หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เก็บตัวอย่าง และเตรียมอุปกรณ์ในการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงขยะ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-PRCF-666A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เก็บตัวอย่าง และเตรียมอุปกรณ์ในการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงขยะ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้จัดเตรียมวัตถุดิบโรงไฟฟ้าขยะ ระดับ 3



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถจัดเตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือในการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงขยะ อธิบายวิธีการใช้งานอุปกรณ์/เครื่องมือในการทดสอบ จัดเตรียมเครื่องมือ/อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการเพื่อรับเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น จัดเก็บสารเคมีและดูแลรักษาอุปกรณ์ในห้องทดสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ดูแลรักษาอุปกรณ์ในห้องทดสอบให้มีความปลอดภัยและอยู่ในสภาพใช้งานได้อยู่เสมอ จัดเก็บตัวอย่างเชื้อเพลิงขยะ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535  และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 25512. กฎกระทรวง เรื่อง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 25563. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 25544. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบการจําแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย พ.ศ. 2555 (ตามข้อกําหนดว่าด้วยระบบการจําแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย)5. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ. 25506. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจํากัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
WPG-WP-3-03-01

จัดเตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือในการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงขยะ

1. อธิบายวิธีการใช้งานอุปกรณ์/เครื่องมือในการทดสอบ

WPG-WP-3-03-01.01 205510
WPG-WP-3-03-01

จัดเตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือในการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงขยะ

2. อธิบายหลักการทำงานในห้องปฏิบัติการอย่างปลอดภัย

WPG-WP-3-03-01.02 205511
WPG-WP-3-03-02

จัดเก็บสารเคมีและดูแลรักษาอุปกรณ์ในห้องทดสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

1. จัดเก็บอุปกรณ์การทดสอบได้ถูกต้องตามหลักการเก็บในห้องทดสอบ

WPG-WP-3-03-02.01 205512
WPG-WP-3-03-02

จัดเก็บสารเคมีและดูแลรักษาอุปกรณ์ในห้องทดสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

2. ดูแลรักษาอุปกรณ์ในห้องทดสอบให้มีความปลอดภัยและอยู่ในสภาพใช้งานได้อยู่เสมอ

WPG-WP-3-03-02.02 205513
WPG-WP-3-03-03

เก็บตัวอย่างและทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงขยะ

1. อธิบายหลักการเก็บตัวอย่างที่ได้มาตรฐานการทดสอบ

WPG-WP-3-03-03.01 205514
WPG-WP-3-03-03

เก็บตัวอย่างและทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงขยะ

2. ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของเชื้อเพลิงขยะ

WPG-WP-3-03-03.02 205515

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

      1. ทักษะในการเก็บตัวอย่างเชื้อเพลิงขยะ

      2. ทักษะในการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการได้ถูกต้องตามมาตรฐานการทดสอบ

      3. ทักษะในจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง

      4. ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

      5 ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

      1. ความรู้วิธีการเก็บตัวอย่างมาทำการวิเคราะห์คุณภาพเชื้อเพลิงขยะ

      2. ความรู้ในการจัดเตรียมอุปกรณ์การทดสอบตามหลักความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

      3. ความรู้เรื่องสารเคมีและเก็บรักษาสารเคมีแต่ละประเภทที่ใช้ในการทดสอบอย่างปลอดภัย

      4. ความรู้ด้านการทำความสะอาดอุปกรณ์การทดสอบได้ถูกต้องตามเทคนิคการทดสอบ

      5. ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานในห้องปฏิบัติการ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



      1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

      2. แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



      1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

      2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับวิธีการเก็บตัวอย่างเชื้อเพลิงขยะ หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

      3. ผลการสอบข้อเขียน

      4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์

  (ค) วิธีการประเมิน



       1. ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบอัตนัย

       2. สอบสัมภาษณ์





15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



      1. การเก็บตัวอย่างเพื่อทดสอบเชื้อเพลิงขยะเพื่อดูคุณภาพของเชื้อเพลิงขยะในแต่ละล็อตโดยใช้ Bomb Calorimeter ให้เป็นไปตามคู่มือการทดสอบ

      2. การเก็บตัวอย่างเพื่อนำไปทดสอบคุณสมบัติในห้องทดสอบโดยหน่วยงานภายนอกที่ได้มาตรฐานการรับรองและเป็นไปตามมาตรฐานการเก็บตัวอย่างของกรมควบคุมมลพิษ

      3. ผู้ดำเนินงานด้านการเตรียมอุปกรณ์ในการทดสอบ จะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทดสอบ เครื่องมือทดสอบ สารเคมี และวัตถุอันตราย ในห้องปฏิบัติการ วิธีการเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์ในการทดสอบให้ถูกต้องตามเทคนิคหรือมาตรฐานการทดสอบ และเป็นไปตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ

      4. มาตรฐานการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงขยะ ตามประกาศของกรมควบคุมมลพิษ ได้มีการกำหนดคุณลักษณะเบื้องต้นที่เหมาะสมสำหรับเชื้อเพลิงขยะมูลฝอยชุมชน

(ข) คำอธิบายรายละเอียด



      1. ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ หมายถึง ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี การใช้เครื่องมือทดสอบ และการเตรียมพื้นที่ทดสอบเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ การเก็บรักษาสารเคมี อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

      2. อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หมายถึง อุปกรณ์ป้องกันสารเคมี ได้แก่ อุปกรณ์ป้องกันหน้า ตา มือ เท้า ร่างกาย การได้ยิน และระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น





16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน จัดเตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือในการทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงขยะ



        1. ข้อเขียนปรนัย เช่น จุดประสงค์หลักของการใช้เตาอบในการเตรียมตัวอย่างวัตถุดิบเชื้อเพลิงขยะสำหรับการทดสอบ

        2. ข้อสอบสัมภาษณ์ เช่น ในการขนส่งของเสียประเภทต่างๆ ควรคำนึงถึงปัจจัยไดบ้าง

18.2 เครื่องมือประเมิน จัดเก็บสารเคมีและดูแลรักษาอุปกรณ์ในห้องทดสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน



        1. ข้อเขียนปรนัย เช่น การปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายที่ถูกต้องและปลอดภัย

        2. ข้อเขียนอัตนัย เช่น การปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายที่ถูกต้องและปลอดภัย

        3. ข้อสอบสัมภาษณ์ เช่น การอธิบายคุณลักษณะทั่วไปของเชื้อเพลิงขยะ (RDF)

18.3 เครื่องมือประเมิน จัดเก็บตัวอย่างและทดสอบคุณภาพเชื้อเพลิงขยะ



        1. ข้อเขียนปรนัย เช่น การปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายที่ถูกต้องและปลอดภัย

        2. ข้อเขียนอัตนัย เช่น อธิบายขั้นตอนที่ปลอดภัยในการจัดการและกำจัดภาชนะบรรจุของเสียอันตราย

        3. ข้อสอบสัมภาษณ์ เช่น อธิบายคุณลักษณะทั่วไปของเชื้อเพลิงขยะ (RDF)






ยินดีต้อนรับ