หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการหมัก

สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีชีวภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ BIT-VBHZ-051A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการหมัก

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานเทคโนโลยีชีวภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถใช้จุลินทรีย์ในกระบวนการหมักเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามที่ต้องการ และสามารถวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการหมักดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักเทคโนโลยีชีวภาพ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
1. นักเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านสิ่งแวดล้อม            2. นักเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร 3. นักเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์            4. นักเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านอาหาร 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10112.01 ดำเนินกระบวนการหมัก 1. นำเชื้อจุลินทรีย์ผสมกับสารที่เกี่ยวข้องกับการหมัก 205600
10112.01 ดำเนินกระบวนการหมัก 2. ควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหมักได้ถูกต้องตามวิธีการ 205601
10112.02 วิเคราะห์ผลจากการหมัก 1. ทดสอบคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักได้อย่างถูกต้อง 205602
10112.02 วิเคราะห์ผลจากการหมัก 2. สรุปผลการทดสอบได้ครบถูกต้อง 205603

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

10102 จัดเตรียมและจัดเก็บอุปกรณ์สำหรับการปฏิบัติงาน

10104 จัดเตรียมสารเคมี

10107 ปฏิบัติงานเบื้องต้นด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

10108 เพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์

10111 ทดสอบเชื้อจุลินทรีย์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- มีทักษะในการใช้เชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่กระบวนการหมักได้อย่างถูกต้อง

- มีทักษะในการควบคุมกระบวนการหมักให้เป็นไปตามวิธีที่กำหนด

- มีทักษะในการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการหมัก

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- มีความรู้ในขั้นตอนของกระบวนการหมักโดยใช้จุลินทรีย์

- มีความรู้ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อกระบวนการหมัก

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน หรือ

    2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ หรือ

    3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ผลการสัมภาษณ์ หรือ

    2. ผลการทดสอบความรู้ หรือ

    3. ใบรับรองผลการศึกษา 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือกหรืออัตนัย ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ดำเนินการใช้เชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่กระบวนการหมักเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้อย่างถูกขั้นตอน ควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหมักอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกระบวนการหมักได้

(ก) คำแนะนำ

    1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้และสามารถดำเนินการใช้เชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่กระบวนการหมักเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้อย่างถูกขั้นตอน ควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหมักและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกระบวนการหมักได้ ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

    2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1. การหมัก หมายถึง กระบวนการแปลงสภาพทางชีวเคมี เพื่อให้วัตถุดิบเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ของจุลินทรีย์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. ข้อสอบข้อเขียน

 



ยินดีต้อนรับ