หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการเขียน

1 สาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUB-FJIJ-002A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการเขียน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสอาชีพ 2641 นักประพันธ์และนักเขียนอื่นๆ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติการจัดทำแผนการผลิตต้นฉบับ ปฏิบัติการจัดทำแผนกำลังคนและงบประมาณการผลิตต้นฉบับ และเสนอแผนการดำเนินงานให้แก่ผู้ว่าจ้าง ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    ผู้ประกอบอาชีพด้านการเขียน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10102.01 ปฏิบัติการจัดทำแผนการผลิตต้นฉบับ 1.1 กำหนดโครงสร้างของเนื้อหาอย่างครบถ้วน 206633
10102.01 ปฏิบัติการจัดทำแผนการผลิตต้นฉบับ 1.2 กำหนดความยาวของต้นฉบับอย่างเหมาะสม 206634
10102.02 ปฏิบัติการจัดทำแผนกำลังคนและงบประมาณการผลิตต้นฉบับ 2.1 วางแผนการจัดกำลังคนให้เหมาะสมกับงานเขียน 206635
10102.02 ปฏิบัติการจัดทำแผนกำลังคนและงบประมาณการผลิตต้นฉบับ 2.2 กำหนดงบประมาณเบื้องต้นในการ จัดทำต้นฉบับอย่างเหมาะสม 206636
10102.03 เสนอแผนการดำเนินงานให้แก่ผู้ว่าจ้าง 3.1 นัดหมายพร้อมจัดเตรียมเอกสาร แผนการดำเนินงานอย่างถูกต้อง 206637
10102.03 เสนอแผนการดำเนินงานให้แก่ผู้ว่าจ้าง 3.2 เสนอแผนการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน เพื่อการอนุมัติก่อนดำเนินงานขั้นตอนต่อไป 206638

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ทักษะการบริหารจัดการ ทักษะการต่อรอง  และ ทักษะการนำเสนอ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. สามารถจัดทำแผนการผลิตต้นฉบับ

    2. สามารถจัดทำแผนกำลังคนและงบประมาณการผลิตต้นฉบับ

    3. สามารถจัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ประกอบการนำเสนอ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำต้นฉบับงานเขียนแต่ละประเภท

    2. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์สำหรับการผลิตต้นฉบับ

    3. ความรู้เกี่ยวกับประเภทงานเขียน

    4. ความรู้เกี่ยวกับงบประมาณในการผลิตต้นฉบับ

    5. ความรู้เกี่ยวกับติดต่อนัดหมาย

    6. ความรู้เกี่ยวกับการนำเสนอแผนการดำเนินงาน 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. โครงสร้างของเนื้อหาเบื้องต้นที่ได้จัดทำไว้ 

    2. ตารางเวลาผลิตต้นฉบับ

    3. แผนจัดกำลังคนเพื่อจัดทำต้นฉบับ

    4. งบประมาณเบื้องต้นในการจัดทำต้นฉบับ

    5. กำหนดการนัดหมาย

    6. เอกสารแผนการดำเนินงาน 

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ

    2. ใบบันทึกการอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดทำต้นฉบับงานเขียน อุปกรณ์สำหรับการผลิตต้นฉบับ ประเภทงานเขียน งบประมาณในการผลิตต้นฉบับ การติดต่อนัดหมาย และการนำเสนอแผนการดำเนินงาน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    
หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง

    1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ

    3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    (ง) วิธีการประเมิน

    1. การทดสอบความรู้ภาคทฤษฎี ใช้แบบทดสอบความรู้ และแบบสัมภาษณ์

    2. การทดสอบภาคปฏิบัติ ใช้แฟ้มสะสมผลงาน เอกสารการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง การประเมินจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน ใบบันทึกความคิดเห็นจากบุคคลที่ 3


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

    (ก) คำแนะนำ 

    ไม่มี

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        ขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ จะระบุถึงข้อกำหนดการปฏิบัติงานและข้อมูล/เอกสาร

        1. โครงสร้างเนื้อหาพื้นฐานประกอบด้วย การเปิดเรื่อง การดำเนินเรื่อง และการปิดเรื่อง

        2. ความยาวของต้นฉบับ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง ขอบเขตและปริมาณของเนื้อหา

        3. ระยะเวลาการทำงานขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง ประเภทของงานเขียน และขั้นตอนการทำงาน ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน และแต่ละงานยากง่ายไม่เท่ากัน

        4. การจัดทำแผนกำลังคน โดยดูรายละเอียดของงาน เช่น การร่วมกันเขียนโดยนักเขียนมากกว่าหนึ่งคน, การทำงานร่วมกับคณะทำงานหรือกองบรรณาธิการ โดยแบ่งหน้าที่กันตามความสามารถ อาทิ ช่างภาพ ผู้ประสานงาน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เป็นต้น

        5. การจัดทำงบประมาณเบื้องต้น โดยดูรายละเอียดของเนื้อหา ขั้นตอนการทำงาน ระยะเวลาทำงาน ค่าจ้างคณะทำงาน ค่าอุปกรณ์ และค่าเบ็ดเตล็ดต่างๆ

        6. การติดต่อประสานงาน ซึ่งกำหนดเวลาและสถานที่นัดหมายไว้อย่างชัดเจน และยืนยันการนัดหมายก่อนวันนำเสนอ

        7. การจัดเตรียมเอกสารแผนการดำเนินงานที่ครบถ้วน ถูกต้อง ชัดเจนเป็นระเบียบ ทั้งในส่วนของกำลังคนและงบประมาณ พร้อมด้วยเครื่องมือประกอบการนำเสนอ เช่น คอมพิวเตอร์และโปรเจกเตอร์ เป็นต้น

        8. การนำเสนอที่ชัดเจน โดยใช้การพูด ประกอบกับเอกสารแผนการดำเนินงาน 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน ให้ดูจากคู่มือการประเมินซึ่งประกอบด้วย

    1) แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และแบบประเมินการสัมภาษณ์

    2) แบบประเมินการสังเกตการปฏิบัติงาน  

    3) ใบบันทึกความคิดเห็นจากบุคคลที่ 3

    4) แฟ้มสะสมผลงาน และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน    



ยินดีต้อนรับ