หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมดีเอ็นเอ

สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีชีวภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ BIT-SISP-052A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมดีเอ็นเอ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักเทคโนโลยีชีวภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถศึกษาและปฏิบัติการสกัดดีเอ็นเอตามวิธีการในคู่มือได้กำหนด รวมถึงสามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
1. นักเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านสิ่งแวดล้อม  2. นักเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร  3. นักเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์  4. นักเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10201.01 สกัดดีเอ็นเอ 1. กำหนดปริมาณสารเคมีที่ใช้ในการสกัดดีเอ็นเอได้ในระดับที่เหมาะสมและเป็นไปตามขั้นตอน 205604
10201.01 สกัดดีเอ็นเอ 2. ดำเนินการสกัดดีเอ็นเอตามข้อกำหนด 205605
10201.02 เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอ 1. กำหนดปริมาณสารเคมีและค่าต่างๆที่ใช้ในการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้ในระดับเหมาะสม 205606
10201.02 เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอ 2. ตรวจสอบปริมาณดีเอ็นเอได้ครบถ้วนตามวิธีที่กำหนด 205607

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

10102 จัดเตรียมและจัดเก็บอุปกรณ์สำหรับการปฏิบัติงาน

10104 จัดเตรียมสารเคมี

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- มีทักษะในการอ่านคู่มือการสกัดดีเอ็นเอ

- มีความละเอียดรอบคอบในการปฏิบัติงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- มีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและหลักการสกัดดีเอ็นเอ

- มีความรู้เกี่ยวกับการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน หรือ

    2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ หรือ

    3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ผลการสัมภาษณ์ หรือ

    2. ผลการทดสอบความรู้ หรือ

    3. ใบรับรองผลการศึกษา 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกหรืออัตนัย ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

สกัดดีเอ็นเอ เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอ ใช้เอนไซม์ตัดจำเพาะในการเตรียมยีนที่ต้องการทดสอบหรือการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และตรวจสอบผลจากการเตรียมยีนหรือการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอ 

(ก) คำแนะนำ

    1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้และสามารถสกัดดีเอ็นเอ เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

    2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1. ดีเอ็นเอ หมายถึง สารพันธุกรรมที่มีหน้าที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตซึ่งถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานได้ 

    2. เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอ (PCR) หมายถึง กระบวนการในการสังเคราะห์ชิ้นส่วนของดีเอ็นเอ ในหลอดทดลอง โดยวิธีการได้เลียนแบบมาจากการสังเคราะห์ดีเอ็นเอในสิ่งมีชีวิต 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน 



ยินดีต้อนรับ