หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประยุกต์ใช้วิธีการวินิจฉัยโรคด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ

สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีชีวภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ BIT-FYOX-071A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประยุกต์ใช้วิธีการวินิจฉัยโรคด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถนำความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์มาพัฒนาการวินิจฉัยโรคทั่วไปและโรคทางพันธุกรรมได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20301.01 วิเคราะห์วิธีการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ 1. วิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของโรค 205693
20301.01 วิเคราะห์วิธีการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ 2. ประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดทางชีวภาพ (Bioindicator) 205694
20301.02 ประยุกต์ใช้วิธีการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ 1. วิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของโรค 205695
20301.02 ประยุกต์ใช้วิธีการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ 2. ประยุกต์ใช้เครื่องหมายพันธุกรรมได้ถูกต้อง 205696

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

10201 จัดเตรียมดีเอ็นเอ

10202 ทดสอบยีน

10204 วิจัยและพัฒนางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- มีทักษะการใช้เครื่องหมายพันธุกรรม

- สามารถวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรม

- มีทักษะเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายทางชีวภาพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- มีความรู้เกี่ยวกับตัวชี้วัดหรือเครื่องหมายทางชีวภาพ 

- มีความรู้เกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน หรือ

    2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ หรือ

    3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ผลการสัมภาษณ์ หรือ

    2. ผลการทดสอบความรู้ หรือ

    3. ใบรับรองผลการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกหรืออัตนัย ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

พัฒนาวินิจฉัยโรคด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ ประกอบด้วย การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยโรคทั่วไป ได้แก่ การศึกษาลักษณะทั่วไปของโรค การประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดชี้วัดหรือเครื่องหมายทางชีวภาพ นอกจากนั้นต้องมีการพัฒนาวิธีการวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรม ได้แก่ การศึกษาเกี่ยวกับลำดับนิวคลีโอไทด์ของโรค และการประยุกต์ใช้เครื่องพันธุกรรม

(ก) คำแนะนำ

    1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีทักษะและความรู้ในการพัฒนาวิธีการวินิจฉัยโรคทั่วไป รวมทั้งมีความสามารถการพัฒนาวิธีการวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรม ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

    2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1. ตัวชี้วัดทางชีวภาพ (Bioindicator) หมายถึง สารเคมีหรือสารที่เกิดจากปฏิกิริยาทางชีวเคมีในร่างกาย (reaction products) ที่สามารถตรวจวิเคราะห์ได้จากของเหลวร่างกาย เช่น เลือด ปัสสาวะ หรือ น้ำนม เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึงการได้รับสารเคมีนั้นๆ จากสภาวะแวดล้อมเข้าสู่ร่างกายได้ 

    2. โรคทางพันธุกรรม หมายถึง โรคซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมภายในร่างกาย และสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกหลานได้ 

    3. ลำดับนิวคลีโอไทด์ หมายถึง หน่วยย่อยของดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอซึ่งประกอบด้วยน้ำตาล เบส หมู่ฟอสเฟต เรียงต่อกันเป็นสายยาว

    4. เครื่องหมายพันธุกรรม หมายถึง ตัวชี้วัดที่สามารถระบุความแตกต่างหรือจำแนกลักษณะปรากฏ (phenotype) และลักษณะทางพันธุกรรม (genetics) ของสิ่งมีชีวิตได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. เอกสารอ้างอิง

 



ยินดีต้อนรับ