความรู้ในวิธีการปฏิบัติงานเครื่องจักรจากคู่มือการปฏิบัติงานเครื่องจักร

      5. ความรู้ด้านความปลอดภัยในระบบหม้อไอน้ำในโรงงาน

      6. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับการทำงาน

      7. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

      8. ความรู้การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



      1.ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

      2. แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



      1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

      2. หลักฐานข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (ต้องมี 1 ข้อ)

           2.1 หลักฐานการผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับระบบหม้อไอน้ำ ระบบการเผาไหม้



           2.2 หลักฐานการมีคุณวุฒิได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาช่างกลโรงงาน สาขาช่างยนต์ สาขาช่างเทคนิคอุตสาหกรรม หรือสาขาอื่นที่มีวิชาการเรียนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับไอน้ำ การเผาไหม้



           2.3 กรณีที่ปฏิบัติงานเกิน 2 ปี



           แสดงหลักฐานการผ่านการฝึกอบรมแนวทางการปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการใช้งานและความปลอดภัยในการทำงานของหม้อไอน้ำ กังหันไอน้ำ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



      3. ผลการสอบข้อเขียน

      4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์

  (ค) วิธีการประเมิน



       1. ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบอัตนัย

       2. สอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



      -N/A-



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



      ผู้ดำเนินงานด้านการตรวจสอบและวิเคราะห์การทำงานระบบน้ำป้อนและระบบหม้อไอน้ำ จะต้องการควบคุมการทำงาน ตรวจสอบการทำงานของระบบหม้อไอน้ำ



      1. ระบบน้ำป้อน หมายถึง ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนเข้าสู่หม้อไอน้ำให้มีคุณภาพเหมาะสมกับการใช้งานของหม้อไอน้ำ

      2. ระบบหม้อไอน้ำ หมายถึง หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ (Water tube boiler)

      3. ระบบที่เกี่ยวข้องกับหม้อไอน้ำ หมายถึง ระบบท่อและวาล์ว ระบบน้ำ

      4. ดัชนีไอน้ำ หมายถึง ดัชนีการใช้พลังงานเป็นตัวแปรที่ใช้บอกต้นทุน และปัญหาที่เกิดขึ้นกับหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ใช้ไอน้ำ ซึ่งหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ไอน้ำแต่ละชุดจะมีดัชนีที่แตกต่างกัน เนื่องจากประสิทธิภาพต่างกัน ดัชนีชี้วัดการใช้พลังงานของหม้อไอน้ำ ประกอบด้วย ความสามารถผลิตไอน้ำสมมูล และอัตราการระเหยจริง

      5. ความสามารถผลิตไอน้ำสมมูล หมายถึง ความสามารถในการผลิตไอน้ำจริง (ตัน/ชั่วโมง) เท่ากับอัตราการไหลน้ำป้อนเข้าหม้อไอน้ำ - อัตราการปล่อยน้ำโบล์วดาวน์

      6. อัตราการระเหยจริง หมายถึง อัตราการผลิตไอน้ำต่อพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนความร้อน

      7. การตรวจสอบความปลอดภัย (Safety) ของหม้อไอน้ำ หมายถึง การตรวจสอบ/ทดลองการทำงานของระบบความปลอดภัยของหม้อไอน้ำตามกฎกระทรวง และประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการบำรุงรักษาหม้อไอน้ำตามแผนการบำรุงรักษา เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน

      8. การซ่อมบำรุงระบบเบื้องต้น หมายถึง การแก้ไข ซ่อมแซม กรณีเกิดเหตุขัดข้อง เพื่อให้ระบบ/เครื่องจักรและส่วนประกอบ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การตรวจสอบระดับน้ำใน Gauge glass การ blow down หม้อไอน้ำ ตรวจสอบการเผาไหม้ด้วยสายตา การปรับสภาพน้ำ ตรวจสอบการทำงานโดยทั่ว ๆ ไป

      9. การบันทึกข้อมูล ได้แก่

           - บันทึกความดันหรืออุณหภูมิของน้ำในหม้อไอน้ำ



           - บันทึกอุณหภูมิและความดันของน้ำป้อน



           - บันทึกอุณหภูมิของปล่องไอเสีย



           - บันทึกอุณหภูมิของไอน้ำที่ผลิตได้และน้ำที่กลับสู่หม้อไอน้ำ



           - บันทึกปริมาณการเติมน้ำเข้าสู่หม้อไอน้ำ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบผลการตรวจคุณภาพและการทำงานของระบบน้ำป้อน



        1. ข้อสอบปรนัย เช่น อธิบายองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบน้ำป้อนในการทำงานของหม้อไอน้ำ อธิบายองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงาน องค์ประกอบ เครื่องมือความปลอดภัยของหม้อไอน้ำ อธิบายวิธีการตรวจวัดองค์ประกอบของระบบน้ำป้อน ใช้เครื่องมือวัดในระบบน้ำป้อนได้ ตรวจสอบการทำงานของหม้อไอน้ำตามแผนการตรวจสอบ บันทึกผลการตรวจวัดและผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบน้ำป้อน บันทึกการตรวจสอบการทำงานของหม้อไอน้ำ



        2. ข้อสอบอัตนัย เช่น อธิบายองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบน้ำป้อนในการทำงานของหม้อไอน้ำ



18.2 เครื่องมือประเมิน วิเคราะห์ปัญหาคุณภาพน้ำป้อนเบื้องต้น



         1. ข้อสอบปรนัย เช่น ตรวจสอบสภาพความผิดปกติของน้ำป้อนที่ได้จากการตรวจวัด  วิเคราะห์ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นของระบบน้ำป้อน บันทึกปัญหาจากการทำงานของระบบน้ำป้อน 



18.3 เครื่องมือประเมิน วิเคราะห์ปัญหาหม้อไอน้ำเบื้องต้น รายงาน และเสนอแนวทางแก้ไขเบื้องต้น



          1. ข้อสอบปรนัย เช่น รวบรวมและทบทวนข้อมูลการดำเนินงานของหม้อไอน้ำ รวบรวมปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหม้อไอน้ำ วิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการทำงานของระบบและผู้ปฏิบัติงาน บันทึกข้อมูลการวิเคราะห์ปัญหาของหม้อไอน้ำเบื้องต้น 



          2. ข้อสอบสัมภาษณ์ เช่น รวบรวมและทบทวนข้อมูลการดำเนินงานของหม้อไอน้ำ  



     






ยินดีต้อนรับ